blog-hdr.gif

Integrity Legal

Posts Tagged ‘วีซ่าคู่หมั้น’

26th August 2013

จากการเขียน Blog ครั้งก่อนเรื่องข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพสเดียวกันนั้น  ขาฯได้พบคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ดังนี้:

Q: คำตัดสินของศาลสูงเรื่องคดี Windsor vs. United States มีผลกระทบต่อกฎหมายคนเข้าเมืองอย่างไร?

A: ศาลสูงตัดสินว่า Section 3 ของ DOMA นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จากนี้ไป สถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงศุลของสหรัฐฯ จะปฎิบัติต่อการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ในวิธีการเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ  นอกจากนี้ คู่สมรสเพศเดียวกันที่จะเดินทางเข้าสหรัฐเพื่อ – งาน การศึกษา หรืออื่นๆ – จะขอวีซ่าเหล่านั้นได้เช่นกัน  รวมถึงลูกติดของคู่สมรสเพศเดียวกันด้วย

ตามที่เคยสนทนาใน Blog นี้ การที่ศาลลงความเห็นว่า Section 3  ของ DOMA นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ผู้ที่เป็นคนถือสัญชาติอเมริกันสามารถยื่นขอผลประโยชน์ทางการเข้าเมืองให้คู่สมรส (หรือคู่หมั้น) เพศเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐซึ่งรับผิดชอบเรื่องการออกวีซ่า ยังต้องทำการแจ้งข้อมูลเบื้องต้น  ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐได้จัดระบบให้สอดคล้องกับการตัดสินของศาลสูงเรียบร้อยแล้ว

Q: ข้ฯต้องอาศัยอยู่ในรัฐที่ออกกฏหมายยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกันหรือไม่เพื่อที่จะขอวีซ่าเข้าเมือง

A: ไม่จำเป็น หากท่านได้จดทะเบียนสมรสในรัฐหรือประเทศที่ยอมรักการจดทะเบียนสมรสของคู่สมรสเพศเดียวกัน ถือว่าทะเบียนสมรสนั้นถูกต้องสำหรับประกอบการยื่นขออนุญาตเข้าเมือง (โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน Website ของ USCIS – ในหัวข้อ – Citizenship and Immigration Services)

เนื่องจากเขตปกครองของสหรัฐที่ยอมรับการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้นมีไม่มาก และมีหลายรัฐที่ห้ามให้มีการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้น จึงมีข้อสงสัยมากมายทั้งในวงของนักกฎหมายและของคู่สมรสเหล่านั้นด้วย ใน Blog ที่ข้าฯ ได้เขียนก่อนหน้านี้ ข้าฯได้ยืนยันแล้วว่าความถูกต้องขึ้นอยุ่กับ “รัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน” นั่นคือ USCIS จะรับรองการยื่นขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพศเดียวกันก็ต่อเมื่อการจดทะเบียนได้จดในรัฐที่ยอมรับการจดทะเบียนประเภทนี้  นอกจากนี้ ดูเหมือนว่ากระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯก็มีนโยบายที่คล้ายกันคือ จะอนุมัติการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ต่อเมื่อ USCIS  ได้อนุมัติการเข้าเมืองของคู่ดังกล่าว  แต่อาจมี่เขตปกครองบางเขต ที่อาจยอมรับการครองเรือนของคนเพศเดียวกัน แต่อาจไม่ถือเป็นการสมรส ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯกล่าวว่า:

Q: ข้าฯอยู่ร่วมกันกับคูคนเพศเดียวกัน  เราจะได้รับสิทธิเหมือนคู่ที่ทำการสมรสหรือไม่

A: ณ. เวลานี้ การขอย้ายถิ่นที่อยู่ จะอนุมัติให้เฉพาะบุคคลที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ถึงแม้คำตอบจะดูชัดเจนแล้ว มีหลายคู่อาจมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคือ:

Q: ข้าฯถือสัญชาติอเมริกันและมี่คู่หมั้นต่างชาติที่เป็นคนเพสเดียวกันกับข้าฯ แต่ไม่สามารถทำการจดทะเบียนสมรสในประเทศของคู่หมั้น เรามีทางเลือกอย่างไรบ้าง? เราสามารถขอ K-Visa (วีซ่าคู่หมั้น) ได้หรือไม่?

