blog-hdr.gif

Integrity Legal

Posts Tagged ‘K1’

19th April 2010

สำหรับผู้ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารวีซ่าอเมริกาที่เรียกว่า Notice of Action 2 ซึ่งถูกกล่าวถึงบ่อยในกรณีที่เกี่ยวกับคำขอวีซ่าคู่สมรสและวีซ่าคู่หมั้น กะทู้นี้จะอธิบายว่า Notice of Action 2 คืออะไร และมีความหมายอย่างไรกับคำขอวีซ่าที่อยู่ระหว่างพิจารณา

เมื่อยื่นคำขอวีซ่า เอกสารตอบรับฉบับแรกที่ได้รับจาก USCIS คือใบรับเรียกว่า Notice of Action 1 ( NOA 1 ) เพื่อเป็นการแจ้งแก่ผู้ยื่นขอวีซ่าว่า USCIS ได้รับคำขอวีซ่าแล้ว มีบางกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาเรื่องเห็นว่าต้องมีการยื่นหลักฐานเพิ่มเติมก่อนที่เรื่องจะได้รับการพิจารณา ในกรณีเช่นว่านี้ คำขอหลักฐาน ( รู้จักกันในชื่อ RFE ) จะถูกส่งไปยังผู้ยื่นขอวีซ่า อย่างไรก็ตาม ในกรณีส่วนใหญ่ หลักฐานเพิ่มเติมก็ไม่มีความจำเป็นและหากว่าคำขอวีซ่าได้รับการอนุมัติแล้ว Notice of Action 2 ก็จะถูกส่งไปยังผู้ยื่นขอวีซ่า ถ้าคำขอวีซ่าถูกปฏิเสธ ก็จะมีการส่งหนังสือแจ้งไปยังผู้ยื่นเช่นกัน

แม้ว่าจะไม่ค่อยเกิดขึ้นซักเท่าไหร่สำหรับคำขอวีซ่าครอบครัว การปฏิเสธของ USCIS ก็สามารถเกิดขึ้นได้ การปฏิเสธมักเป็นผลมาจากการที่คำร้องนั้นไม่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์อันแท้จริงระหว่างผู้ยื่นและผู้รับผลประโยชน์ในขณะที่ยื่น หรือในอีกกรณีคือการที่ยิ่นขอวีซ่าผิดประเภท การสมรสตามประเพณีไทยก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข้าใจทางเลือกในการขอวีซ่าอพยพเมริกาได้อย่างผิดๆ ในประเทศไทย หากว่าการสมรสนั้นมิได้เป็นการจดทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ ก็ถือว่ามิได้เป็นการสมรสโดยถูกต้องตามกฎหมายในสายตาของ หน่วยงานคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาและไม่ถือว่าเป็นเหตุที่ทำให้สามารถขอวีซ่าอพยพเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาได้

ดังนั้น หากว่าคู่รักที่ได้สมรสกันอย่างไม่เป็นทางการยื่นขอวีซ่า IR 1, CR 1 หรือ K3 คำขอก็จะถูกปฏิเสธเพราะว่ามีคุณสมบัติไม่เพียงพอในการออกวีซ่าให้ อย่างไรก็ตามสำหรับคู่รักในกรณีเหล่านี้ คุณสามารถขอวีซ่า K1 ได้

หลังจากที่ USCIS ออก Notice of Action 2 ให้ คำขอจะถูกส่งต่อไปยัง National Visa Center ในกรณีที่เกี่ยวกับวีซ่าอพยพถาวร NVC จะดึงเรื่องไว้นานพอสมควร อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณี ของวีซ่า K1 NVC จะไม่ดึงเรื่องเอาไว้นานสักเท่าไหร่ แต่จะดำเนินการตรวจสอบทางความมั่นคงและส่งต่อเรื่องไปยังสถานทูตสหรัฐอเมริกา ในกรณีคู่หมั้นชาวไทย จะมีการส่งเรื่องไปยังสถานทูตสหรับอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร กงสุลใหญ่ ประจำเชียงใหม่ จะไม่ดำเนินการวีซ่าอพยพถาวร

more Comments: 04

16th April 2010

For related information in English please see: Request for Evidence.

