Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
Posts Tagged ‘K1 วีซ่า’
26th August 2013
กระทรวงมหาดไทยของสหรับฯ ชี้แจงเรื่องการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน
Posted by : admin
จากการเขียน Blog ครั้งก่อนเรื่องข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพสเดียวกันนั้น ขาฯได้พบคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ดังนี้:
Q: คำตัดสินของศาลสูงเรื่องคดี Windsor vs. United States มีผลกระทบต่อกฎหมายคนเข้าเมืองอย่างไร?
A: ศาลสูงตัดสินว่า Section 3 ของ DOMA นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จากนี้ไป สถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงศุลของสหรัฐฯ จะปฎิบัติต่อการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ในวิธีการเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ นอกจากนี้ คู่สมรสเพศเดียวกันที่จะเดินทางเข้าสหรัฐเพื่อ – งาน การศึกษา หรืออื่นๆ – จะขอวีซ่าเหล่านั้นได้เช่นกัน รวมถึงลูกติดของคู่สมรสเพศเดียวกันด้วย
ตามที่เคยสนทนาใน Blog นี้ การที่ศาลลงความเห็นว่า Section 3 ของ DOMA นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ผู้ที่เป็นคนถือสัญชาติอเมริกันสามารถยื่นขอผลประโยชน์ทางการเข้าเมืองให้คู่สมรส (หรือคู่หมั้น) เพศเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐซึ่งรับผิดชอบเรื่องการออกวีซ่า ยังต้องทำการแจ้งข้อมูลเบื้องต้น ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐได้จัดระบบให้สอดคล้องกับการตัดสินของศาลสูงเรียบร้อยแล้ว
Q: ข้ฯต้องอาศัยอยู่ในรัฐที่ออกกฏหมายยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกันหรือไม่เพื่อที่จะขอวีซ่าเข้าเมือง
A: ไม่จำเป็น หากท่านได้จดทะเบียนสมรสในรัฐหรือประเทศที่ยอมรักการจดทะเบียนสมรสของคู่สมรสเพศเดียวกัน ถือว่าทะเบียนสมรสนั้นถูกต้องสำหรับประกอบการยื่นขออนุญาตเข้าเมือง (โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน Website ของ USCIS – ในหัวข้อ – Citizenship and Immigration Services)
เนื่องจากเขตปกครองของสหรัฐที่ยอมรับการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้นมีไม่มาก และมีหลายรัฐที่ห้ามให้มีการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้น จึงมีข้อสงสัยมากมายทั้งในวงของนักกฎหมายและของคู่สมรสเหล่านั้นด้วย ใน Blog ที่ข้าฯ ได้เขียนก่อนหน้านี้ ข้าฯได้ยืนยันแล้วว่าความถูกต้องขึ้นอยุ่กับ “รัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน” นั่นคือ USCIS จะรับรองการยื่นขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพศเดียวกันก็ต่อเมื่อการจดทะเบียนได้จดในรัฐที่ยอมรับการจดทะเบียนประเภทนี้ นอกจากนี้ ดูเหมือนว่ากระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯก็มีนโยบายที่คล้ายกันคือ จะอนุมัติการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ต่อเมื่อ USCIS ได้อนุมัติการเข้าเมืองของคู่ดังกล่าว แต่อาจมี่เขตปกครองบางเขต ที่อาจยอมรับการครองเรือนของคนเพศเดียวกัน แต่อาจไม่ถือเป็นการสมรส ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯกล่าวว่า:
Q: ข้าฯอยู่ร่วมกันกับคูคนเพศเดียวกัน เราจะได้รับสิทธิเหมือนคู่ที่ทำการสมรสหรือไม่
A: ณ. เวลานี้ การขอย้ายถิ่นที่อยู่ จะอนุมัติให้เฉพาะบุคคลที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ถึงแม้คำตอบจะดูชัดเจนแล้ว มีหลายคู่อาจมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคือ:
Q: ข้าฯถือสัญชาติอเมริกันและมี่คู่หมั้นต่างชาติที่เป็นคนเพสเดียวกันกับข้าฯ แต่ไม่สามารถทำการจดทะเบียนสมรสในประเทศของคู่หมั้น เรามีทางเลือกอย่างไรบ้าง? เราสามารถขอ K-Visa (วีซ่าคู่หมั้น) ได้หรือไม่?
