blog-hdr.gif

Integrity Legal

Posts Tagged ‘สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย’

18th January 2011

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวที่อยู่ในเว็บไซต์ Telegraph.co.uk พาดหัวข่าวว่า “เด็กชายวัย 9 ขวบพลาดการไปเที่ยวดิสนีย์เวิลด์เพราะระเบียบของคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา”ซึ่งรายงานกล่าวว่า เด็กชาย วัย 9 ขวบถูกปฏิเสธวีซ่าสหรัฐอเมริกาประเภทท่องเที่ยว อ้างโดยตรงจากบทความ :

พวกเขากล่าวว่า มีความเสี่ยงที่หลังจากช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เขาจะไม่เดินทางออกนอกสหรัฐอเมริกาและเขาถูกปฏิเสธคำขอภายใต้มาตรา 214(b) ของพระราชบัญญัติสัญชาติและคนเข้าเมือง

บล็อกเกอร์อ้างในหัวข้อของบทความต้นฉบับซึ่งข้อจำกัดของคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาซึ่งอาจจะมีบางอย่างคลุมเครือเนื่องจากการยื่นคำขอวีซ่านั้นยื่นต่อกงสุลสหรัฐอเมริกาภายใต้เขตอำนาจของสถานทูตในสหราชอาณาจักรและไม่ใช่หน่วยบริการคนเข้าเมืองและพลเมืองสหรัฐอเมริกา (USCIS)ในสหรัฐอเมริกา อาจกล่าวได้ว่า บทความนี้ได้อธิบายถึงการยื่นขอวีซ่าของเด็กในสหราชอาณาจักรและการปฏิเสธวีซ่า พ่อแม่ของเด็กกพยายามที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ลูกด้วยการเดินทางไปดิสนีย์เวิลด์ ฟลอริด้า อ้างโดยตรงจากบทความ:

ไมคาร์ [ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาประเภท B-2]เกิดในอังกฤษและอาศัยอยู่ในเมดเดิลส์เอ็กซ์ตลอดชีวิตของเขากับคลาเดียร์ ลูอิสผู้เป็นแม่

เขาถือพาสปอร์ตแอฟริกาใต้เพราะเคทรีและเอ็ดเวิร์ดทวดขอองเขาอาศัยและทำงานอยู่ในอังกฤษตั้งแต่ปี 1990 เพียงแค่เขาเท่านั้นที่ได้รับพาสปอร์ตแอฟริกาใต้

พวกเขามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกาใต้

ไมคาร์แนบจดหมายจากโรงเรียนประถมของเขาที่ยืนยันว่า เขาเรียนอยู่ที่โรงเรียนไปพร้อมกับการยื่นคำขอวีซ่า

แต่สถานทูตอเมริกาปฏิเสธจดหมายของไมคาร์โดยอ้างว่า “เพราะว่าไม่มีการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นนอกสหรัฐอเมริกาหรือไม่สามารถแสดงว่า กิจกรรมที่คุณจะไปสหรัฐอเมริกาจะทำให้คุณยังคงสถานะของวีซ่าอยู่ได้ คุณเป็นผู้ที่ขาดคุณสมบัติ”

เคทรี ยายของเขามาจากบริกซ์ตันทางตอนใต้ของลอนดอนกล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมาก เขาน่าจะชอบมัน”

บล็อกเกอร์ขอแนะนำว่า ผู้ที่สนใจที่จะติดตามเรื่องราวเพิ่มเติมสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ Telegraph

มาตรา 214(b) พระราชบัญญัติสัญชาติและคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาซึ่งกำหนดข้อสันนิษฐานทางกฎหมายในการตัดสินของเจ้าหน้าที่กงสุลในภารกิจของสหรัฐในต่างแดน (สถานทูตสหรัฐ สถานกงสุลสหรัฐ สถาบันในอเมริกา หน่วยบริการวีซ่า และอื่นๆ)ซึ่งเป็นการยื่นขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาซึ่งปกปิดเจตนาการเข้าเมือง การที่จะพิสูจน์ข้อสันนิฐานที่จะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าพนักงานกงสุลมีความเห็นว่า ตรงข้ามกับข้อมูลที่กล่าวอ้างไว้  ผู้ยื่นขอวีซ่าต้องแสดงถึงความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่มีต่อประเทศที่ผู้สมัครมีภูมิลำเนาอยู่ หรือประเทศอื่นๆและในขณะเดียวกันจะต้องไม่มีความเกี่ยวพันกับสหรัฐอเมริกามากนัก

ในตอนอื่นๆของบทความที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ ผู้เขียนอ้างถึงคู่ที่จองตั๋วเครื่องบินสำหรับการเดินทางไปพักผ่อนที่สหรัฐอเมริกา ตามที่กล่าวมาในบทความก่อนหน้านี้คือ ไม่มีการยืนยันที่ชัดเจนสำหรับการที่จะได้รับวีซ่าสหรัฐอเมริกาของคนต่างชาติมากกว่าระเบียบวิธีการ พฤติการณ์ดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่พวกเขาจะคาดการณ์และต้องสูญเสียทั้งเรื่องการเงินและความรู้สึก ชาวต่างชาติมี่ปรารถนาจะเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาไม่ควรจะวางแผนการเดินทางที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้จนกว่าจะได้รับการออกวีซ่าสหรัฐอเมริกา

องค์ประกอบหลักที่มีผลอย่างมากต่อผลลัพธ์ของการขอวีซ่าในคดีต่างๆ คือหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักร ตามที่กล่าวมาแล้วข้างบนจากสถานทูต ผู้ยื่นคำขอวีซ่าไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์อันแนบแน่นต่อสหราชอาณาจักร หรือประเทศอื่นๆ ถ้าเด็กที่อาศัยในสหราชอาณาจักรแต่ไม่มีหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักร และตามที่กล่าวอ้างไปแล้วข้างบนว่า ไม่เคยอาศัยในแอฟริกาใต้ แต่พยายามที่จะใช้หนังสือเดินทางของแอฟริกาใต้เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา อาจจะกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ต่อประเทศอื่นๆนั้นไม่แน่นแฟ้น อาจจะเป็นไปได้และปราศจากข้อมูลอย่างละเอียด นั่นอาจจะเป็นเหตุผลในการปฏิเสธคำขอ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยของแต่ละคดีนั้นอยู่บนหลักความจริงที่แตกต่างกันและการวิเคราะห์พฤติการณ์ต่างๆที่จะมีการปฏิเสธคำขอวีซ่านั้นก็แตกต่างกันด้วย