ในกระทู้คราวก่อน เราได้พูดถึงคำขอวีซ่าเบื้องต้นสำหรับคนรักต่างชาติของบุคคลสัญชาติอเมริกัน ในกระทู้นี้เราจะพูดถึงสิ่งที่ต้องทำในกรณีที่คุณได้รับแบบขอหลักฐานเพิ่มเติมจาก USCIS หลังจากที่ USCIS ได้รับคำขอของบุคคลสัญชาติอเมริกัน ก็จะส่งหนังสือแจ้งที่เรียกว่า Notice of Action 1 หรือ NOA 1 ให้ สำหรับคำขอวีซ่าที่ประสบความสำเร็จก็จะมีการส่ง Notice of Action 1 ตามด้วย Notice of Action 2 หรือหนังสือแจ้งการอนุมัติ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีกรณีที่ USCIS เรียกเอกสารเพิ่มเติม ในกรณีที่เรียกหลักฐานเพิ่มเติม (RFE ) ส่วนใหญ่มักเกิดมาจากการที่เอกสารที่ยื่นไปนั้นใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมต้องยื่นเอกสารที่มีความชัดเจนในการยื่นคำขอวีซ่าต่อ USCIS

เพื่อแก้ปัญหาการได้รับแบบเรียกหลักฐานเพิ่ม คู่รักหลายๆคู่เลือกใช้บริการทนายความด้านกฎหมายคนเข้าเมืองเพื่อช่วยยื่นคำขอวีซ่าให้ ทนายความที่มีประสบการณ์สามารถทำนายได้ว่าเจ้าหน้าที่คาดหวังจะดูเอกสารอะไรในการที่จะพิจารณาคำขอให้ อย่างไรก็ตามการจ้างทนายไม่ได้การันตีว่าคุณจะไม่ได้รับแบบเรียกขอหลักฐานเพิ่ม แต่ถ้าคุณได้รับแบบดังกล่าว ทนายความก็สามารถดำเนินการแทนคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบบเรียกขอหลักฐานเพิ่มจะบอกว่าเอกสารอะไรที่ขาดไปหรือใช้ไม่ได้ หลังจากที่ได้ระบุตัวเอกสารแล้ว เจ้าหน้าที่จะพิจารณาว่าคุณจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไรและจะมีกำหนดยื่นเอกสารภายในระยะเวลาเท่าไรโดยการส่งคำขอเอกสารเพิ่มเติมให้แก่คุณ

อนึ่ง RFE ก็คล้ายๆกับแบบปฏิเสธวีซ่า 221 (g) จากสถานทูตสหรัฐ สาเหตุที่มันเหมือนกันก็เพราะว่าผู้ขอวีซ่าต้องยื่นเอกสารที่ถูกร้องขอก่อนที่จะมีการอนุมัติให้ดำเนินการใดๆต่อไปได้ ความต่างก็คือ เจ้าหน้าที่ที่ออกแบบคำขอ ในขณะที่ แบบ 221g นั้นออกโดยเจ้าหน้าที่สถานทูตแต่ แบบขอหลักฐานเพิ่มเติมออกโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงความมั่นคง ในกรณีทั้งสองเอกสารที่ถูกร้องขอเพิ่มเป็นไปเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับผลประโยชน์ในคำขอวีซ่าสมควรได้รับสิทธิประโยชน์จริง

ในกรณีคำขอวีซ่า K1 เจ้าหน้าที่มักเรียกหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์ที่แท้จริงหรือสถานภาพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในกรณีคำขอวีซ่า K3 หรือ CR1 เจ้าหน้าที่มักขอหลักฐานยืนยันสถานภาพสมรสของคู่รักหรือสถานภาพของบุคคลก่อนการสมรสจะมีขึ้น

more Comments: 04

13th April 2010

For information in English please see: marriage registration.