A: คุณสามารถยื่น Form I-129f และขอวีซ่าคู่หมั้น (K-1) หากคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของการขอเข้าเมือง การที่เป็นการหมั้นระหว่างคนเพสเดียวกัน อาจอนุมัติให้ใช้เพื่อเข้าไปจดทะเบียนสมรสในสหรัฐฯ หากต้องการขอข้อมูลเรื่องการปรับสถานะ อ่านได้ใน Website ของ USCIS:
ในเมื่อในเวลานี้ คู่สมรสต่างเพศสามารถยื่นขอ K1 วีซ่า ได้ จึงมีความน่าจะเป็นที่คู่หมั้นที่มีเพศเดียวกันน่าจะยื่นขอ US fiance visa ได้เช่นกัน หากมีความตั้งใจที่จะไปจดทะเบียนสมรสในเขตปกครองที่อนุญาตการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน
อีกประเด็นที่อาจมีข้อสงสัยคือการออก Non-immigrant visa (NIV) วีซ่าประเภทนี้ไม่ได้ไม่ได้อนุญาตให้ผู้ถือเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ย้ายเข้าเมือง ทางกระทรวงมหาดไทยได้ให้รายละเอียดดังนี้สำหรับการออก NIV ให้กับคู่สมรสเพศเดียวกันว่า:
Q: คู่ที่เป็นเพศเดียวกันสามารถขอวีซ่าประเภทเดียวกันหรือไม่?
A: ได้ ณ. เวลานี้ คู่สมรสเพศเดียวกันพร้อมลูกสามารถยื่นขอวีซา NIV ได้ คู่ครองเพศเดียวกันและลูก (ถือเป็นลูกเลี้ยงของผู้ยื่นหลัก หากจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์) ก็ สามารถรับสิทธิขอวีซ่า NIV ถ้ากฎหมายอนุมัติวีซ่าให้ แต่เอกสารเพิ่มเติมคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการขอให้คู่สมรสเพศเดียวกัน [italics added]
Q: คู่สมรสต่างชาติของข้าพเจ้ามีบุตร ข้าพเจ้ายื่นคำขอพร้อมกับคู่สมรสได้หรือไม่?
A: ได้ บุตรของคู่สมรสต่างชาติจะถือเป็น”ลูกเลี้ยง” ของผู้ถือสัญชาติอเมริกันจึงสามารถรับสิทธิในกลุ่ม IR2 แต่ต้องจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์
แน่นอน ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ลูกเลี้ยงคนคนถือสัญชาติอเมริกันย้ายเข้าเมืองในกรณีที่ คู่สมรสเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ดังนั้น น่าจะเป็นที่เข้าใจว่าเด็กที่กำลังจะเป็นลูกเลี้ยงของคนถือสัญชาติอเมริกันที่ขอวีซ่าประเภทคู่หมั้นคือ K-2 visa เพื่อทำการสมรสในสหรัฐฯ
หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน
24th August 2013
หลังจากการที่ศาลตัดสินคดี Windsor ที่มีการอ้างว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอพยพเข้าเมืองของสหรัฐ ทาง USCIS และกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ เคยตอบคำถามเรื่องนี้มามากแล้ว และผมเคยปรึกษาหารือเรื่องคำตอบเหล่านี้ ใน Blog นี้มาก่อน แต่กระผมได้สังเกตว่า USCIS ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ใน website ของ USCIS:
Q1: ข้าฯ เป็นพลเมืองของสหรัฐ หรือเป็นผู้อาศัย (Permanent Resident) และมีคู่สมรสของข้าฯ เป็นคนเพศเดียวกันและเป็นคนต่างชาติ ขาฯ สามารถรับรองการขอ VISA ย้ายถิ่นที่อยู่ให้กับคู่ของข้าฯ ได้หรือไม่ ? (ใหม่)
A1: ได้ ท่านสามารถยื่นแบบ Form I-130 (และเอกสารอื่น ๆ) สิทธิในการขอย้ายที่อยู่จะพิจารณาตัดสินตามกฎต่างๆ ของการเข้าเมือง และจะไม่ใช้ความเป็นคู่สมรสเพศเดียวกันมาเป็นตัวแปรในการตัดสิน
นอกจากนี้คนอเมริกันหรือ Permanent Resident สามารถยื่นคำขอ คือ IR 1 Visa, CR 1 Visa หรือตัวเสริมคือ K3 Visa เพื่อให้คู่สมรสเข้าเมือง นอกจากนี้ เมื่อยื่นขอ Visa ที่สถานฑูตหรือสถานกงศุลของสหรัฐฯ การพิจารณาการขอ Visa จะพิจารณาเช่นเดียวกับ การพิจารณาการขอ Visa ของคู่สมรสต่างเพศ