โดยทั่วไปแล้วไม่มีหลักฐานที่แน่นอนว่า การยื่นคำขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่งจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในข้อเท็จจริง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปมาก หลังจากนั้นการยื่นคำขออาจจะเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ในมุมมองของกฎหมายในหลายๆเขตอำนาจศาลการเปลี่ยนแปลงสัญชาติ การได้มาซึ่งสัญชาติ การลงทะเบียนสัญชาติ หรือการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติใหม่ซึ่งแตกต่างกันตามสิทธิตามกฎหมาย ภาระผูกพัน สิทธิพิเศษ และอย่างน้อยที่สุดอาจจะเป็นหนังสือเดินทาง บางครั้ง หลังจากที่เด็กได้รับพาสปอร็ตสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นเอกสารการเดินทางที่เหมาะสมประเภทหนึ่ง การยื่นคำขอวีซ่าประเภทอื่นๆจะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการได้มาซึ่งหนังสือเดินทางของสหราชอาณาจักร เด็กในบทความนี้อาจจะมีคุณสมบัติสำหรับโปรแกรมการขอละเว้นสิทธิ แม้ว่า การปฏิเสธวีซ่าสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะอยู่ในระบบลงทะเบียนอิเล็คทรอนิกส์ของการเดินทาง (ESTA)

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่จะยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกาในอนาคตนั้นควรจะตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า สัญชาตินั้นเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการยื่นคำขอวีซ่าหรือกระบวนการทางคนเข้าเมือง

To view this post in English please see: US visa denial.

more Comments: 04

6th November 2010

การที่ผู้ตรวจการของการบริการคนเข้าเมืองและพลเมืองสหรัฐ (USCIS)มีข้อแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการละเว้นของ I-601 เป็นเรื่องที่สร้างความน่าสนใจให้แก่ผู้ที่ติดตามบล็อก อ้างโดยตรงจากบันทึกความเข้าใจที่ผู้อำนวยการ USCIS คือ อเลเจนโดร์ เอ็น มาโยกาส ส่งไปยัง ผู้ตรวจการ CIS เมื่อเดือนมกราคม

ผู้ตรวจการ CISแนะนำว่า USCIS :

รวมศูนย์กลางการดำเนินการในทุกแบบฟอร์มI-601 เพื่อที่จะส่งให้เร็วขึ้นและมีคำวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน;

จัดให้มีการกรอกแบบฟอร์ม I-601และฟอร์ม I-130 คำขอสำหรับญาติของคนต่างด้าว

จัดลำดับความเสร็จสมบูรณ์ของการจัดการเรื่องที่อยู่ต่างประเทศ (การพัฒนา) เพื่อที่จะรายงานทางสถิติที่ถูกต้องของฟอร์ม I-601 ในการอนุญาต (1) เขียนขั้นตอน (2)การติดตามโดยทาง “สถานะเรื่องของฉัน” ทางเว็บไซต์ USCIS

เผยแพร่คำแนะนำที่จะเสนอแนะแนวทางแก่ลูกความที่มีความประสงค์จะทำให้ขั้นตอนของฟอร์ม I-601เป็นไปอย่างรวดเร็ว

พัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่าง DOS เจ้าหน้าที่กงสุล และ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินที่จัดการเกี่ยวกับฟอร์มI-601 ที่ CDJ และ

แก้ไขนโยบายของสำนักงาน CDJที่อนุญาตให้ลูกจ้างUSCIS เรียกร้องแฟ้มของชาวต่างชาติแปลงเป็นรูปแบบดิจิตอล(A-files)โดยขึ้นอยู่กับใบเสร็จรับเงินของตารางการสัมภาษณ์

บางประเด็นนั้นอาจเป็นเรื่องที่เกิดก่อนการจัดตั้งการบริการคนเข้าเมืองและพลเมืองสหรัฐ หรือสถานทูตสหรัฐ หรือสถานกงสุลสหรัฐในต่างประเทศ บันทึกที่ได้กล่าวมาแล้วค่อนข้างครอบคลุมและหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้จากบันทึกออนไลน์ อาจกล่าวได้ว่า USCIS ได้โต้ตอบในหลายๆประเด็นที่ผู้ตรวจการยกขึ้นมา ตามตัวอย่างข้างล่างนี้

รวมศูนย์กลางการดำเนินการในทุกแบบฟอร์มI-601 เพื่อที่จะส่งให้เร็วขึ้นและมีคำวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน;

USCIS โต้ตอบ: USCIS เห็นด้วยในบางส่วน

USCIS กำลังประเมินความแตกต่างของรูปแบบการจัดระบบของกระบวนการจัดการฟอร์ม I-601 ข้ามประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์ที่สร้างความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรที่เหมาะสม และลดขั้นตอนการทำงานของเรื่องที่ไม่สามารถได้รับการอนุมัติอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การรวมศูนย์กลางเป็นรูปแบบหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมาย รูปแบบอื่นๆ ตัวอย่างเช่น สองวัตถุประสงค์เฉพาะ (เช่นกระบวนการเฉพาะสำหรับฟอร์มในสองประเทศเท่านั้น) อาจจะได้รับประโยชน์บางอย่าง

บันทึกได้รับการตอบเพิ่มเติม:

จัดให้มีการกรอกแบบฟอร์ม I-601และฟอร์ม I-130 คำขอสำหรับญาติของคนต่างด้าว ร่วมกัน

USCIS โต้ตอบ: USCIS กำลังพิจารณาข้อแนะนำนี้

ในเดือนเมษายน 2010, USCIS จัดตั้งคณะทำงานภายใต้การนำของสำนักงานนโยบายและโครงสร้างที่จะสำรวจการรวบรวมการกรอกฟอร์มและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ เพราะการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของเราสามารถส่งผลที่ไม่สามารถคาดล่วงหน้า ต้องทำให้เสร็จเรียบร้อยตามรูปแบบซึ่งเป็นไปด้วยความระมัดระวังในการจัดการความคาดหวังของผู้ยื่นคำขอและทรัพยากรของUSCIS คณะทำงานมุ่งเน้นไปที่การประเมินความเป็นไปได้และประโยชน์ที่ได้รับในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่สำคัญ

คำแนะนำที่สามารถพิสูจน์ความน่าสนใจในทางปฏิบัติในขณะที่การรวบรวมการกรอกฟอร์มไว้ที่จุดเดียวอาจจะไม่มีความเป็นไปได้  ลักษณะของการกล่าวอ้างข้างบนนี้บอกเป็นนัยว่า ก่อนที่จะมีคำแนะนำนี้ได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกัน ภายใต้กระบวนการในปัจจุบันมีผู้ที่ประสงค์จะละเว้นเรื่อง I-601 นอกสหรัฐอเมริกาต้องถือว่าไม่สามารถได้รับคำวินิจฉัยโดยเจ้าหน้าที่กงสุลตามปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา สถานทูตสหรัฐอเมริกา สถานกงสุลสหรัฐอเมริกา ดังนั้น การยื่นคำพร้อมกันตามที่กล่าวข้างต้นนั้นอาจจะไม่สอดคล้องกับกระบวนการในปัจจุบัน