มีคนหลายคนแต่งงานในประเทศไทยในแต่ละปี เราได้รับคำถามเกี่ยวกับการยอมรับการสมรสในประเทศไทยจากลูกค้าชาวต่างชาติมากมาย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศในระบอบคอมมอนลอว์ และเพราะเหตุนั้นการสมรสตามกฎหมายคอมมอนลอว์ไม่สามารถใช้ยันในศาลไทยได้ นั่นหมายความว่าแม้ประเทศไทยจะเป็นระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การแต่งงานตามประเภณีหรือตามศาสนายังคงเป็นเรื่องที่ปกติ นี่อาจจะมีสาเหตุมาจากการจดทะเบียนสมรสเป็นไปค่อนข้างยาก โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับระบบกฎหมายไทยและหน่วยงานราชการของไทย

ในประเทศไทย การสมรสคือการจดทะเบียนที่สำนักงานอำเภอ สำนักงานนี้เป็นหน่วยงานที่รับข้อมูลด้านสำมะโนประชากร และในระบบอเมริกันเราเรียกว่า Court Clerk อำเภอจะเก็บข้อมูลของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตนั้นๆ ดังนั้นอำเภอจะเก็บข้อมูลการเปลี่ยนชื่อ การสมรส การเกิด และการตายในประเทศไทย เป็นไปได้ที่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยสองคนจะสมรสกันในประเทศไทย อนึ่ง สำนักงานแต่ละแห่งจะมีระเบียบภายในของตนเอง ดังนั้นคุณควรปรึกษาทนายเพื่อช่วยเหลือในการจดทะเบียนสมรส

เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยแล้ว คำถามคือ สหรัฐอเมริกายอมรับการสมรสนั้นหรือไปไม่ พูดง่ายๆก็คือ ยอมรับ ตามเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ในกรณีที่การสมรสได้ทำขึ้นตามกฎหมายในราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกายอมรับความสมบูรณ์ของการสมรสนั้นนี่เป็นคำถามสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกี่ยวกับวีซ่าสหรัฐอเมริกา หากว่าการสมรสของคู่สมรสนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา คำขอวีซ่า CR1 หรือ K3 สำหรับคู่สมรสก็จะถูกปฏิเสธ เนื่องจากคู่สมรสไม่มีคุณสมบัติที่จะออกวีซ่าให้ อีกทั้งสำหรับคู่รักที่ต้องการขอวีซ่า K1 สำหรับคู่หมั้น ก็อาจจะเกิดมาจากการที่ทั้งคู่ได้สมรสกันในประเทศไทยโดยคิดว่าสหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับการสมรสนั้น ในกรณีนั้น USCIS จะถูกบังคับให้ต้องปฏิเสธคำขอเนื่องจากคำขอขาดคุณสมบัติ เจตนาที่จะสมรส ไม่ใช่จากการสมรสนั้น

มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของไทยที่ต้องเกี่ยวกับการทำสัญญาก่อนสมรส ในประเทศไทย สัญญาก่อนสมรสจะถูกบันทึกไว้พร้อมกับการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอใน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูเรื่อง สัญญาก่อนสมรสของไทย

เพื่อเป็นการสรุป การสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องในประเทศไทยถือว่าสมบูรณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเพื่อวัตถุประสงค์ในการขอวีซ่าอเมริกา หรือเพื่อผลประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองอื่นๆ ดังนั้นการสมรสในประเทศไทยไม่ใช่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อย เมื่อคิดจะทำการสมรสในประเทศไทย โปรดจำไว้ว่าการสมรสนั้นจะถูกปฏิบัติเหมือนการสมรสที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

more Comments: 04

12th April 2010

For information in English please see: US Visa Thailand.

การถูกปฏิเสธวีซ่าไม่ใช่สิ่งที่คนที่กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อขอวีซ่าอยากจะนึกถึง อย่างไรก็ตามการที่วีซ่าถูกปฏิเสธเกิดขึ้นและหากเราทำความเข้าใจเหตุผลของการถูกปฏิเสธ ก็อาจจะทำให้ผู้ที่คิดจะอพยพเข้าเมืองทำการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลว่าจะต้องมีวิธีการในการเข้าเมืองอย่างไร

เมื่อพูดถึงการเข้าเมืองโดยเหตุผลทางครอบครัว การประเมินที่ผิดพลาดก็มักจะเกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น หากว่าบุคคลสัญชาติอเมริกันมีคู่หมั้นชาวไทยและเขาต้องการช่วยขอวีซ่าท่องเที่ยวให้กับเธอ วีซ่าก็มักจะถูกปฏิเสธ เรื่องที่ไม่ได้เกิดจากอคติใดๆของเจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกัน แต่ว่ามันมีเหตุมาจากกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน

น่าจะดีที่สุดหากจะยกเอาประโยคพื้นๆจากเว็บไซติกระทรวงต่างประเทศสหรัฐมาให้อ่านกัน

มาตรา 214(b) เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติกล่าวว่า

บุคคลต่างด้าวทุกคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจะเป็นผู้อพยพ จนกว่าผู้นั้นสามารถแสดงให้พอใจแก่เจ้าหน้าที่กงสุล ในเวลาที่ยื่นคำขอเข้าเมือง ว่าบุคคลผู้นั้นสามารถได้รับสถานภาพผู้เข้าเมืองไม่อพยพ

ในอันที่จะมีคุณสมบัติในการออกวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่านักเรียนให้ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรา 101(a)(15)(B) หรือ (F)แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ การไม่สามารถแสดงคุณสมบัติดังกล่าวได้จะทำให้มีเหตุในการปฏิเสธวีซ่าตามมาตรา 214(b) เหตุผลพื้นฐานของการปฏิเสธตามมาตรานี้เกี่ยวกับคุณสมบัติที่ว่านักท่องเที่ยวหรือนักเรียนนักศึกษาผู้นั้นต้องมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งไม่มีเจตนาละทิ้ง ผู้ขอวีซ่าสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของถิ่นที่อยู่นั้นโดยการแสดงความเชื่อมโยงที่บีบบังคับให้ต้องออกจากประเทศสหรัฐเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา กฎหมายกำหนดให้เป็นภาระการพิสูจน์ของผู้ยื่นขอวีซ่า

การเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพมักจะเป็นอุปสรรคขนาดใหญ่แต่การปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรานี้เพิ่งจะแพร่หลายหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหลายๆอย่างในการขอวีซ่าไม่อพยพ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือผู้ขอวีซ่าท่องเที่ยวจะต้องถูกสัมภาษณ์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ การเปลี่ยนแปลงข้อนี้ รวมถึงมาตรการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นทำให้วีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธมากขึ้น ในหลายๆกรณีการปฏิเสธตามมาตรา 214b เกิดจากการที่ผู้ขอวีซ่าไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าจะกลับมายังประเทศแม่ได้ หรืออย่างน้อยที่สุดจะออกจากสหรัฐอเมริกา

เมื่อผู้ขอวีซ่าเป็นคนรักของบุคคลสัญชาติอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลสัญชาติอเมริกันนั้นพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นไปได้อยากที่จะมีการอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยวให้นอกจากว่าผู้ขอจะสามารถแสดง ความเกี่ยวโยงที่แข็งแรง ต่อประเทศแม่ให้ประจักษ์ อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เสียเวลาและทรัพยากร น่าจะเป็นการดีกว่าที่คู่รักจะขอวีซ่า K1 หรือ K3 วีซ่า K1 เป็นวีซ่าชั่วคราวที่ให้คุณอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้เป็นการชั่วคราว แต่เปิดช่องว่างภายใต้ทฤษฎีเจตนามากกว่าหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ถือกรีนการ์ดอเมริกา

more Comments: 04

9th April 2010

To see related information in English please see: 221g.

ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการที่วีซ่าถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา 221 (G ) สำหรับคำร้องขอวีซ่าจากประเทศไทย การปฏิเสธวีซ่าตามมาตรา 221 (G ) ก็คือการปฏิเสธเพื่อขอหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อเจ้าหน้าที่กงสุลตัดสินใจว่าจะออกวีซ่าสหรัฐอเมริกาให้หรือไม่ ( ในการนี้ให้ดูเรื่อง วีซ่าคู่หมั้น K1, K3 หรือ วีซ่าคู่สมรส CR1 ) เจ้าหน้าที่จะทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขอวีซ่าเป็นบุคคลตามที่กล่าวอ้างจริง และจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่มีมูล ( ในกรณีเช่นนี้หมายความว่าต้องเป็นการเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสัมพันธ์ทางครอบครัวกับผู้ร้องสัณชาติอเมริกัน )