ประเด็นที่หลายคู่สงสัย คือ ข้อแตกต่างระหว่างรัฐที่อาศัยอยู่กับรัฐที่จดทะเบียยนสมรส เพราะมีไม่กี่รัฐที่อนุญาติให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ในขณะที่บางรัฐไม่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และอาจะไม่อนุญาติให้จดทะเบียน USICS ได้อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้:
Q3: ข้าฯ และคู่สมรสได้จดทะเบียนในรัฐ ในสหรัฐฯ หรือในประเทศที่ยอมรับ การสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน แต่เราอาศัยในรัฐที่ไม่อนุญาติให้จดทะเบียนสมรส ข้าฯ สามารภยื่นขอให้คู่ครองย้ายเข้าเมืองได้หรือไม่
A3: ได้เพราะ สถานภาพการสมรส จะพิจารณาจากรัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน หากกฎหมายของรัฐนั้นอนุญาตให้ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วใช้ในการประกอบการพิจารณา การขอย้ายเข้าเมืองได้
อาจมีบางกรณีที่จะมีผลทำให้ กฎหมายของที่อาศัยมีผลต่อบางประเด็น แต่โดยรวมแล้ว ทาง USCIS จะนำกฎหมายของรัฐที่คู่สมรสได้ดำเนินการจดทะเบียน มาใช้ในการพิจารณาการขอย้ายถิ่นที่อยู่
นอกจากนี้ ข้าฯ ก็ไม่เคยได้ยินว่า Section 2 ของ DOMA จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดูด้จากคำอธิบายต่อไปนี้:
Q5: Form I-130 หรือคำขออื่นๆได้ถูกปฎิเสธโดยอ้างกฎของ DOMA เพียงอย่างเดียว ข้าฯ ควรทำอย่างไรต่อ?
A5: USCIS จะนำคำขอที่ถูกปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3 มาพิจารณาอีกรอบ ถ้าหากมีข้อมูลเรื่องธุรกรรมเหล่านี้ USCIS จะนำคำตัดสินมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งจะปฎิบัติเช่นนี้กับทุกกรณีที่ได้รับการปฎิเสธ ใน Form I-130 (เช่น Form I-485 ที่นำยื่นในเวลาเดียวกัน)
- USCIS จะนำ Form I-130 ที่ได้รับการปฎิเสธเนื่องจาก DOMA Section 3 หลัง 23 กพ. 2011 มาพิจารณาอีกรอบ และ USCIS จะติดต่อไปยังผู้ยื่นคำขอโดยใช้ที่อยู่ในใบคำขอ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- หากคุณได้มีคำขอที่ได้รับการปฎิเสธ เนื่องด้วย กรณีดังกล่าวข้างต้น คุณสามารถส่ง email ส่วนตัว (ที่สามารถรับคำตอบได้) ไปยัง USCIS <[email protected]> เพื่อแจ้งการร้องเรียน ทาง USCIS จะตอบอีเมล์แล้วขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- ถ้าหากการปฎิเสธ คำขอ I-130 เกิดขึ้นก่อน 23 กพ. 2011 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2014 เพื่อให้ USCIS ดำเนินการเปิด I-130 ของคุณ กรุณาแจ้งจำนงไปยัง < [email protected] > โดยเขียนว่า ทางคุณมีข้อสงสัยว่า การยื่นคำขอของคุณได้รับการปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3
พอทางการเริ่มพิจารณา I-130 ของท่าน จะเสมือนเป็นการพิจารณาใหม่โดยไม่คำนึงถึง DOMA Section 3 แล้วจะพิจารณาตามข้อมูลเก่า และข้อมูลเพิ่มเติม ในเวลาเดียวกัน USCIS จะนำคำขออื่นๆ มาพิจารณาตามความจำเป็น หากคำขอเหล่านั้น ถูกปฎิเสธ เนื่องจากการปฎิเสธ I-130 (เช่น Form I-485 เป็นต้น)
นอกจากนี้การขออนุญาติทำงานที่ถูกปฎิเสธเนื่องจากการปฎิเสธ Form I-48S ก็จะนำมาพิจารณาต่อ และจะออกใบอนุญาติทำงานหากอนุมัติ หากการตัดสินเกิดการล่าช้า USCIS จะ (1) ยื่นเรื่องใหม่ทันที หรือ (2) พิจารณาและอนุมัติคำขอที่เคยถูกปฎิเสธ
- หากมี form อื่นๆ (นอกจาก I-130) ที่ได้รับการปฎิเสธเรื่องจาก DOMA section 3 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2013 โดยส่ง email ไปยัง <[email protected]>
จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการร้องขอให้ USCIS นำคำขอมาพิจารณาใหม่ แต่หากท่านต้องการยื่นคำขอใหม่ ท่านสามารถทำได้พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม ตามที่แจ้งได้