จัดลำดับความเสร็จสมบูรณ์ของการจัดการเรื่องที่อยู่ต่างประเทศ (การพัฒนา) เพื่อที่จะรายงานทางสถิติที่ถูกต้องของฟอร์ม I-601 ในการอนุญาต (1) เขียนขั้นตอน (2)การติดตามโดยทาง “สถานะเรื่องของฉัน” ทางเว็บไซต์ USCIS

USCIS โต้ตอบ: USCIS เห็นด้วย

USCIS รายงานว่าระบบการจัดการเรื่องของ USCIS ในต่างประเทศซึ่งมีตัวแทนที่สำคัญในช่วง FY2010 ซึ่งใช้พนักงานปฏิบัติการระหว่างประเทศในวันที่ 16 สิงหาคม 2553

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า วิธีการนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

เผยแพร่คำแนะนำที่จะเสนอแนะแนวทางแก่ลูกความที่มีความประสงค์จะทำให้ขั้นตอนของฟอร์ม I-601เป็นไปอย่างรวดเร็ว

USCIS โต้ตอบ: USCIS เห็นด้วย

USCIS อยู่ในระหว่างการปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติการของภาคส่วนที่ดำเนินการระหว่างประเทศเกี่ยวกับคำวินิจฉัยฟอร์ม I-601ที่จะจัดการกับคำร้องที่ขอให้ช่วยเร่งให้กระบวนการต่างๆเร็วขึ้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คู่มือใหม่นี้ที่เกี่ยวกับการเร่งให้ขั้นตอนรวดเร็วขึ้นจะช่วยให้ผู้ยื่นคำขอและผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เข้าใจถึงการยื่นคำร้องเพื่อที่จะทำให้กระบวนการรวดเร็วขึ้นในเรื่องที่สมควร

พัฒนาการทำงานร่วมกันระหว่าง DOS เจ้าหน้าที่กงสุล และ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินที่จัดการเกี่ยวกับฟอร์มI-601 ที่ CDJ

USCIS โต้ตอบ: USCIS เห็นด้วย

USCIS เห็นด้วยว่า DOS เจ้าหน้าที่กงสุล และ ผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยของ USCIS ควรจะรักษาความร่วมมื่อที่แนบแน่นที่ CDJ และที่อื่นๆที่อยู่ต่างประเทศ สำนักงานของUSCISที่อยู่ต่างประเทศนั้นได้รับความร่วมมือจากผู้ร่วมงานDOS ใน CDJ เจ้าหน้าที่กงสุล DOS และผู้ที่มีอำนาจวินิจฉัยของ USCISมีการปรึกษาหารือกันทุกวันผู้อำนวยการของ USCIS CDJ และหัวหน้าวีซ่าประเภทถาวรยังคงติดต่อกันอยู่ทุกวัน

.ในหลายๆวิธี ความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของตัวเทนของรัฐบาลที่แตกต่างกันเป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของการการปรับปรุงพัฒนากระบวนการขอวีซ่าให้ดีขึ้น แม้ว่า ผู้ที่เข้าใจในกระบวนการละเว้นของกระบวนการ  I-601 นั้นต้องระลึกว่า เจ้าหน้าที่กงสุลและเจ้าหน้าที่USCIS ต้องยังคงต้องทำหน้าที่ต่อไป

แก้ไขนโยบายของสำนักงาน CDJที่อนุญาตให้ลูกจ้างUSCIS เรียกร้องแฟ้มของชาวต่างชาติแปลงเป็นรูปแบบดิจิตอล(A-files)โดยขึ้นอยู่กับใบเสร็จรับเงินของตารางการสัมภาษณ์

USCIS โต้ตอบ: USCIS เห็นด้วยบางส่วน

USCIS เห็นด้วยว่า กระบวนการวินิจฉัยควรจะเรียกร้องบันทึก A-file(ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิตอล หรือต้นฉบับก็ตามและเป็นวิธีการประเมินเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายโดยปราศจากความล่าช้า

แม้ว่าบันทึกแบบดิจิตอลจะมีประสิทธิภาพมากกว่า แต่ต้องใช้เวลากว่าจะบรรลุผลตามคำแนะนำ

กระบวนการการขอวีซ่า หรือการขอละเว้นของการไม่สามารถได้รับ I-601นั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับกระบวนการคนเข้าเมือง ในหลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับการขอละเว้นของ I-601 แต่ละคนหรือหลายๆคู่เลือกที่จะขอความช่วยเหลือจากทนายความอเมริกันที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาและได้รับอนุญาตที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เหมาะสมกับประเภทการเดินทางและการขอละเว้นการไม่สามารถเดินทางไปสหรัฐอเมริกาได้

To read this post in English please see: I-601 waiver.

more Comments: 04

5th June 2010

To see this information in English please see: K1 visa

สำหรับคนที่พาคู่หมั้นต่างด้าวเข้ามาในอเมริกา คำถามที่มีให้พบอยู่บ่อยๆคือ “ทำอย่างไรหากว่าคู่หมั้นของฉันอยากจะทำงานในอเมริกาก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานภาพเสร็จ” คำตอบสำหรับคำถามนี้ค่อนข้างจะสลับซับซ้อน เมื่อคู่หมั้นต่างด้าวเข่าสหรัฐอเมริกาด้วยวีซ่าชั่วคราว เควัน หรือ เค ทรี การเข้าเมืองไม่อนุญาติให้ทำงานในสหรัฐอเมริกา จนกว่าคนต่างด้างนั้นจะปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้แล้วเสร็จ (ได้กรีนการ์ด ) หรือได้ขออนุญาตทำงานในสหรัฐ ไม่นานมานี้ USCIS ประกาศว่าเพื่อพยายามลดการเข้าเมืองโดยฉ้อฉล เอกสารอนุญาติทำงานแบบใหม่จะมีการออกให้ ข้อความด้านล่างสรุปมาจากประกาศของ USCIS

USCIS ได้ประกาศในวันนี้ว่าได้ปรับเปลี่ยนดูเอกสารอนุญาตทำงาน หรือแบบ I 766 โดยได้เพิ่มแถบแม่เหล็กเข้าไปด้านหลังบัตรอนุญาตทำงาน ความคืบหน้าในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งความพยายามของ

USCIS ในการที่จะตรวจสอบการเข้าเมืองโดยฉ้อฉล เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 11 พฤษภาคม USCIS จะเริ่มออกใบอนุญาตทำงานแบบใหม่นี้ แถบแม่เหล็กแบบนี้เป็นไปตามมาตรฐานองค์กรการบิน USCIS ได้เอาแถบบาร์โค๊ดสองแถบด้านหลังบัตรออกไป และย้ายส่วนข้อความไปอยู่ใต้แถบแม่เหล็กบนการ์ด การ์ดแบบใหม่นี้ยังคงลักษณะเพื่อความปลอดภัยที่มีอยู่ไว้ทั้งหมด