A: คุณสามารถยื่น Form I-129f และขอวีซ่าคู่หมั้น (K-1) หากคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของการขอเข้าเมือง การที่เป็นการหมั้นระหว่างคนเพสเดียวกัน อาจอนุมัติให้ใช้เพื่อเข้าไปจดทะเบียนสมรสในสหรัฐฯ หากต้องการขอข้อมูลเรื่องการปรับสถานะ อ่านได้ใน Website ของ USCIS:

ในเมื่อในเวลานี้ คู่สมรสต่างเพศสามารถยื่นขอ K1 วีซ่า ได้ จึงมีความน่าจะเป็นที่คู่หมั้นที่มีเพศเดียวกันน่าจะยื่นขอ  US fiance visa ได้เช่นกัน หากมีความตั้งใจที่จะไปจดทะเบียนสมรสในเขตปกครองที่อนุญาตการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน

อีกประเด็นที่อาจมีข้อสงสัยคือการออก Non-immigrant visa (NIV)  วีซ่าประเภทนี้ไม่ได้ไม่ได้อนุญาตให้ผู้ถือเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ย้ายเข้าเมือง  ทางกระทรวงมหาดไทยได้ให้รายละเอียดดังนี้สำหรับการออก NIV ให้กับคู่สมรสเพศเดียวกันว่า:

Q: คู่ที่เป็นเพศเดียวกันสามารถขอวีซ่าประเภทเดียวกันหรือไม่?

A: ได้  ณ. เวลานี้ คู่สมรสเพศเดียวกันพร้อมลูกสามารถยื่นขอวีซา NIV ได้ คู่ครองเพศเดียวกันและลูก (ถือเป็นลูกเลี้ยงของผู้ยื่นหลัก หากจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์) ก็ สามารถรับสิทธิขอวีซ่า NIV ถ้ากฎหมายอนุมัติวีซ่าให้  แต่เอกสารเพิ่มเติมคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการขอให้คู่สมรสเพศเดียวกัน [italics added]

Q: คู่สมรสต่างชาติของข้าพเจ้ามีบุตร ข้าพเจ้ายื่นคำขอพร้อมกับคู่สมรสได้หรือไม่?

A: ได้  บุตรของคู่สมรสต่างชาติจะถือเป็น”ลูกเลี้ยง” ของผู้ถือสัญชาติอเมริกันจึงสามารถรับสิทธิในกลุ่ม IR2 แต่ต้องจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์

แน่นอน ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ลูกเลี้ยงคนคนถือสัญชาติอเมริกันย้ายเข้าเมืองในกรณีที่ คู่สมรสเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ดังนั้น น่าจะเป็นที่เข้าใจว่าเด็กที่กำลังจะเป็นลูกเลี้ยงของคนถือสัญชาติอเมริกันที่ขอวีซ่าประเภทคู่หมั้นคือ  K-2 visa เพื่อทำการสมรสในสหรัฐฯ

หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน

more Comments: 04

24th August 2013

หลังจากการที่ศาลตัดสินคดี Windsor ที่มีการอ้างว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอพยพเข้าเมืองของสหรัฐ  ทาง USCIS และกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ เคยตอบคำถามเรื่องนี้มามากแล้ว และผมเคยปรึกษาหารือเรื่องคำตอบเหล่านี้ ใน Blog นี้มาก่อน แต่กระผมได้สังเกตว่า  USCIS ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ใน website  ของ  USCIS:

Q1: ข้าฯ เป็นพลเมืองของสหรัฐ  หรือเป็นผู้อาศัย (Permanent Resident) และมีคู่สมรสของข้าฯ เป็นคนเพศเดียวกันและเป็นคนต่างชาติ ขาฯ สามารถรับรองการขอ VISA ย้ายถิ่นที่อยู่ให้กับคู่ของข้าฯ ได้หรือไม่ ? (ใหม่)

A1: ได้ ท่านสามารถยื่นแบบ Form I-130 (และเอกสารอื่น ๆ) สิทธิในการขอย้ายที่อยู่จะพิจารณาตัดสินตามกฎต่างๆ ของการเข้าเมือง และจะไม่ใช้ความเป็นคู่สมรสเพศเดียวกันมาเป็นตัวแปรในการตัดสิน