USCIS จะดำเนินธุรกรรมตามกฎและนโยบายของศาลสูง ซึ่งการนำใบสมัครของคู่สมรสที่มีเพศเดียวกันมาพิจารณาอีกรอบ ชี้ให้เห็นว่า ทางองค์กรมุ่งที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมของครอบครัวทุกประเภท
หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน
23rd September 2010
การตัดสินใจว่าจ้างบริษัทกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน
Posted by : admin
ผู้เขียนพบปัญหามากมายจากการที่คนเข้าเมืองติดต่อกับตัวแทนหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการบริการคนเข้าเมืองสหรัฐอเริกาที่ไม่ได้รับอนุญาต กฎหมายอเมริกันและกฎเกณฑ์ของรัฐบาลกลางนั้นระบุชัดเจนว่า ผู้ที่จะได้รับอนุญาตในการให้บริการทางกฎหมายก่อนที่จะมาถึงขั้นตอนของการบริการพลเมืองอเมริกันและการเข้าเมือง (USCIS) หรือตัวแทนอื่นที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) ผู้ที่จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาคือ ทนายความที่ได้รับอนุญาตจากสหรัฐอเมริกาเท่านั้น นอกจากนี้ทนายความเหล่านั้นที่จะมีสิทธิเก็บค่าธรรมเนียมในฐานะเป็นตัวแทนของลูกความก่อนที่จะถึงขั้นตอนของDHS เช่น USCISต้องเป็นทนายความที่ได้รับอนุญาตจากศาลสูงสุดของที่ใดที่หนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐ หรือเขตชายแดน
เป็นที่น่าเสียดายที่มีองค์กรที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ทั่วโลกที่อ้างว่าสามารถให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเข้าเมืองของอเมริกัน อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ดียิ่งที่จะค้นหาข้อมูลการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา ในขณะเดียวกันอินเตอร์เน็ตก็เป็นแหล่งของปฏิบัติการที่มีการอ้างว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายโดยปราศจากการอบรมหรือใบอนุญาตใดๆ คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลและสิทธิส่วนบุคคลเนื่องจากคุณอาจจะไม่ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายระหว่างทนายความอเมริกันและลูกความ
ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมทางกฎหมายหรือไม่มีใบอนุญาตใดๆที่จะให้บริการทางกฎหมายในเขตที่ให้อำนาจหรือในเรื่องที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือให้ความมั่นใจในการช่วยเหลือ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญในการเตรียมข้อมูลก่อนที่จะนำไปสู่ขั้นตอนของการบริการคนเข้าเมือง ตัวแทน สถานทูตสหรัฐอเมริกา หรือสถานกงสุลสหรัฐอเมริกาในต่างประเทศ ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ลูกความที่ใช้บริการทางกฎหมายที่ไม่ได้รับอนุญาตโดยที่ผู้ให้บริการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่านั้นย่อมตกอยู่ในความเสี่ยง
เมื่อเปรียบเทียบราคาของการบริการทางกฎหมายนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจกับบทบาทของการได้รับอนุญาตในขณะที่ตัดสินใจจะรับคำปรึกษา การให้บริการทางกฎหมายที่ได้รับอนุญาตด้วยราคาที่สมเหตุสมผลที่ได้รับอนุญาตนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดปัญหาแก่ลูกความ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่อ้างว่ามีความเชี่ยวชาญจะดำเนินการเพื่อความมั่งคั่งของธุรกิจ เมื่อเปรียบเทียบกับการให้บริการทางกฎหมายของทนายความอเมริกันแล้ว กฎหมายอเมริกันนั้นไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าเมือง กล่าวโดยย่อแล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถเปรียบเทียบการให้บริการทางกฎหมายที่ผิดกฎหมาย เพราะการให้บริการที่ผิดกฎหมายนั้นไม่สามารถจะให้บริการได้เลย แม้จะด้วยราคาเท่าใดก็ตาม
หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาปรึกษาK1 วีซ่า ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โปรดดูรายละเอียดที่ USCIS
17th June 2010
`ระเบียบการขอหนังสือเดินทางและการแจ้งเกิดนอกราชอาณาจักรของบุคคลแปลงเพศ
Posted by : admin
To see this post in English please see: LGBT immigration
ประเด็นที่มีการถกเถียงบ่อยๆบนบอร์ดนี้คือ สิทธิตามกฎหมายคนเข้าเมืองของ เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และ บุคคลแปลงเพศ ไม่นานมานี้กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาประกาศระเบียบปฏิบัติใหม่ที่จะนำมาปรับใช้แก่ผู้ที่ต้องการขอมีหนังสือเดินแทนและแจ้งเกิดนอกราชอาณาจักร เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนเพศ ด้านล่างคือข้อความที่ตัดทอนมาโดยตรงจากประกาศ
กระทรวงต่างประเทศสหรํฐมีความยินดีในโอกาสเดือนแห่งศักดิ์ศรีชาวเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล บุคคลแปลงเพศ ที่จะประกาศระเบียบนโยบายใหม่เกี่นวกับการเปลี่ยนเพศในหนังสือเดินทางและการแจ้งเกิดนอกราชอาณาจักร เริ่มตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน เมื่อผู้ขอหนังสือเดินทางแสดงใบรับรองการผ่านการวินิจฉัยของแพทย์ว่าเป็นผู้ที่แปลงเพศโดยถูกต้องทางการแพทย์ หนังสือเดินทางใหม่จะออกให้ตามเพศใหม่ ระเบียบนี้รวมถึงรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องมีในใบรับรอง มีความเป็นไปได้ที่จะขอหนังสือเดินทางที่มีกำหนดอายุหากว่ารายงานของแพทย์แสดงว่าผู้ขอหนังสือเดินทางอยู่ในระหว่างกระบวนการแปลงเพศ ไม่ต้องใช้บันทึกการรักษาพยาบาล การผ่าตัดแปลงเพศไม่จำเป็นต้องมีขึ้นก่อนการออกหนังสือเดินทาง การแจ้งเกิดนอกราชอาณาจักรยังสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามเพศใหม่ เช่นเดียวกับผู้ขอหนังสือเดินทางคนอื่นๆ เจ้าหน้าที่ออกหนังสือเดินทาง ณ สถานทูต และกงสุลในต่างประเทศ และ ตัวแทนและศูนย์ออกหนังสือเดินทางในประเทศจะถามคำถามที่จำเป็นเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับสัญชาติและลักษณะจำเพาะบุคคล
นโยบายและวิธีปฏิบัติใหม่นี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานและการปนะนำของ องค์กรสุขอนามัยบุคคลแปลงเพศโลก (WPATH) รับรองโดยแพทย์สภาอเมริกันให้เป็นผู้มีอำนาจในเรื่องนี้
ถึงแม้ว่าประกาศนี้จะทำให้เกิดวินาทีแปลงโฉมของสิทธิผู้แปลงเพศ ยังคงมีหลายๆคนที่รู้สึกเครียดกับปัญหาในการขอวีซ่าเข้าอเมริกาให้แก่คู่รักที่มีความสัมพันธ์แบบรักร่วมเพศโดยถูกต้อง ในปัจจุบัน กฎหมายเช่น พระราชบัญญัติเพื่อการสมรส ( DOMA) ยังไม่มีผลประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองสำหรับคู่สมรสร่วมเพศต่างสัญชาติ ในขณะที่บุคคลเพศเดียวกันได้รับผลประโยชน์ตามกฎหมายคนเข้าเมืองทั้งที่สมรสภายใต้เงื่อนไขเดียวกับคู่สมรสเพศเดียวกัน หลายคนรู้สึกว่าความแตกต่างนี้ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามประเด็นนี้ยังไม่ได้มีการวิเคาระห์ในศาลอเมริกัน
มีนักนิติบัญญัติอเมริกันบางท่านที่พยายามผลักดันร่างกฎหมายเพื่อยุติความไม่เท่าเทียมกันนี้ เช่นพระราชบัญญัติรวมครอบครัว หลายคนหวังว่า การปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุมจะรวมเอาข้อบัญญัติเกี่ยวกับสิทธอทางวีซ่าของคู่รักเพศเดียวกันต่างสัญชาติเข้าไปด้วย
4th June 2010
จากปากของเด็กๆ : กฎหมายคนเข้าเมืองและผลกระทบต่อครอบครัวลูกผสม
Posted by : admin
To view this post in English please see: US Immigration.