ในกรณีส่วนใหญ่ คู่หมั้นหรือคู่สมรสต่างด้าวของคนสัญชาติอเมริกันจะต้องรอกรีนการ์ดก่อนจึงจะสามารถทำงานได้ อย่างไรก็ตาม บางตัวอย่างที่ไม่เข้ากับกรณีนี้เนื่องจากมีคู่หมั้นหรือคู่สมรสชาวอเมริกันมากมายที่ทำงานให้กับบริษัทข้ามชาติ บริษัทข้ามชาติเหล่านี้บางครั้งก็อยากได้ลูกจ้างที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันของพวกเขามาทำงานในสาขาที่สหรัฐให้เร็วที่สุดที่จะทำได้ ดังนั้น ก็มีหลายกรณีที่ใบอนุญาตทำงานแบบเร่งด่วนเป็นเรื่องจำเป็น

ในอดีต ผู้ถือวีซ่า เค ทรี จะต้องขอใบอนุญาตทำงานที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองที่เข้าสหรัฐ และเนื่งจากวีซ่า เค ทรี เริ่มจะหายไป ดังนั้นวิธีขออนุญาตทำงานแบบนี้จึงพบเห็นได้ไม่บ่อยเท่าแต่ก่อน อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตทำงานก็คือการขอออกนอกประเทศก่อนกำหนด ผู้ถือวีซ่าคู่หมั้นไม่สามารถออกจากสหรัฐอเมริกาได้ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถาภาพและคงสถานะวีซ่า เค วัน ไว้นอกเสียจากจะขอและได้รับการอนุญาตให้ออกนอกประเทศก่อนกำหนดได้ ในบางกรณี คู่สมรสที่ยื่นขอออกนอกประเทศก่อนกำหนดก็จะยื่นขอใบอนุญาตทำงานเพื่อทำงานในสหรัฐไปด้วยในคราวเดียว

For further information in Thai please see:  K1 วีซ่า

more Comments: 04

31st May 2010

For the original posting in English please see: US Visa Thailand

สำหรับคนอ่านกระทู้ของผู้เขียนบ่อยๆ  อาจจะเข้าใจหลักพื้นฐานของสิทธิทางด้านคนเข้าเมืองของบุคคลที่นิยมเพศเดียวกัน ( Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender ) กฎหมายคนเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎเกณฑ์ปัจจุบัน รวมถึงพระราชบัญญัติปกป้องสิทธิทางการสมรส กำหนดว่าคู่สมรสเพศเดียวกันที่มีสองสัญชาติถูกห้ามไม่ให้รับสิทธิตามกฎหมายคนเข้าเมืองอิงถึงการสมรสเพศเดียวกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่รักตามกฎหมาย หรือ คู่สมรสโดยไม่จดทะเบียน นั่นหมายความว่า ในปีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่น เจอรี่ แนดเลอร์ ได้เสนอกฎหมายที่รู้จักกันในชื่อ พระราชบัญญัติการรวมครอบครัวอเมริกัน หรือ UAFA ซึ่งกำหนดวิธีการขอรับประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองสำหรับคู่รักถาวรที่มีเพศเดียวกัน ในกระทู้ก่อนๆ ผู้เขียนได้พูดเรื่องการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม และ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองของอเมริกา ที่อาจจะมีหรือไม่มี ในเรื่องที่อนุญาติให้คู่รักเพศเดียวกันที่มีสัญชาติต่างกัน ขอรับผลประโยชน์ตามกฎหมายคนเข้าเมืองตามหลักของครอบครัวได้ ในกระทู้ก่อนเราพูดถึงร่างกฎหมายปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองที่เสนอโดยสมาชิกสภารัฐอิลลินอยส์ ลูอิส กุทเทอเรส และ ร่างที่ว่าไม่ได้รวมถึงผลประโยชน์ด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของบุคคลเพศเดียวกัน หมายเหตุ บทความข้างล่างตัดมาจาก WashingtonBlade.com:

สมาชิกสภาผู้ทรงอิทธิพลหัวก้าวหน้าด้านกฎหมายคนเข้าเมืองได้แนบรวมข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปกป้องคู่รักที่มีสัญชาติต่างกันประเภท เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และบุคคลแปลงเพศ เป็นส่วนหนึ่งของร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม จากปฐากฐาเมื่อวันพฤหัส สมาชิกสภา ลูอิส กุทเทอเรส (รัฐอิลลินอยส์) ได้กล่าวสรุปได้ว่าร่างพรบ.ปฏิรูปนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอนุญาติให้คนอเมริกันสามารถสนับสนุนการมีถิ่นฐานในสหรัฐให้แก่คู่รักร่วมเพศของตนได้  “ความพยายามในการที่จะแก้ไขระบบกฎหมายคนเข้าเมืองที่แตกร้าวและปกป้องสิทธิพื้นฐานจะไม่เป็นการครอบคลุมกาดว่าเราไม่รวมเอาคู่รักเพศเดียวกันเข้าไปด้วย”  เขากล่าวว่าการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้จะทำให้คู่รักร่วมเพศราวๆ 36,000 คู่ได้อยู่ด้วยกันในสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่าร่างพระราชบัญญัติรวมครอบครัวอเมริกัน  ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มองหาการรวมรวมพระราชบัญญัติเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองในสภาคองเกรส กุทเทอเรสมีนัดประกาศการสนับสนุนอย่างเป็นทางการของเขาในวันจันทร์ในงานแถลงข่าวที่ชิคาโก อิลลินอยส์ ร่วมกับสมาชิกฯ ไมค์ คลิกลีย์ และ สมาชิกสภาเกย์ จาเร็ด โปลิส ( โคโลราโด)  ซึ่งสนับสนุนการรวบรวมคู่รักร่วมเพศเข้าไปในการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมือง   ปลายปีที่แล้ว กุทเทอเรสเสนอร่างฉบับของเขาซึ่งเป็นทางเลืกของร่างพรบ.ที่กำลังปฏิบัติกันในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามแม้ว่ากุทเทอเรสจะเป็นผู้สนับสนุนร่วมในหการยกร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายก็ไม่ได้รวมเรื่องของคู่รักร่วมเพศไว้ดังที่กล่าว จากคำบอกเล่าของคนในสำนักงานของกุทเทอเรส กล่าวว่า การประกาศครั้งล่าสุดของนักนิติบัญญัติผู้นี้เป็นการยืนยันการรวมเอาสิทธิคู่รักร่วมเพศไว้ในการปฏิรูปที่ครอบคลุม