คู่รักบางคู่มีความกังวลใจเมื่อได้รับ แบบ 221 (G) และก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ขอวีซ่ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งก็เป็นปัญหาได้ หากว่าผู้ขอวีซ่ามีสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน ) อยู่ต่างจังหวัดและเป็นการยากต่อการเดินทางกลับไป บ่อยครั้งที่เอกสารที่ถูกเรียกจะต้องออกโดยอำเภอที่ผู้ขอวีซ่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับสถานทูตที่จะออก คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมในลักษณะนี้ แต่ก็สามารถเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้ขอวีซ่าชาวไทยที่จะไปนำเอกสารที่จำเป็นนั้นมาให้ได้

การปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 (g) นี้โดยทั่วไปแล้วจะให้เวลาผู้ขอวีซ่า 1 ปีในการหาเอกสารที่ได้รับการร้องขอก่อนที่สถานทูตจะทำการทำลายไฟล์ของคุณ หากไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอนี้ ก็อาจจะทำให้คำร้องขอวีซ่าของคุณถูกยกเลิกและต้องเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งหนึ่ง

เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) อาจจะเป็นการดีที่จะขอความช่วยเหลือจากทนายความด้านกฎหมายคนเข้าเมือง เพื่อป้องกันการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีการจ้างทนายความแล้ว คุณก็ยังคงสามารถถูกปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) ได้ หากว่ามีเอกสารอื่นที่จำเป็นต้องแสดง เจ้าหน้าที่กงสุลมีอำนาจดุลพินิจอย่างกว้างขวางตามอำนาจเด็ดขาดของกงสุล ดังนั้น คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมโดยเจ้าหน้ากงสุลเป็นเรื่องที่คุณต้องให้การตอบรับคำร้องขอนั้นภายในเวลาที่กำหนดให้

more Comments: 04

13th September 2009

An extremely common topic on this blogs involves the US K1 visa. The K1 visa is designed for fiances of American Citizens. This visa allows the foreign fiancee to travel to the United States of America for the express purpose of getting married and adjusting status to lawful  permanent resident. It is a “dual intent” visa meaning that it is non-immigrant, and therefore temporary, but converting to an Immigrant visa is statutorily allowed and in a way somewhat encouraged as K1 visa holders who leave the United States cannot reenter on the same K1 without first obtaining permission to do so, this permission is known as advance parole.

With this in mind, there is another visa related to the K1 fiance visa. This visa is referred to as the K2 visa. A K2 visa is designed for the children of the holder of a K1 visa. It is a “derivative visa,” in that the benefits conferred in the K2 visa are entirely dependent upon the K1 visa holder’s status. For example, if a Thai fiancee has a child and they are each applying for a K1 visa and K2 visa respectively, then if the K1 visa application is denied the K2 application will be summarily denied as well.

The K2 visa is also derivative in that it “piggy backs” on the K1 visa during the adjustment of status process. This means that if the K1 visa holder and the K2 visa holder enter the United States together, then they ought to adjust their status at the same time as the process is likely to be more streamlined.

Those holding a United States K2 visa must abide by the same conditions as one holding a K1 visa. The K2 visa is non-immigrant, but the dual intent doctrine applies (this allows for the visa holder to intend to adjust status upon entry). Further, the K2 is also a single entry visa, so the K2 holder would also need to obtain advance parole before leaving the United States. The derivative nature of the K2 creates a difficult situation if the K1 holder leaves the United States without obtaining advance parole. In this situation, the K2 holder would fall out of status the moment the K1 holder leaves and falls out of status. That being said, unlawful presence generally does not accrue against minor children so the child in the US unlawfully would likely not be barred from later reentering based upon a legal grounds of inadmissibility due to an overstay.

It should also be noted that the K2 beneficiary will need to accompany their parent to the K1 visa interview at the US Embassy in Bangkok. In all likelihood, the Consular officer will not wish to speak with the child, but they will want to physically see them.

more Comments: 04

15th May 2009

US Visas for Immediate Relatives related by Marriage


For those who wish to bring their family to the United States there are options under United States Immigration Law that allow immediate relatives of American Citizens entry into the United States as well as the possibility of permanent residence. At one time, the most common method of bringing a loved one to the United States was by marriage and petitioning for an immediate relative visa to the USA. The application for an Immediate Relative Visa was the I-130.