กระทู้นี้จะพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองของสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนต้องยอมรับว่าไม่ได้พูดถึงแง่คิดด้านปุถุชนปกติเกี่ยวกับกระบวนการคนเข้าเมืองและวีซ่า ขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ก็มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งของกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นผ่านกระบวนการปฏิรุปกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติ และกฎหมายอื่นๆให้ครอบคลุมเหตุผลในการปฏิรูปก็ต่างกันไปตามแต่ปัจเจกบุคคลหรือองค์การ นั่นหมายความว่า ข้อความที่ตัดทอนมาจากข่าวในเว็บไซต์ยะฮู ด้านล่างนี้ชี้ชัดในแง่มุมของปุถุชนเดกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิรุปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม
เดซี่ คูวาส์ อายุเจ็ดขวบตื่นเต้นเมื่อเห็นตัวเองอยู่บนจอทีวีกับสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชลล์ โอบามา โดยที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ที่ยากลำบากที่เธอทำให้พ่อแม่ชาวเปรูที่อยู่โดยผิดกฎหมายต้องประสบ “เธอหัวเราะ กระโดดขึ้นลง เธอตื่นเต้น” หลังจากการพบกันโดยบังเอิญที่โรงเรียนประถมของเดซี่ที่วอชิงตันดีซี คุณตาของเด็กน้อย เจนาโร จุยกา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า การออกที่วีทำให้เด็กสาว ป 2 ตัวน้อยกลายเป็นกระบอกเสียงของผู้อพยพที่อยู่โดยผิดกฎหมายในสหรัฐอีกกว่าสิบสองล้านคน และเป็นหน้าเป็นตาให้แก่ประธานาธิปดีเปรูที่ได้มาเยือนวอชิงตันเมื่อวันอังคาร “แม่หนูบอกว่า บารัค โอบามา จะไล่ทุกคนที่ไม่มีเอกสารออกไปให้หมด” เดซี่บอกแก่สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่โรงเรียนประถมเคหะนิวแฮมเชียร์ ในซิลเวอร์สปริง แมรี่แลนด์ “อืม บางทีเราอาจจะต้องทำอะไรซักอย่าง เพื่อให้คนสามารถอยู่ที่นี่ได้โดยมีเอกสารที่ถูกต้องนะจ๊ะ” มิเชลล์ โอบามา ตอบ “แต่ว่าแม่หนูไม่มีเอกสาร” เดซี่ ผู้ซึ่งเป็นอเมริกันโดยกำเนิดตอบ แม่ของเธอหน้าถอดสีทันที เธอร้องไห้และวิ่งไปโทรหาพ่อแม่ในลิมา และก็รีบไปหลบเนื่องจากกลัวว่าจะถูกส่งตัวกลับ มีช่วงเวลาตึงเครียดสำหรับคนที่เป็นเหมือนแม่ของเดซี่ แม่บ้านที่มาสหรัฐกับสามีช่างไม้ของเธอตอนที่ท้องเดซี่ได้สองเดือน พ่อแม่ของเดซี่กลัวมาตรการคนเข้าเมืองของสหรัฐ ซึ่งสำหรับคนละตินอเมริกันมีให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างโดยกฎหมายอริโซนาที่มีผลบังคับใช้เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา ให้สิทธิตำรวจในการเรียกขอดูเอกสารประจำตัวบุคคลต้องสงสัยว่าเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายได้ กระทรวงความมั่นคงของสหรัฐได้รับปากว่าจะไม่ไล่ล่าพ่อแม่ของเดซี่ การสืบสวนคนเข้าเมือง กล่าวไว้ว่า “เพื่อให้แน่ใจว่ากฎหมายได้รับการปฏิบัติตามไม่ใช่ตามการถามตอบในห้องเรียน” อย่างไรก็ตามแม่ของเดซีได้ขอร้องต่อผู้สื่อข่าวไม่ให้เปิดเผยชื่อเธอและสามีในเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม
หลายๆคนหวังว่า “หนทางไปสู่การมีสัญชาติ” ของคนต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารในอเมริการ นั้นจะสามารถมีผลได้ผ่านการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองเท่านั้น มีอีกหลายๆคนที่รู้สึกว่าไม่นานมานี้ร่างกฎหมายปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุมที่เพิ่งเสนอไปนั้นยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขความไม่เท่าเทียมที่มีให้เห็นในกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน เสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปต่อไปนั่นสังเกตเห็นได้จากการเคลื่อนไหวด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของกลุ่มรักร่วมเพศ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และบุคคลแปลงเพศ
หวังว่าเราจะได้เห็นโฉมหน้าการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองเร็วๆนี้ แต่ในขณะเดียวกัยเราอาจจะเรียนรู้บางอย่างได้จากเหตุการณ์นี้เนื่องจากแสดงให้เห็นว่า แม้แต่เด็กก้อมองเห็น “ ช่องว่างของความเท่าเทียมกัน “ ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีอยู่ในกฎหมายคนเข้าเมืองของอเมริกา
For related information in English please see: US Visa Thailand. For information in Thai please see: K1 วีซ่า.