ในกระทู้ก่อนๆซึ่งพูดถึงการเสนอร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม  ผู้เขียนพบว่า โชคไม่ดีที่ประเด็นการเข้าเมืองของคู่รักร่วมเพศไม่ได้มีการพูดถึงในตัวร่าง นั่นหมายความว่าอย่างไรก็ดีผู้เขียนก็ยังดีในที่ประเด็นนี้ได้ถูกนำมาพูดถึงในเรื่องของการปฏิรูป และหากว่าประเด็นป่านก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองกลางครั้งใหญ่ในอย่างน้อยที่สุด 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้การที่มันถูกหยิบยกมาพูกถึงก็เหมือนเป็นสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้ว่ากฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกันจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สิทธิแก่คู่รักที่ในขณะเวลาที่กำลังเขียนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ในสหรัฐอเมริกาเช่นคู่รักต่างเพศ

more Comments: 04

28th May 2010

คำถามที่ถามกันมากสำหรับคนที่ตั้งใจว่าจะพาคนรักจากประเทศไทยไปอเมริกาก็มักจะเกี่ยวกับว่า เป็นไปได้ไหมที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพฯ แก่นของปัญหาการขอวีซ่าท่องเที่ยวก็คือการที่ผู้ขอไม่สามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพของเจ้าหน้าที่กงสุลได้

วีซ่าท่องเที่ยวกับเจตนาอพยพ

ภายใต้มาตรา 214 (b) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลประจำสถานทูตจำต้องสันนิษบานไว้ก่อนว่าผู้ขอวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดมีเจตนาอพยพ ในอันที่ผู้ขอวีซ่าจะเอาชนะข้อสัณนิษฐานดังกล่าว เขาจะต้องแสดงหลักฐานว่าเหตุผลมีน้ำหนักพอที่จะกลับมายังประเทศไทยหลังจากไปสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังฐานเหล่านั้นก็ได้แก่ สัญญาจ้างงานในประเทศไทยด้วยเงินเดือนสูงๆ ( เงินเดือนในตัวของมันเองนั้นไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเจ้าหน้าที่กงสุลซักเท่าไร แต่มันเนื่องมาจากเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งงานเงินเดือนสูงๆไปเป็นแน่ต่างหาก ) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่เหนียวแน่นในประเทศไทย และ การลงทุนในประเทศไทยที่ยากจะละทิ้งไป ( อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ) นี่ไม่ใช่ทั้งหมดแต่เพียงให้คุณเห็นภาพว่าเจ้าหน้าที่กงสุลอยากจะเห็นอะไรตอนที่ต้องพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าสามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพได้หรือไม่

แฟนหรือสามีชาวอเมริกัน เป็นเหมือน “ยาพิษ” สำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือปล่าว?

บางคนเชื่อว่าการมีคู่ครองเป็นชาวอเมริกันนั้นถือเป็นการปฏิเสธวีซ่าท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ถ้าผุ้ขอวีซ่าชาวไทยมีคนรักชาวอเมริกัน ผู้ขอวีซ่าก็ยังต้องเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพอยู่ดีนั่นเอง ความต่างของการมีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่มันขึ้นอยู่กับว่าคู่รักนั้นๆตั้งใจจะใช้วีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางสะดวกในการอพยพไปสหรัฐอเมริกาโดยวิธีการขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไปเปลี่ยนสถานภาพเป็นกรีนการ์ดหรือไม่ เรียกง่ายๆก็คือคู่รักจะต้องแสดงให้เห็นว่าใช้วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลที่แท้จริงของมัน ซึ่งก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวนั่นเอง

ถ้าวีซ่า K 1 เป็นวีซ่าชั่วคราว แล้วทำไมคู่หมั้นชาวไทยยังอยู่ในอเมริกาได้ล่ะ?

ในมุมหนึ่งวีซ่า K 1 เป็นส่วนผสมของวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวร วีซ่าตัวนี้อนุญาตให้คู่หมั้นชาวไทยเข้าอเมริกาได้ 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันและปรับเปลี่ยนสถานภาพเพื่อให้คงพักอาศัยในสหรับอเมริกาได้ วีซ่าชนิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้โอกาสคู่รักได้ดูว่าการแต่งงานจะไปรอดหรือไม่และหากว่าไปรอดก็ให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเสีย ดังนั้นวีซ่าตัวนี้จึงเป็นวีซ่าชั่วคราวเพราะว่ามันมีวันหมดอายุ แต่หากว่าผู้ถือวีซ่า K 1 ทำตามเงื่อนไขวีซ่าและตัดสินใจที่จะแต่งงานในสหรัฐอเมริกา เขาหรือเธอก็สามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อได้โดยมีความยุ่งยากทางกฎหมายเพียงน้อยนิด

โปรดจำไว้ว่าข้อความข้างต้นไม่ทำให้เกิดสิทธิความสัมพันธ์ระหว่างทนายและลูกความ และไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำทางกฎหมายส่วนตัวจากทนายความมีใบอนุญาติแต่อย่างใด

K1 วีซ่า & K1

more Comments: 04

21st May 2010

To see this information in English please see: US visa denial

อย่างที่ผู้เขียนได้เคยพูดไว้ในกระทู้ก่อนๆ เหตุผลหลักๆที่ทำให้วีซ่าอเมริกาถูกปฏิเสธขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ ในเคสนั้นๆ เหตุหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่กงสุลพบว่าผู้ขอวีซ่าทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม ( CIMT ) นั่นหมายความว่า บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยว่าความผิดที่ผู้ขอวีซ่ากระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมหรือไม่ คู่มือทางกิจการต่างประเทศกล่าวถึงลักษณะของความผิดที่เป็นความผิดเกี่ยวกับศีลธรรมเอาไว้ ด้านล่างคือข้อความบางส่วนที่ตัดตอนมา

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-1 ความผิดต่อทรัพย์สิน

( CT. VISA-1318;09-24-2009 )

เอ. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับศีลธรรมอันเป็นความผิดต่อทรัพย์สินได้แก่ ฉ้อโกง การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถือเป็นความผิดต่อศีลธรรมไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อบุคคลหรือความผิดต่อแผ่นดิน ความผิดฐานฉ้อโกง โดยทั่วไป

เกี่ยวกับ

(1) ทำให้บุคคลอื่นหลงเข้าใจผิด

(2) รู้ถึงข้อความที่หลอกลวงซึ่งทำขึ้นโดยตัวผู้ก่อการ

(3) เชื่อถือในสิ่งที่แสดงให้เข้าใจผิดโดยบุคคลที่ถูกหลอก

(4) เจตนาหลอกลวง และ

(5) การกระทำการฉ้อโกง

ความผิดต่อทรัพย์สินไม่เพียงเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องด้วยศีลธรรมชนิดเดียวแต่ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือเป็นความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับศีลธรรมด้วย

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-2 ความผิดต่อการเจ้าหน้าที่รัฐ

( CT: VISA-1318; 09-24-2009 )