Congress then passed legislation creating two visa categories, where before there had been only one, for relatives related by marriage. Currently, there is what is known as a CR-1 visa which stands for Conditional Resident Visa. The conditionality of this visa means that the visa is conditioned upon the marriage lasting for two years. The other type of marriage visa is the IR-1 Visa. This visa is a Immediate Relative visa and there are no conditions implied with this visa.

As the legal situation evolved and the backlog of Immigration petitions increased, it became necessary to provide a more expedited visa for spouses of American Citizens. For this reason, legislation creating the K3 visa was enacted.

As recently as 2 months ago, this author advised clients that the K3 was an efficient and expeditious method of bringing a spouse to the USA in comparison to the CR-1 or IR-1 Visas. However, the United States Citizenship and Immigration Service (USCIS) has recently cleared a great deal of its backlog of cases and as a result the processing times for the I-129f petition (the Supplemental petition filed in order to obtain a K3 visa, those seeking a K1 visa will recognize this as the application form for that visa category) are nearly the same as the I-130 petition.

A K3 visa has many advantages and tactical uses, but the speed advantage of the K3 visa has recently been diminished by the faster processing time of the I-130 petitions. The I-130 is currently processing quickly, but the backlog could increase again later, although it does not seem likely. At its inception the K3 visa was being issued as a multiple entry non-immigrant visa with a validity of ten years. However, at the time of this writing, the K3 visa is being issued with a validity of two years. CR-1 Visas conditional period lasts for two years while IR-1 Visas, as mentioned previously, are unconditional

Deciding which category of US marriage visa to use is a decision that should be made after thoughtful study and consultation with the loved one who will be immigrating as well as an attorney should a couple find it necessary to retain one.

(Note: The information contained herein is meant for general use only and is not meant as a commentary on specific situations. This writing should not be used as an alternative for personalized legal advice from a competent attorney. No Lawyer-Client relationship is created between the reader and writer of this piece.)

more Comments: 04

15th March 2009

The CR-1 Visa is one of, if not the, most common US Visa sought for Thai Loved ones seeking to journey to the USA (The K1 Fiance Visa from Thailand is another widely used US Immigration tool from Thailand, please see Fiance Visa Thailand for more details). The reason for this is likely due to the fact that many Thai-American couple’s situation fits the criteria of a CR-1 Visa.

CR-1 stands for “conditional resident 1,” in practical terms this means that a person in the US on a CR-1 Visa has conditional permanent residence. In practical terms, the difference between conditional permanent residence and unconditional permanent residence is that a conditional permanent resident could lose their permanent residence status. A situation in which one might lose their permanent residence would be where a Thai/American married couple obtains a Cr-1 Visa on behalf of the Thai wife. Subsequent to obtaining the CR-1 Visa and entering the US, the couple divorces, but not before they file for a “lift of conditionality.” (A lift of conditions of a CR-1 Visa is generally filed by the American Citizen spouse at the 2 year anniversary of the permanent resident’s entry into the USA) If the lift of conditions has not been granted and the couple has divorced, then the condition upon which the visa was granted has ceased to exist and therefore the visa should be revoked. There are exceptions that allow for a Cr-1 visa to have the conditions lifted without the US Citizen Spouse’s consent (Most notably the violence against women act), but these situations are limited.

An IR1 visa does not have these conditions. In order to apply for this visa, the Thai-American couple must have been married for at least 2 years. If they meet this requirement then after obtaining the visa at the US Embassy in Thailand, then the Thai spouse will enter the US on an Ir-1 Visa which confers unconditional permanent residence from the moment the Thai spouse enters the United States.

The form necessary to obtain a CR-1 Visa is the I-130 petition. It should be filed with the USCIS office having jurisdiction over the area in which the US Citizen spouse resides. One of the reasons why a CR-1 Visa is sought over a K-3 in Thailand Visa is the fact that a K-3 Visa requires Adjustment of Status for a Thai wife. A Thai wife entering on a CR-1 Visa does not need to adjust her status in the USA, only obtain a lift of conditionality.

As with all US Immigration matters it is always wise to obtain the advice of a duly licensed US Immigration Attorney with experience dealing with US Immigration Law. Integrity Legal’s Managing Director is a licensed US Attorney and member of the American Immigration Lawyer’s Association. When seeking licensed a Immigration Lawyer AILA can be an invaluable resource.

more Comments: 04

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.