31st May 2010
For the original posting in English please see: US Visa Thailand
สำหรับคนอ่านกระทู้ของผู้เขียนบ่อยๆ อาจจะเข้าใจหลักพื้นฐานของสิทธิทางด้านคนเข้าเมืองของบุคคลที่นิยมเพศเดียวกัน ( Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender ) กฎหมายคนเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎเกณฑ์ปัจจุบัน รวมถึงพระราชบัญญัติปกป้องสิทธิทางการสมรส กำหนดว่าคู่สมรสเพศเดียวกันที่มีสองสัญชาติถูกห้ามไม่ให้รับสิทธิตามกฎหมายคนเข้าเมืองอิงถึงการสมรสเพศเดียวกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่รักตามกฎหมาย หรือ คู่สมรสโดยไม่จดทะเบียน นั่นหมายความว่า ในปีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่น เจอรี่ แนดเลอร์ ได้เสนอกฎหมายที่รู้จักกันในชื่อ พระราชบัญญัติการรวมครอบครัวอเมริกัน หรือ UAFA ซึ่งกำหนดวิธีการขอรับประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองสำหรับคู่รักถาวรที่มีเพศเดียวกัน ในกระทู้ก่อนๆ ผู้เขียนได้พูดเรื่องการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม และ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองของอเมริกา ที่อาจจะมีหรือไม่มี ในเรื่องที่อนุญาติให้คู่รักเพศเดียวกันที่มีสัญชาติต่างกัน ขอรับผลประโยชน์ตามกฎหมายคนเข้าเมืองตามหลักของครอบครัวได้ ในกระทู้ก่อนเราพูดถึงร่างกฎหมายปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองที่เสนอโดยสมาชิกสภารัฐอิลลินอยส์ ลูอิส กุทเทอเรส และ ร่างที่ว่าไม่ได้รวมถึงผลประโยชน์ด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของบุคคลเพศเดียวกัน หมายเหตุ บทความข้างล่างตัดมาจาก WashingtonBlade.com:
สมาชิกสภาผู้ทรงอิทธิพลหัวก้าวหน้าด้านกฎหมายคนเข้าเมืองได้แนบรวมข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปกป้องคู่รักที่มีสัญชาติต่างกันประเภท เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และบุคคลแปลงเพศ เป็นส่วนหนึ่งของร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม จากปฐากฐาเมื่อวันพฤหัส สมาชิกสภา ลูอิส กุทเทอเรส (รัฐอิลลินอยส์) ได้กล่าวสรุปได้ว่าร่างพรบ.ปฏิรูปนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอนุญาติให้คนอเมริกันสามารถสนับสนุนการมีถิ่นฐานในสหรัฐให้แก่คู่รักร่วมเพศของตนได้ “ความพยายามในการที่จะแก้ไขระบบกฎหมายคนเข้าเมืองที่แตกร้าวและปกป้องสิทธิพื้นฐานจะไม่เป็นการครอบคลุมกาดว่าเราไม่รวมเอาคู่รักเพศเดียวกันเข้าไปด้วย” เขากล่าวว่าการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้จะทำให้คู่รักร่วมเพศราวๆ 36,000 คู่ได้อยู่ด้วยกันในสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่าร่างพระราชบัญญัติรวมครอบครัวอเมริกัน ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มองหาการรวมรวมพระราชบัญญัติเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองในสภาคองเกรส กุทเทอเรสมีนัดประกาศการสนับสนุนอย่างเป็นทางการของเขาในวันจันทร์ในงานแถลงข่าวที่ชิคาโก อิลลินอยส์ ร่วมกับสมาชิกฯ ไมค์ คลิกลีย์ และ สมาชิกสภาเกย์ จาเร็ด โปลิส ( โคโลราโด) ซึ่งสนับสนุนการรวบรวมคู่รักร่วมเพศเข้าไปในการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมือง ปลายปีที่แล้ว กุทเทอเรสเสนอร่างฉบับของเขาซึ่งเป็นทางเลืกของร่างพรบ.ที่กำลังปฏิบัติกันในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามแม้ว่ากุทเทอเรสจะเป็นผู้สนับสนุนร่วมในหการยกร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายก็ไม่ได้รวมเรื่องของคู่รักร่วมเพศไว้ดังที่กล่าว จากคำบอกเล่าของคนในสำนักงานของกุทเทอเรส กล่าวว่า การประกาศครั้งล่าสุดของนักนิติบัญญัติผู้นี้เป็นการยืนยันการรวมเอาสิทธิคู่รักร่วมเพศไว้ในการปฏิรูปที่ครอบคลุม
ในกระทู้ก่อนๆซึ่งพูดถึงการเสนอร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม ผู้เขียนพบว่า โชคไม่ดีที่ประเด็นการเข้าเมืองของคู่รักร่วมเพศไม่ได้มีการพูดถึงในตัวร่าง นั่นหมายความว่าอย่างไรก็ดีผู้เขียนก็ยังดีในที่ประเด็นนี้ได้ถูกนำมาพูดถึงในเรื่องของการปฏิรูป และหากว่าประเด็นป่านก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองกลางครั้งใหญ่ในอย่างน้อยที่สุด 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้การที่มันถูกหยิบยกมาพูกถึงก็เหมือนเป็นสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้ว่ากฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกันจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สิทธิแก่คู่รักที่ในขณะเวลาที่กำลังเขียนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ในสหรัฐอเมริกาเช่นคู่รักต่างเพศ