เอ. ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ากับนิยามความผิดทางศีลธรรมได้แก่:

(1) การติดสินบน

(2) ปลอมเอกสาร

(3) ฉ้อโกงกรมสรรพากร หรือหน่วยงานราชการอื่น

(4) ฉ้อฉลทางเอกสาร

(5) ให้การเท็จ

(6) ให้ที่พักพิงแก่ผู้ร้ายหลบหนี ( โดยทราบความผิด ) และ

(7) เลี่ยงภาษี ( โดยมีเจตนา )

คู่มือทางกิจการต่างประเทศได้กล่าวถึงกิจกรรมอีกหลายๆลักษณะที่อาจไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาเรื่องในการตัดสินข้อเท็จจริงของคดีและตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องกับศีลธรรมหรือไม่ หากว่าได้กระทำความผิดจริง ก็จะต้องถูกปฏิเสธวีซ่า  ภายใต้ทฤษฎีอำนาจที่ห้ามตรวจสอบของกงสุล ( รู้จักกันในชื่อ อำนาจเด็ดขาดของกงสุล ) คำตัดสินนี้ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถแก้ไขปัญหาวีซ่าถูกปฏิเสธได้โดยยื่นขออภัยโทษแบบ I-601

เพื่อประโยชน์ของบางคน มีคำพิพากษาของ ศาลภาค กล่าวว่า

“คำสั่งส่งตัวออกนอกสหรัฐอเมริกาที่มีต่อ ผู้ร้อง อาร์มานโด อัลวาเรซ เรย์นากาเนื่องจากกระทำความผิดอาญาฐานรับยานพาหนะที่ขโมยมา มีความผิดตามมาตรา 496d(a) ตามประมวลกฎหมายอาญาแคลิฟอร์เนีย คำร้องของเขาขอให้พิจาณาใหม่ว่าความผิดทางอาชญากรรมที่กระทำลงนั้น เป็นความผิดตามศีลธรรมหรือไม่ เราสรุปได้ว่าเป็นความผิดฐานอาชญากรรมแต่ไม่ใช่อาชญากรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เราปฏิเสธคำร้องขอพิจารณาใหม่”

เมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป นิยามของความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมและกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของความผิดอาญาทางศีลธรรมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับวีซ่าอเมริกาจากประเทศไทย โปรดดู วีซ่าอเมริกาประเทศไทย

more Comments: 04

19th May 2010

To see this information in English please see: US Embassy Thailand.

ข้อความด้านล่างมาจากเว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ประกาศสำคัญ

แผนกกงสุล สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ ปิดทำการตั้งแต่วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553

เนื่องจากความจำเป็นด้านความปลอดภัย และการไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ถนนวิทยุได้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ มีเพียงพนักงานที่เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น และแผนกวีซ่าชั่วคราวจะปิดทำการตลอดทั้งสัปดาห์นี้ โดยตั้งแต่วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553 หากท่านมีนัดสัมภาษณ์วีซ่าชั่วคราวในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553 ท่านจะได้รับการเลื่อนวันนัดสัมภาษณ์ใหม่เนื่องจากสถานการณ์ด้านความปลอดภัยภายในบริเวณใกล้สถานทูตฯ ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขณะนี้ เราจึงไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์วีซ่าสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ ทันทีที่สถานทูตฯ พิจารณาว่าสถานการณ์มีความปลอดภัยเพียงพอที่จะอนุญาตให้พนักงานกลับมาทำงาน ที่แผนกกงสุล และปลอดภัยสำหรับผู้สมัครวีซ่าในการเดินทางมาที่สถานทูตฯ ตามปกติ ผู้ที่มีวันนัดสัมภาษณ์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะได้รับแจ้งทางโทรศัพท์หรือ ทางอีเมล์เกี่ยวกับรายละเอียดวันนัดสัมภาษณ์ใหม่

เนื่องจากมีบุคคลจำนวนมากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ นี้ และวันเวลานัดสัมภาษณ์ได้ถูกจองไปแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราจึงไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์แบบเร่งด่วนได้

คำถามที่พบ บ่อย

ฉันจะสามารถนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ได้อย่างไร

ขณะนี้ผู้สมัครวีซ่าที่มีนัดสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม จำเป็นต้องรอจนกว่าแผนกกงสุลจะพิจารณาว่าสถานการณ์มีความปลอดภัยเพียงพอที่ จะนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ได้ และท่านจะได้รับการแจ้งทางอีเมล์หรือทางโทรศัพท์ตามที่ท่านได้ให้ไว้เมื่อ ท่านทำการนัดสัมภาษณ์

ฉันมีวันนัดสัมภาษณ์ในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม และมีกำหนดการเดินทางด่วน ฉันจะทำอย่างไร

ขณะนี้เราไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์ได้ภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากแผนกกงสุลปิดทำการ เราไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์ใดๆ ให้ท่านใด้ภายในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม และไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์แบบเร่งด่วนได้ เราขอแนะนำให้ท่านเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทางของท่าน

ฉันมี นัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันสามารถนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ ณ สถานทูตสหรัฐฯ ในประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่

สถานทูตฯ แต่ละแห่งมีระบบการนัดสัมภาษณ์วีซ่าและข้อกำหนดสำหรับผู้สมัครที่แตกต่างกัน ค่าธรรมเนียมการสมัครวีซ่าที่ท่านชำระในประเทศไทย ไม่สามารถใช้ในต่างประเทศได้

ฉันมีนัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่าง วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันจะสามารถนัดวันสัมภาษณ์วีซ่าใหม่ได้ที่สถานกงสุลสหรัฐฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้หรือไม่

สถานกงสุลสหรัฐฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่มีระบบการนัดสัมภาษณ์ที่แยกต่างหาก และท่านต้องอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานกงสุลสหรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ จึงจะสามารถนัดสัมภาษณ์วีซ่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ โดยท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://chiangmai.usconsulate.gov/

ฉัน มีนัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันยื่นคำร้องขอเป็นกรณีพิเศษได้หรือไม่

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ปิดทำการระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ดังนั้นคำขอของท่านที่ส่งมาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่รับการอ่านหรือตอบ เนื่องจากแผนกกงสุลปิดทำการ

ฉันเป็นผู้สมัครวีซ่าถาวร – ฉันจะสามารถเดินทางมาสมัครวีซ่าตามวันสัมภาษณ์ที่ได้กำหนดไว้แล้ว หรือเดินทางมายื่นเอกสาร หรือเดินทางมารับวีซ่าได้หรือไม่