นอกจากนี้คนอเมริกันหรือ Permanent Resident สามารถยื่นคำขอ คือ IR 1 Visa, CR 1 Visa  หรือตัวเสริมคือ K3 Visa   เพื่อให้คู่สมรสเข้าเมือง  นอกจากนี้ เมื่อยื่นขอ Visa ที่สถานฑูตหรือสถานกงศุลของสหรัฐฯ การพิจารณาการขอ Visa จะพิจารณาเช่นเดียวกับ การพิจารณาการขอ Visa  ของคู่สมรสต่างเพศ

ประเด็นที่หลายคู่สงสัย คือ ข้อแตกต่างระหว่างรัฐที่อาศัยอยู่กับรัฐที่จดทะเบียยนสมรส เพราะมีไม่กี่รัฐที่อนุญาติให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ในขณะที่บางรัฐไม่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และอาจะไม่อนุญาติให้จดทะเบียน   USICS ได้อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้:

Q3: ข้าฯ และคู่สมรสได้จดทะเบียนในรัฐ ในสหรัฐฯ หรือในประเทศที่ยอมรับ การสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน แต่เราอาศัยในรัฐที่ไม่อนุญาติให้จดทะเบียนสมรส ข้าฯ สามารภยื่นขอให้คู่ครองย้ายเข้าเมืองได้หรือไม่

A3: ได้เพราะ สถานภาพการสมรส จะพิจารณาจากรัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน หากกฎหมายของรัฐนั้นอนุญาตให้ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วใช้ในการประกอบการพิจารณา การขอย้ายเข้าเมืองได้

อาจมีบางกรณีที่จะมีผลทำให้ กฎหมายของที่อาศัยมีผลต่อบางประเด็น แต่โดยรวมแล้ว ทาง USCIS จะนำกฎหมายของรัฐที่คู่สมรสได้ดำเนินการจดทะเบียน มาใช้ในการพิจารณาการขอย้ายถิ่นที่อยู่

นอกจากนี้ ข้าฯ ก็ไม่เคยได้ยินว่า  Section 2 ของ DOMA จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ  ดูด้จากคำอธิบายต่อไปนี้:

Q5: Form I-130 หรือคำขออื่นๆได้ถูกปฎิเสธโดยอ้างกฎของ DOMA เพียงอย่างเดียว ข้าฯ ควรทำอย่างไรต่อ?

A5: USCIS จะนำคำขอที่ถูกปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3 มาพิจารณาอีกรอบ ถ้าหากมีข้อมูลเรื่องธุรกรรมเหล่านี้ USCIS จะนำคำตัดสินมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งจะปฎิบัติเช่นนี้กับทุกกรณีที่ได้รับการปฎิเสธ ใน Form I-130 (เช่น Form I-485 ที่นำยื่นในเวลาเดียวกัน)

  • USCIS จะนำ Form I-130 ที่ได้รับการปฎิเสธเนื่องจาก DOMA Section 3 หลัง 23 กพ. 2011  มาพิจารณาอีกรอบ และ USCIS จะติดต่อไปยังผู้ยื่นคำขอโดยใช้ที่อยู่ในใบคำขอ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
  • หากคุณได้มีคำขอที่ได้รับการปฎิเสธ เนื่องด้วย กรณีดังกล่าวข้างต้น คุณสามารถส่ง email ส่วนตัว (ที่สามารถรับคำตอบได้) ไปยัง USCIS <[email protected]> เพื่อแจ้งการร้องเรียน  ทาง USCIS จะตอบอีเมล์แล้วขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
  • ถ้าหากการปฎิเสธ คำขอ I-130 เกิดขึ้นก่อน 23 กพ. 2011 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2014  เพื่อให้ USCIS ดำเนินการเปิด I-130 ของคุณ  กรุณาแจ้งจำนงไปยัง  < [email protected] > โดยเขียนว่า ทางคุณมีข้อสงสัยว่า การยื่นคำขอของคุณได้รับการปฎิเสธเพราะ  DOMA Section 3

พอทางการเริ่มพิจารณา I-130 ของท่าน จะเสมือนเป็นการพิจารณาใหม่โดยไม่คำนึงถึง DOMA Section 3 แล้วจะพิจารณาตามข้อมูลเก่า และข้อมูลเพิ่มเติม ในเวลาเดียวกัน USCIS จะนำคำขออื่นๆ มาพิจารณาตามความจำเป็น หากคำขอเหล่านั้น ถูกปฎิเสธ เนื่องจากการปฎิเสธ I-130 (เช่น Form I-485 เป็นต้น)