28th May 2010
วีซ่าคู่หมั้น K 1 และวีซ่าท่องเที่ยว : สำคัญก็ที่เจตนา
Posted by : admin
คำถามที่ถามกันมากสำหรับคนที่ตั้งใจว่าจะพาคนรักจากประเทศไทยไปอเมริกาก็มักจะเกี่ยวกับว่า เป็นไปได้ไหมที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพฯ แก่นของปัญหาการขอวีซ่าท่องเที่ยวก็คือการที่ผู้ขอไม่สามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพของเจ้าหน้าที่กงสุลได้
วีซ่าท่องเที่ยวกับเจตนาอพยพ
ภายใต้มาตรา 214 (b) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลประจำสถานทูตจำต้องสันนิษบานไว้ก่อนว่าผู้ขอวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดมีเจตนาอพยพ ในอันที่ผู้ขอวีซ่าจะเอาชนะข้อสัณนิษฐานดังกล่าว เขาจะต้องแสดงหลักฐานว่าเหตุผลมีน้ำหนักพอที่จะกลับมายังประเทศไทยหลังจากไปสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังฐานเหล่านั้นก็ได้แก่ สัญญาจ้างงานในประเทศไทยด้วยเงินเดือนสูงๆ ( เงินเดือนในตัวของมันเองนั้นไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเจ้าหน้าที่กงสุลซักเท่าไร แต่มันเนื่องมาจากเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งงานเงินเดือนสูงๆไปเป็นแน่ต่างหาก ) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่เหนียวแน่นในประเทศไทย และ การลงทุนในประเทศไทยที่ยากจะละทิ้งไป ( อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ) นี่ไม่ใช่ทั้งหมดแต่เพียงให้คุณเห็นภาพว่าเจ้าหน้าที่กงสุลอยากจะเห็นอะไรตอนที่ต้องพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าสามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพได้หรือไม่
แฟนหรือสามีชาวอเมริกัน เป็นเหมือน “ยาพิษ” สำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือปล่าว?
บางคนเชื่อว่าการมีคู่ครองเป็นชาวอเมริกันนั้นถือเป็นการปฏิเสธวีซ่าท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ถ้าผุ้ขอวีซ่าชาวไทยมีคนรักชาวอเมริกัน ผู้ขอวีซ่าก็ยังต้องเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพอยู่ดีนั่นเอง ความต่างของการมีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่มันขึ้นอยู่กับว่าคู่รักนั้นๆตั้งใจจะใช้วีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางสะดวกในการอพยพไปสหรัฐอเมริกาโดยวิธีการขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไปเปลี่ยนสถานภาพเป็นกรีนการ์ดหรือไม่ เรียกง่ายๆก็คือคู่รักจะต้องแสดงให้เห็นว่าใช้วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลที่แท้จริงของมัน ซึ่งก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวนั่นเอง
ถ้าวีซ่า K 1 เป็นวีซ่าชั่วคราว แล้วทำไมคู่หมั้นชาวไทยยังอยู่ในอเมริกาได้ล่ะ?
ในมุมหนึ่งวีซ่า K 1 เป็นส่วนผสมของวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวร วีซ่าตัวนี้อนุญาตให้คู่หมั้นชาวไทยเข้าอเมริกาได้ 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันและปรับเปลี่ยนสถานภาพเพื่อให้คงพักอาศัยในสหรับอเมริกาได้ วีซ่าชนิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้โอกาสคู่รักได้ดูว่าการแต่งงานจะไปรอดหรือไม่และหากว่าไปรอดก็ให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเสีย ดังนั้นวีซ่าตัวนี้จึงเป็นวีซ่าชั่วคราวเพราะว่ามันมีวันหมดอายุ แต่หากว่าผู้ถือวีซ่า K 1 ทำตามเงื่อนไขวีซ่าและตัดสินใจที่จะแต่งงานในสหรัฐอเมริกา เขาหรือเธอก็สามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อได้โดยมีความยุ่งยากทางกฎหมายเพียงน้อยนิด
โปรดจำไว้ว่าข้อความข้างต้นไม่ทำให้เกิดสิทธิความสัมพันธ์ระหว่างทนายและลูกความ และไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำทางกฎหมายส่วนตัวจากทนายความมีใบอนุญาติแต่อย่างใด
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.