หากท่านมีวันสัมภาษณ์วีซ่าถาวรระหว่างวันที่ 14 – 21 พฤษภาคม ท่านจะได้รับแจ้งวันนัดสัมภาษณ์ใหม่ โดยท่านจะได้รับการแจ้งวันนัดใหม่เมื่อสถานทูตฯ เปิดทำการอีกครั้ง หากท่านได้รับการแจ้งไว้ก่อนแล้วให้นำเอกสารมายื่นในวันจันทร์หรือวันพุธ หรือได้รับการแจ้งให้มารับวีซ่า โปรดอย่าเดินทางมาที่สถานทูตฯ จนกว่าสถานทูตฯ จะเปิดทำการอีกครั้ง โดยโปรดอ่านประกาศที่หน้าเว็บไซต์ของสถานทูตฯ

ในขณะนี้ สถานการณ์ในกรุงเทพมหานครยังคงตึงเครียด ที่มาจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

เมื่อวานนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างโอกาสสุดท้ายของการมีสันติและสถานการณ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสงครามประชาชนซึ่งได้มีขึ้นในหลายวันที่ผ่านมา เหตุการณ์ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเจราหลังฉากที่มีขึ้นและขึ้นอยู่กับความไม่สามารถควบคุมผู้ชุมนุมที่โกรธแค้นจะมีมากไปกว่านี้หรือไม่ ยอดผู้บาดเจ็บมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าในช่วงเวลากลางวัน แต่หลายๆฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเวลาพลบค่ำมาเยือนสถานการณ์อาจจะปะทุเลวร้ายมากกว่ารุ่งเช้าของเมื่อวานก็เป็นได้

บทสรุปของเหตุการณ์ต่อเนื่องร้ายแรงยังคงมีอยู่ ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนอยู่นี้สถานการณ์ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ตามเราก็ได้แต่หวังว่าความขัดแย้งจะสามารถยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อไปมากกว่านี้

more Comments: 04

11th May 2010

ในเคสที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ก็อาจจะหาทางแก้โดยการยื่นขออภัยโทษได้หากว่าการปฏิเสธเกิดจากการมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ การขออภัยโทษแบบนี้ เราเรียกว่า I-601 ครั้งหนึ่งหากว่าผู้ขอวีซ่ามีเชื้อ HIV ก็จะถูกปฏิเสธวีซ่าด้วยเหตุนี้เหตุเดียวหากว่าไม่มีเหตุอื่นที่พบอีก อย่างไรก็ตามเร็มๆนี้หน่วยงานคนเข้าเมืองสหรัฐได้เปลี่ยนกฏใหม่ ตามประกาศของ สมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน (AILA) :

“ การติดเชื้อ HIV ไม่ใช่เหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้อีกต่อไป หากคุณติดเชื้อ HIV ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออภัยโทษ I-601 เพราะเหตุที่คุณป่วยด้วยเชื้อ HIV อีกต่อไป จากข้อสังเกตุ ในแบบ I-601 มีการลบวิธีการดำเนินการและข้อความใดๆเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ออกไปแล้ว”

นี่ไม่ใช้กฎข้อเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิธีการยื่นขออภัยโทษเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้มีความแม่นยำในเรื่องของภูมิลำเนาที่ยื่นเช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์อื่นๆ

“นอกจากนี้ USCIS ได้ประกาศว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการยื่น และที่อยู่ที่จะต้องยื่นแบบ I-601 การเปลี่ยนสถานที่ยื่นแบบเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้เกิดประโยชน์ของสำนักงาน USCIS ท้องถิ่นและ หน่วยรับเรื่องของ USCIS โดยรวมที่ยื่นแบบและจ่ายค่าธรรมเนียมให้อยู่ที่ หน่วยรับเรื่องหน่วยเดียวเพื่อให้ USCIS สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของแบบคำร้องและค่าธรรมเนียม ”

วิธีการใช้ศูนย์รับเรื่องนี้ใช้กับกรณียื่นวีซ่าถาวร เช่น IR1 และ CR1 ซึ่งเปิดโอกาศให้ USCIS เตรียมระบบการจัดการกับคำขอวีซ่าได้เนื่องจากมันถูกส่งไปที่สถานที่ๆเดียว อย่างไรก็ดี วีซ่า K1 และ K3 จะต้องยื่นแก่ ศูนย์ USCIS ที่มีเขตอำนาจเท่านั้น

ในกรณีที่ แบบ I-601 นั้นยื่นในต่างประเทศ คำร้องมักถูกยื่นผ่าน สถานทูตหรือกงสุลสหรัฐอเมริกาที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ซึ่งนี่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กงสุลทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องได้ ผู้ที่สนใจจะยื่นคำร้องขออภัยโทษโปรดจำไว้ว่าทนายความสหรัฐอเมริกาที่มีใบอนุญาติ หรือตัวแทนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นที่สถานทูตสหรัฐและ USCIS ยอมให้เป็นตัวแทนของเจ้าของเรื่องในการติดต่อได้ นั่นหมายความว่า จะต้องเป็นทนายเท่านั้นจึงจะสามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อการยื่นคำร้องนี้ได้ และหน่วยงานที่เป็นตัวแทนที่ได้รับอนุญาติส่วนใหญ่ที่กระทำการแทนได้ก็มักเป็นหน่วยงานไม่หวังผลประโยชน์ที่เพียงเก็บค่าการเป็นตัวแทน ( ถ้าหากว่าจะมีการเรียกเก็บ ) เมื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาติให้เป็นตัวแทนลูกความในกระบวนการคนเข้าเมืองไม่สามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นตัวแทนได้ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

more Comments: 04

27th April 2010

ภายใต้มาตรา 214b แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลสามารถปฏิเสธวีซ่าชั่วคราว ( เจ วัน , เอฟ วัน, บี วัน และ บี ทู ) หากเชื่อว่าคนต่างด้าวผู้ยื่นขวีซ่าไม่สามารถโต้แย้งข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพเข้าเมืองได้ ในบางกรณี กงสุลาจจะออกวีซ่าท่องเที่ยวให้ แต่คนต่างด้าวก็อาจถูกปฏิเสธขณะจะเข้าประเทศได้เช่นกัน

คนต่างด้าวได้รับวีซ่าแล้วแต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศได้อย่างไร ? มีความเข้าใจผิดๆที่ว่า ถ้าได้วีซ่าแล้วก็เท่ากับว่า มีสิทธิเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อันที่จริง เจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีดุลยพินิจที่จะปฏิเสธคนต่างด้าวไม่ให้เข้าเมืองได้ ถ้าเชื่อว่ามีเหตุให้ปฏิเสธ หากว่าเจ้าหน้ามีมีเหตุให้เชื่อว่าคนต่างด้าวมีวัตถุประสงค์อพยพ ก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองและยังมีอำนาจดุลพินิจในการเร่งส่งตัวกลับเพื่อจัดการให้คนต่างด้าวออกนอกประเทศได้อีกด้วย

ความในพระราชบัญญัติสัญชาติกล่าวว่า

ตามมาตรา 212 (a)(7)(A)(i) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ ผู้อพยพคนใด ในขณะที่ยื่นคำขอเข้าเมือง :