นอกจากนี้การขออนุญาติทำงานที่ถูกปฎิเสธเนื่องจากการปฎิเสธ Form I-48S ก็จะนำมาพิจารณาต่อ และจะออกใบอนุญาติทำงานหากอนุมัติ หากการตัดสินเกิดการล่าช้า  USCIS จะ (1) ยื่นเรื่องใหม่ทันที หรือ (2) พิจารณาและอนุมัติคำขอที่เคยถูกปฎิเสธ

  • หากมี form อื่นๆ (นอกจาก I-130) ที่ได้รับการปฎิเสธเรื่องจาก DOMA section 3 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2013 โดยส่ง email ไปยัง <[email protected]>

จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการร้องขอให้ USCIS นำคำขอมาพิจารณาใหม่ แต่หากท่านต้องการยื่นคำขอใหม่ ท่านสามารถทำได้พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม ตามที่แจ้งได้

USCIS จะดำเนินธุรกรรมตามกฎและนโยบายของศาลสูง ซึ่งการนำใบสมัครของคู่สมรสที่มีเพศเดียวกันมาพิจารณาอีกรอบ ชี้ให้เห็นว่า ทางองค์กรมุ่งที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมของครอบครัวทุกประเภท

หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน

more Comments: 04

10th June 2011

สิ่งที่กำลังเป็นเรื่องที่น่าสนใจ คือ หน่วยบริการพลเมืองสหรัฐอเมริกาและการเข้าเมือง (USCIS) ได้ออกบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการการขอสิทธิอุทธรณ์ ตาม ไอ-601 หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมนั้นสามารถอ้างได้โดยตรงจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของUSCIS ตามเว็บ USCIS.gov

วัตถุประสงค์

บันทึกนโยบายนี้ (PM)นำเสนอหลักการเกี่ยวกับกระบวนการในการขอใช้สิทธิอุทธรณ์ตามฟอร์ม ไอ-601ของหน่วยบริการพลเมืองและการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา (USCIS)โดยการยื่นนอกสหรัฐอเมริกา หลักการเหล่านี้มีอยู่ในAFM บทที่ 41.7และในบททบทวนของคู่มือหน่วยปฏิบัติการ ตามเขตอำนาจศาลของแบบฟอร์ม ไอ-601

ขอบเขต

นอกจากข้อยกเว้นที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น บันทึกนี้นำมาใช้และบอกเป็นนัยว่า เจ้าหน้าที่ของ USCIS มีอำนาจวินิจฉัยแต่ละบุคคลนอกสหรัฐอเมริกา
การควบคุม

8 CFR 212.7 ควบคุมการวินิจฉัย USCIS ของฟอร์ม ไอ-601
เบื้องหลังของนโยบาย USCIS ยอมรับการร้องขอที่จะมีการขออุทธรณ์กระบวนการของคำร้อง หรือคำร้องขอที่ผู้สมัครและผู้ยื่นคำขอแสดงถึงเหตุผลในการที่จะอุทธรณ์กระบวนการดังกล่าว เกี่ยวเนื่องกับนโยบายที่ผู้สมัครอาจเรียกร้องว่า ฟอร์ม ไอ-601 อาจจะได้รับการพิจารณา คำร้องขอเกี่ยวกับการอุทธรณ์ในบริบทที่แตกต่างกัน โดยมากแล้วแบบฟอร์ม ไอ-601 ของผู้สมัครนอกสหรัฐอเมริกามีส่วนที่จะช่วยเร่งกระบวนการโดยอาศัยความยากลำบากในการที่จะหาคุณสมบัติของสมาชิกในครอบครัว โดยส่วนมากฟอร์ม ไอ-601ทั้งหมดที่อยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามผู้สมัครบางคนอาจจะอยู่ในสถานการณ์ที่พิเศษนอกสหรัฐอเมริกาซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเร่งด่วน และมีเหตุผลของเวลาในการที่อยู่ในขั้นตอนของฟอร์มไอ-601 บันทึกนี้ได้แนะนำสิ่งที่เกี่ยวกับคำร้องขอของฟอร์มไอ-601โดยผู้ยื่นคำขอที่อยู่ต่างแดน นโยบายที่ดำเนินการในการจัดการกับทรัพยากรและสถานการณ์ต่างๆขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีโดยขึ้นอยู่กับการอนุมัติคำขอในการเร่งกระบวนการการอุทธรณ์ฟอร์มไอ-601 ความปรารถนาอย่างแรงกล้านั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์พิเศษ ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีที่จะมีการร้องขอให้วินิจฉัยฟอร์มไอ-601 ความตั้งใจที่จะย้ายถิ่นฐานมายังสหรัฐอเมริกาอาจจะมความเป็นไปได้แต่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์พิเศษเพียงอย่างเดียว ประเภทของพฤติการณ์พิเศษโดยทั่วไปแล้วช่วยเร่งให้กระบวนการต่างๆรวดเร็วขึ้นสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและอยู่ในสถานการณ์ที่บีบบังคับมากกว่าการที่ผู้สมัครในสหรัฐอเมริกาจะรอให้สถานการณ์อยู่ภายใต้กรอบเวลาปกติ

สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกานั้นต้องตระหนักถึงการอุทธรณ์ ไอ-601ที่ให้การเยียวยาสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าไปในสหรัฐอเมริกา หรือยังไม่สามารถที่จะได้รับวีซ่าสหรัฐอเมริกา (เช่นวีซ่า เค-วัน(วีซ่าคู่หมั้น) วีซ่าซีอาร์-1 หรือวีซ่า ไออาร์-1) ในระหว่างกระบวนการทางกงสุลที่สถานทูตสหรัฐอเมริกา หรือสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในต่างประเทศ

การของสิทธิอุทธรณ์นั้นเป็นที่น่าสับสนกับการอุทธรณ์ ไอ-212 (ยังกล่าวถึงการยื่นคำขอเกี่ยวกับการอนุญาตล่วงหน้าในการกลับเข้าไปในสหรัฐอเมริกา) อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิอุทธรณ์ ไอ-601 และสิทธิอุทธรณ์ ไอ-212 เป็นคำขอสองประเภทที่แตกต่างกันซึ่งมีบางส่วนที่เหมือนกันแต่ไม่ได้มีส่วนที่เหมือนกันทั้งหมด

To view this information in English please see: I-601 waiver.

more Comments: 04

8th June 2011

บทความนี้เขียนถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทนายความอเมริกันให้คำแนะนำในกระบวนการของวีซ่าประเภทเค-วัน เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงในการที่จะขอคำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการขอคำปรึกษาในการทำวีซ่าก่อนที่จะทำการตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญยากที่จะเปลี่ยนแปลง

วีซ่าประเภทเค-วันเป็นวีซ่าคู่หมั้นสหรัฐอเมริกาที่ไม่ถาวรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อคู่หมั้นชาวต่างชาติของพลเมืองอเมริกัน วีซ่าประเภทเค-วันอนุญาตให้คู่หมั้นชาวต่างชาติของพลเมืองอเมริกันเข้าไปในสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลา 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์ในการแต่งงาน ผู้ที่แต่งงานกับคูหมั้นภายหลัง 90 วันในสหรัฐอเมริกาจะต้องเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้อ่านควรจะพึงระลึกว่า การเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาด้วยวีซ่าเค-วันที่จะแต่งงานกับคู่รักต้องอยู่ในสถานะของกระบวนการเปลี่ยนสถานะผู้ที่จะได้รับสถานะผู้ที่มีถิ่นฐานถาวรในสหรัฐอเมริกา

