blog-hdr.gif

Integrity Legal

28th May 2010

คำถามที่ถามกันมากสำหรับคนที่ตั้งใจว่าจะพาคนรักจากประเทศไทยไปอเมริกาก็มักจะเกี่ยวกับว่า เป็นไปได้ไหมที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพฯ แก่นของปัญหาการขอวีซ่าท่องเที่ยวก็คือการที่ผู้ขอไม่สามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพของเจ้าหน้าที่กงสุลได้

วีซ่าท่องเที่ยวกับเจตนาอพยพ

ภายใต้มาตรา 214 (b) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลประจำสถานทูตจำต้องสันนิษบานไว้ก่อนว่าผู้ขอวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดมีเจตนาอพยพ ในอันที่ผู้ขอวีซ่าจะเอาชนะข้อสัณนิษฐานดังกล่าว เขาจะต้องแสดงหลักฐานว่าเหตุผลมีน้ำหนักพอที่จะกลับมายังประเทศไทยหลังจากไปสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังฐานเหล่านั้นก็ได้แก่ สัญญาจ้างงานในประเทศไทยด้วยเงินเดือนสูงๆ ( เงินเดือนในตัวของมันเองนั้นไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเจ้าหน้าที่กงสุลซักเท่าไร แต่มันเนื่องมาจากเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งงานเงินเดือนสูงๆไปเป็นแน่ต่างหาก ) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่เหนียวแน่นในประเทศไทย และ การลงทุนในประเทศไทยที่ยากจะละทิ้งไป ( อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ) นี่ไม่ใช่ทั้งหมดแต่เพียงให้คุณเห็นภาพว่าเจ้าหน้าที่กงสุลอยากจะเห็นอะไรตอนที่ต้องพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าสามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพได้หรือไม่

แฟนหรือสามีชาวอเมริกัน เป็นเหมือน “ยาพิษ” สำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือปล่าว?

บางคนเชื่อว่าการมีคู่ครองเป็นชาวอเมริกันนั้นถือเป็นการปฏิเสธวีซ่าท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ถ้าผุ้ขอวีซ่าชาวไทยมีคนรักชาวอเมริกัน ผู้ขอวีซ่าก็ยังต้องเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพอยู่ดีนั่นเอง ความต่างของการมีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่มันขึ้นอยู่กับว่าคู่รักนั้นๆตั้งใจจะใช้วีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางสะดวกในการอพยพไปสหรัฐอเมริกาโดยวิธีการขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไปเปลี่ยนสถานภาพเป็นกรีนการ์ดหรือไม่ เรียกง่ายๆก็คือคู่รักจะต้องแสดงให้เห็นว่าใช้วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลที่แท้จริงของมัน ซึ่งก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวนั่นเอง

ถ้าวีซ่า K 1 เป็นวีซ่าชั่วคราว แล้วทำไมคู่หมั้นชาวไทยยังอยู่ในอเมริกาได้ล่ะ?

ในมุมหนึ่งวีซ่า K 1 เป็นส่วนผสมของวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวร วีซ่าตัวนี้อนุญาตให้คู่หมั้นชาวไทยเข้าอเมริกาได้ 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันและปรับเปลี่ยนสถานภาพเพื่อให้คงพักอาศัยในสหรับอเมริกาได้ วีซ่าชนิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้โอกาสคู่รักได้ดูว่าการแต่งงานจะไปรอดหรือไม่และหากว่าไปรอดก็ให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเสีย ดังนั้นวีซ่าตัวนี้จึงเป็นวีซ่าชั่วคราวเพราะว่ามันมีวันหมดอายุ แต่หากว่าผู้ถือวีซ่า K 1 ทำตามเงื่อนไขวีซ่าและตัดสินใจที่จะแต่งงานในสหรัฐอเมริกา เขาหรือเธอก็สามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อได้โดยมีความยุ่งยากทางกฎหมายเพียงน้อยนิด

โปรดจำไว้ว่าข้อความข้างต้นไม่ทำให้เกิดสิทธิความสัมพันธ์ระหว่างทนายและลูกความ และไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำทางกฎหมายส่วนตัวจากทนายความมีใบอนุญาติแต่อย่างใด

K1 วีซ่า & K1


Tags: , , , , , ,

One Response to “วีซ่าคู่หมั้น K 1 และวีซ่าท่องเที่ยว : สำคัญก็ที่เจตนา”

  1. [...] Benjamin Hart is an American attorney and the Managing Director of Integrity Legal (Thailand) Co. Ltd. Contact their offices at 1-877-231-7533, +66 (0)2-266-3698, or [email protected]. See them on the world wide web at: Fiance Visa Thailand or for Thai please see K1. [...]

Leave a Reply

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.