ไม่ได้ถือวีซ่าถาวรที่ยังไม่หมดอายุ คำขอกลับเข้ามาใหม่ หรือหนังสือสำคัญประจำตัวในการผ่านด่าน หรือหนังสือสำคัญอื่นๆที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ และหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ หรือ เอกสารเดินทางอื่นๆที่ใช้ได้ในลักษณะเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์คนเข้าเมือง หรือวีซ่าที่ไม่ได้ออกให้โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสัณชาติและคนเข้าเมืองสามารถถูกกันไม่ให้เข้าเมืองได้ (จากสหรัฐอเมริกา )

การขอละเว้นโทษมีอยู่ภายใต้มาตรา 212(k) ซึ่งสำนักอัยการสูงสุดพอใจว่าการกันไม่ให้เข้าเมืองนั้นไม่สามารถทราบได้ และไม่สามารถทราบได้แน่นอนโดยดุลวินิฉัยของคนต่างด้าวนั้นก่อนที่ยานพาหนะจะออกเดินทางมาจากจุดหมายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกดินแดนรัฐอารักขา หรือในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นมาจากรัฐอารักขา ให้ใช้เวลาก่อนที่คนต่างด้าวจะยื่นขอให้รับเข้าเมือง

อำนาจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นเหตุผลในการที่ต้องขอวีซ่าให้ถูกประเภทแทนที่จะพยายามลอดช่องโหว่ของกฎหมายคนเข้าเมือง ตัวอย่างเช่น มีคนอเมริกันบางคนที่มีคนรักเป็นบุคคลสัณชาติไทยและหวังที่จะนำเขาหรือเธอเหล่านั้นไปอเมริกาโดยมีจุดประสงค์ที่จะสมรสหรือเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้พำนักอาศัยถาวร หรือผุ้ถือกรีนการ์ด โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าเค วัน ( รู้จักกันในชื่อวีซ่าคู่หมั้น ) เป็นวีซ่าที่เหมาะกับวัตถุประสงค์นี้ที่สุด อย่างไรก็ดีบางคนเลือกที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกาเนื่องจากวีซ่าคู่หมั้นใช้เวลานานประมาณ 6-7 เดือน ในขณะที่วีซ่าท่องเที่ยวใช้เวลาสองถึงสาม สัปดาห์เท่านั้น การถูกปฏิเสธที่ด่านคนเข้าเมืองขณะจะเข้าเมืองทำให้เสี่ยงต่อการถูกส่งตัวกลับและยังต้องเสียเงินไปกับการขอวีซ่าและค่าเดินทางแต่กลับเข้าประเทศไม่ได้ การถูกกันตัวออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้ถูกแบนไม่ให้เข้าเมืองในคราวต่อไปได้ ได้หากว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าการเข้าประเทศเป็นไปโดยจงใจให้เจตนาเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นว่านี้จะต้องขอละเว้นโทษเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า I601 waiver

การถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองไม่ทำให้ถุกส่งตัวกลับทันที เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจดุลพินิจที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวถอนคำขอเข้าประเทศได้และออกจากประเทศโดยเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง แต่การใช้วีซ่าชั่วคราวโดยไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสี่ยงในกาลต่อมาที่จะถูกส่งตัวออกนอกประเทศและคนที่กำลังหาลู่ทางไปสหรัฐอเมริกาสก็ควรจะจำเรื่องนี้ใส่ใจไว้เมื่อศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองสหรัฐ

more Comments: 04

25th April 2010

ในกระทู้ก่อนๆผู้เขียนได้กล่าวถึง การยื่นแบบ I-130 เพื่อขอวีซ่าอเมริกาสำหรับญาติสนิท สำหรับผู้ที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่มีสำนักงานของ USCIS ก็อาจจะยื่นคำขอต่อกงสุลโดยตรงโดยใช้วิธีการ Direct Consular Filing อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเทศที่มีสำนักงาน USCIS อยู่ ผู้ยื่นก็จำเป็นต้องยื่นเรื่องต่อสำนักงาน USCIS โดยตรง โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องมีคุณสมบัติคือมีถิ่นที่อยู่ในเขตอำนาจของสำนักงานนั้นๆ นั่นหมายความว่า บางคนเข้าใจผิดๆว่าผู้ยื่นและผู้รับผลประโยชน์เท่านั้นจึงจะยื่นคำขอได้ ซึ่งไม่ใช่เสียทีเดียว

มาตรา 8 CFR 292.1 กล่าวว่า :

(เอ) บุคคลที่สามารถมีตัวแทน ( ต่อ USCIS ) อาจจะใช้ตัวแทนยื่นเรื่องได้ ดังนี้

(1) ทนายความในสหรัฐอเมริกา ทนายความคนใดตามมาตรา 1.1(f) แห่งหมวดนี้

มาตรา 1.1(f) ที่อ้างไว้ข้างต้นกล่าวว่า

คำว่าทนายความหมายถึงบุคคลใดๆที่เป็นสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภาของศาลสูงสุดในมลรัฐใดๆ เขตแดน รัฐอาณานิคม คอมมอนเวลท์ หรือ เขตโคลัมเบีย และไม่อยู่ภายใต้คำสั่งศาลจำกัดอำนาจ ห้าม กัน ถอนใบอนุญาติ หรืออื่นๆอันเป็นการจำกัดมิให้ผู้นั้นประกอบอาชีพกฎหมาย

ในทางปฏิบัติ หมายความว่า ทนายความที่มีใบอนุญาติในสหรัฐอเมริกา สามารถเป็นตัวแทนลูกความต่อ USCIS ได้ ไม่มีข้อจำกัดด้านถิ่นที่อยู่สำหรับสิทธิในข้อนี้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการยื่นแบบ I -130 ที่สำนักงานท้องถิ่น สามารถจ้างทนายทำการแทนได้ตามกฎหมาย

วิธีการนี้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่ต้องการจะดำเนินการกับขั้นตอนการยื่นเรื่อง เนื่องจากเมื่อทนายความมีสิทธิ์ทำการแทนตัวความเกี่ยวกับคำขอ IR1 และ CR1 ในประเทศไทย ผู้ยื่นและผู้รับผลประโยชน์ก็เพียงเตรียมเอกสารที่จำเป็นแก่ทนายความและทนายความก็จะเป็นผู้ดำเนินการต่อเองในนามของผู้ยื่น ในบางกรณี USCIS กำหนดให้ ผู้ยื่นและผู้รับผลประโยชน์มาปรากฏตัวต่อหน้าสำหรับเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการ หากมีกรณีเช่นว่า ผู้ยื่นและผู้รับผลประโยชน์ก็สามารถให้ทนายความดำเนินการเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ USCIS แทนได้

more Comments: 04

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.