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นถึงมุมมองเกี่ยวกับการจัดการเกี่ยวกับบุคคลที่ไม่ได้รับใบอนุญาตที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองในสหรัฐอเมริกา(หรือ กฎหมายอเมริกันใดๆ) ตามบทบัญญัติ 8 CFR 292.1 มีเพียงทนายความที่ได้รับใบอนุญาตในการปฏิบัติงานในอย่างน้อยหนึ่งรัฐหรือเขตอำนาจรัฐบาลกลางที่มีสิทธิที่จะเรียกค่าธรรมเนียมจากลูกความในเรื่องการว่าความกฎหมายคนเข้าเมือง ดังนั้นอาจจะไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับข้อจำกัดในวงแคบที่วางกฎเกณฑ์ไว้ก่อนหน้านี้โดยพฤติกรรมของคนเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักถึงว่า ความเชื่อมั่นระหว่างทนายและลูกความนั้นเป็นประเด็นที่สำคัญที่ควรจะพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของคุณสมบัติในบริบทการเข้าเมืองในต่างประเทศซึ่งเรียกว่า “ตัวแทนวีซ่า” หรือ “ที่ปรึกษาการเข้าเมือง” อ้างถึงคุณสมบัติในความเชื่อมโยงกับการเข้าเมืองสสหรัฐอเมริกา สิทธิประโยชน์ทนายและลูกความไม่ได้ขยายความไปถึงผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นทนายความอเมริกัน และจากกการอภิปรายแล้วผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นทนายความจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ในข
ณะเดียวกัน ผู้ที่แสดงตัว หรือแกล้งเป็นทนายอเมริกัน ในความเป็นจริงแล้วไม่ได้รับสสิทธินี้

ด้วยเหตุผลที่กบ่าวมาแล้วในข้างต้นควรจะอ้างถึงทนายความที่มีความสามารถและไดรับใบอนุญาตจากสหรัฐอเมริกาในการที่จะให้คำแนะนำแก่ลูกความ ผู้อ่านควรที่จะทำความเข้าใจว่า ในบทความนี้ไม่ได้เชิญชวนให้มีการแต่งงานและไม่ใช่ความตั้งใจของผู้เขียนที่จะเขียนถึงการโฆษณาดังกล่าว บทความนี้เป็นบทความที่จะเตือนให้ผู้อ่านได้ตระหนักถึงการตัดสินใจที่ลูกความควรค้นหาข้อมูลในการเลือกทนายความ ความสัมพันธ์ระหว่างทนายความและลูกความไม่ใช่ “สิ่งที่เหมาะสำหรับฝ่ายเดียว” และเป็นคุณภาพในการบริการทางกฎหมายอีกด้วย ดังนั้นควรจะมีการหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะจ้างทนายความ

To view this posting in English please see: K1 Visa Thailand.

more Comments: 04

4th January 2011

สำหรับผู้ที่อ่านบล็อกอยู่เป็นประจำคงไม่มีข้อสงสัยว่า ทำไมผู้เขียนจึงพยายามที่จะแจ้งตารางวันหยุดของสถานทูตสหรัฐอเมริกาและภารกิจนอกสหรัฐอเมริกาเพื่อความสะดวกแก่ผู้เดินทางที่ต้องการใช้บริการในต่างประเทศ ข้างล่างนี้เป็นวันหยุดของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยตามที่อ้างในเว็บไซต์ทางการของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

เดือน

วันที่

วัน

วันหยุด

มกราคม

17

จันทร์

วันพระราชสมภพกษัตริย์มาร์ติน ลูเธอร์

กุมภาพันธ์

21

จันทร์

วันประธานาธิบดี

เมษายน

6

พุธ

วันจักรี

เมษายน

13

พุธ

วันสงกรานต์

เมษายน

14

พฤหัสบดี

วันสงกรานต์

เมษายน

15

ศุกร์

วันสงกรานต์

พฤษภาคม

5

พฤหัสบดี

วันฉัตรมงคล

พฤษภาคม

17

อังคาร

วันวิสาขบูชา

พฤษภาคม

30

จันทร์

วันที่ระลึก

กรกฎาคม

4

จันทร์

วันนประกาศอิสรภาพ

สิงหาคม

12

ศุกร์

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

กันยายน

5

จันทร์

วันแรงงาน

ตุลาม

10

จันทร์

วันโคลัมบัส

ตุลาคม

24

จันทร์

วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช

พฤศจิกายน

11

ศุกร์

วันทหารผ่านศึก

พฤศจิกายน

24

พฤหัสบดี

วันขอบคุณพระเจ้า

ธันวาคม

5

จันทร์

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช

ธันวาคม

12

จันทร์

วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ

ธันวาคม

26

จันทร์

วันหยุดชดเชยวันคริสต์มาส

ผู้ที่ประสงค์จะรับบริการของกงสุลเช่นบริการรับรองลายมือชื่อ และหรือการออกหนังสือรายงานการเกิดในต่าง

ประเทศ การทำวีซ่าอเมริกาหรือบริการอื่นๆเกี่ยวกับวีซ่าที่ต้องติดต่อกับส่วนบริการพลเมืองสัญชาติอเมริกันในท้องที่ที่ตั้งอยู่

ในแต่ละปี มีคู่ไทย-อเมริกันเลือกที่จะรับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับคนเข้าเมืองในลักษณะของวีซ่าประเภท K1 หรือ วีซ่าประเภท CR1 ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติหลายๆบริษัทหรือนักลงทุนที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นฐานถาวรที่กำลังมองหาแหล่งลงทุนและธุรรกิจโดยอาศัยวีซ่าประเภทL-1สำหรับการรับโอนบริษัทภายใน วีซ่าประเภทE-2สำหรับนักลงทุนที่เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา หรือวีซ่าประเภท EB-5สำหรับผู้ที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 500,000 ดอลลาห์สหรัฐในธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ในหลายๆกรณีผู้สมัครชาวไทยที่ยื่นขอวีซ่าดังกล่าวต้องดำเนินการตามขั้นตอนของการขอวีซ่ากับหน่วยวีซ่าหรือหน่วยการเดินทางธุรกิจของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯ ประเทศไทย

ผู้ที่ถือสัญชาติไทยที่กำลังมองหาวีซ่าผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานถาวรเช่น วีซ่าประเภท J-1(วีซ่าประเภทแลกเปลี่ยนผู้เยี่ยมเยียน) วีซ่าประเภท F-1 (วีซ่านักเรียน) วีซ่าประเภท B-2(วีซ่าท่องเที่ยว) ต้องดำเนินการยื่นคำขอผ่านทางหน่วยบริการวีซ่าประเภทผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานถาวรในกรุงเทพฯถ้าผู้สมัครชาวไทยอาศัยอยู่ในเขตอำนาจของกงสุลของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯซึ่งตรงข้ามกับเขตอำนาจของกงสุลที่เชียงใหม่ ประเทศไทย

To view this information in English please see: US Embassy.

more Comments: 04

21st April 2010

For information in English please see: National Visa Center.

NVC คืออะไร?

กระบวนการขอรับผลประโยชน์จากการเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกาอาจจะยุ่งยากเป็นบางครั้ง แต่โดยภาพรวมแล้วหากว่าเข้าใจขั้นตอนหรือมีการจ้างทนายความผู้มีประสบการณ์ก็อาจจะทำให้ง่ายขึ้น

คำถามที่พบบ่อยๆเกี่ยวกับกระบวนการขอวีซ่าก็คือ NVC คืออะไรและมีหน้าที่อะไร NVC ย่อมาจากศูนย์วีซ่าแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐภายใต้อำนาจของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา NVC มีสำนักงานอยู่ที่ Portsmouth มลรัฐ New Hampshire อำนาจของ NVC คือการดำเนินการคำขอวีซ่าและทำให้แน่ใจว่าคำขอวีซ่าจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานที่อยู่ในพื้นที่ผู้รับผลประโยชน์มีภูมิลำเนาอยู่

NVC ยังรับผิดชอบในการรวบรวมค่าธรรมเนียมวีซ่าถาวร และเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้อเจ้าหน้าที่กงสุลในการพิจารณาคำขอ

กระบวรการดำเนินการของ NVC วีซ่าไม่ถาวรและวีซ่าถาวร

การดำเนินการของ NVC นั้นยุ่งยากและใช้เวลาค่อนข้างมากกว่าสำหรับวีซ่าถาวร ซึ่งตรงข้ามกับวีซ่าไม่ถาวร กิจกรรมหนึ่งที่ NVC ทำบ่อยๆก็คือการตรวจสอบด้านความมั่นคงและตรวจสอบภูมิหลังของผู้ที่มีความประสงค์จะเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 NVC ได้มีบทบาทสำคัญเพื่อทำให้มั่นใจว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา

NVC นั้นบางครั้งถูกเข้าใจสับสนกับ NBC หรือ ศูนย์ผลประโยชน์แห่งชาติซึ่งได้รับมอบหมายจาก USCIS ให้จัดการเกี่ยวกับเอกสารก่อนสัมภาษณ์สำหรับการสัมภาษณ์คนเข้าเมืองในประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับคนที่ต้องการนำคู่หมั้นชาวไทยไปอเมริกาโดยวีซ่า K1 ขั้นตอน NVC มักจะเร็วกว่าผู้ขอวีซ่าอพยพ ซึ่งก็เป็นจริงสำหรับกรณีวีซ่า K3 จากประเทศไทยที่ยื่นคำขอเพิ่มเติม I129F ในกรณีใดๆก็ตาม เมื่อวีซ่าได้รับการอนุมัติจาก USCIS มันจะถูกส่งต่อไปยัง NVC และ เมื่อได้รับอนุมัติคำขอจะถูกส่งไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกาหรือสถานกงสุลใหญ่

ขึ้นอยู่กับจำนวนเรื่องที่ NVC กระบวนการอาจจะใช้เวลาจาก 2 ถึง 8 สัปดาห์ ในการดำเนินการและส่งต่อเรื่องไปยังสถานทูตในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามนี่ก็เป็นแค่ระยะเวลาโดยเฉลี่ยเท่านั้น ระยะเวลาในการดำเนินการสำหรับหน่วยงานของสหรัฐก็มักจะต่างกันไป

เมื่อยื่นคำขอที่ USCIS ในกรุงเทพมหานคร NVC จะไม่เข้ามามีส่วนในขั้นตอนใดๆเนื่องจากคำขอจะถูกส่งตรงไปยังสถานทูตอเมริกาประจำกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามทันที

more Comments: 04

9th April 2010

To see related information in English please see: 221g.

ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการที่วีซ่าถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา 221 (G ) สำหรับคำร้องขอวีซ่าจากประเทศไทย การปฏิเสธวีซ่าตามมาตรา 221 (G ) ก็คือการปฏิเสธเพื่อขอหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อเจ้าหน้าที่กงสุลตัดสินใจว่าจะออกวีซ่าสหรัฐอเมริกาให้หรือไม่ ( ในการนี้ให้ดูเรื่อง วีซ่าคู่หมั้น K1, K3 หรือ วีซ่าคู่สมรส CR1 ) เจ้าหน้าที่จะทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขอวีซ่าเป็นบุคคลตามที่กล่าวอ้างจริง และจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่มีมูล ( ในกรณีเช่นนี้หมายความว่าต้องเป็นการเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสัมพันธ์ทางครอบครัวกับผู้ร้องสัณชาติอเมริกัน )

คู่รักบางคู่มีความกังวลใจเมื่อได้รับ แบบ 221 (G) และก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ขอวีซ่ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งก็เป็นปัญหาได้ หากว่าผู้ขอวีซ่ามีสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน ) อยู่ต่างจังหวัดและเป็นการยากต่อการเดินทางกลับไป บ่อยครั้งที่เอกสารที่ถูกเรียกจะต้องออกโดยอำเภอที่ผู้ขอวีซ่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับสถานทูตที่จะออก คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมในลักษณะนี้ แต่ก็สามารถเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้ขอวีซ่าชาวไทยที่จะไปนำเอกสารที่จำเป็นนั้นมาให้ได้

การปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 (g) นี้โดยทั่วไปแล้วจะให้เวลาผู้ขอวีซ่า 1 ปีในการหาเอกสารที่ได้รับการร้องขอก่อนที่สถานทูตจะทำการทำลายไฟล์ของคุณ หากไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอนี้ ก็อาจจะทำให้คำร้องขอวีซ่าของคุณถูกยกเลิกและต้องเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งหนึ่ง

เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) อาจจะเป็นการดีที่จะขอความช่วยเหลือจากทนายความด้านกฎหมายคนเข้าเมือง เพื่อป้องกันการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีการจ้างทนายความแล้ว คุณก็ยังคงสามารถถูกปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) ได้ หากว่ามีเอกสารอื่นที่จำเป็นต้องแสดง เจ้าหน้าที่กงสุลมีอำนาจดุลพินิจอย่างกว้างขวางตามอำนาจเด็ดขาดของกงสุล ดังนั้น คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมโดยเจ้าหน้ากงสุลเป็นเรื่องที่คุณต้องให้การตอบรับคำร้องขอนั้นภายในเวลาที่กำหนดให้

more Comments: 04

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.