blog-hdr.gif

Integrity Legal

Archive for the ‘สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย’ Category

28th May 2010

คำถามที่ถามกันมากสำหรับคนที่ตั้งใจว่าจะพาคนรักจากประเทศไทยไปอเมริกาก็มักจะเกี่ยวกับว่า เป็นไปได้ไหมที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพฯ แก่นของปัญหาการขอวีซ่าท่องเที่ยวก็คือการที่ผู้ขอไม่สามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพของเจ้าหน้าที่กงสุลได้

วีซ่าท่องเที่ยวกับเจตนาอพยพ

ภายใต้มาตรา 214 (b) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลประจำสถานทูตจำต้องสันนิษบานไว้ก่อนว่าผู้ขอวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดมีเจตนาอพยพ ในอันที่ผู้ขอวีซ่าจะเอาชนะข้อสัณนิษฐานดังกล่าว เขาจะต้องแสดงหลักฐานว่าเหตุผลมีน้ำหนักพอที่จะกลับมายังประเทศไทยหลังจากไปสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังฐานเหล่านั้นก็ได้แก่ สัญญาจ้างงานในประเทศไทยด้วยเงินเดือนสูงๆ ( เงินเดือนในตัวของมันเองนั้นไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเจ้าหน้าที่กงสุลซักเท่าไร แต่มันเนื่องมาจากเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งงานเงินเดือนสูงๆไปเป็นแน่ต่างหาก ) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่เหนียวแน่นในประเทศไทย และ การลงทุนในประเทศไทยที่ยากจะละทิ้งไป ( อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ) นี่ไม่ใช่ทั้งหมดแต่เพียงให้คุณเห็นภาพว่าเจ้าหน้าที่กงสุลอยากจะเห็นอะไรตอนที่ต้องพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าสามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพได้หรือไม่

แฟนหรือสามีชาวอเมริกัน เป็นเหมือน “ยาพิษ” สำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือปล่าว?

บางคนเชื่อว่าการมีคู่ครองเป็นชาวอเมริกันนั้นถือเป็นการปฏิเสธวีซ่าท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ถ้าผุ้ขอวีซ่าชาวไทยมีคนรักชาวอเมริกัน ผู้ขอวีซ่าก็ยังต้องเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพอยู่ดีนั่นเอง ความต่างของการมีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่มันขึ้นอยู่กับว่าคู่รักนั้นๆตั้งใจจะใช้วีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางสะดวกในการอพยพไปสหรัฐอเมริกาโดยวิธีการขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไปเปลี่ยนสถานภาพเป็นกรีนการ์ดหรือไม่ เรียกง่ายๆก็คือคู่รักจะต้องแสดงให้เห็นว่าใช้วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลที่แท้จริงของมัน ซึ่งก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวนั่นเอง

ถ้าวีซ่า K 1 เป็นวีซ่าชั่วคราว แล้วทำไมคู่หมั้นชาวไทยยังอยู่ในอเมริกาได้ล่ะ?

ในมุมหนึ่งวีซ่า K 1 เป็นส่วนผสมของวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวร วีซ่าตัวนี้อนุญาตให้คู่หมั้นชาวไทยเข้าอเมริกาได้ 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันและปรับเปลี่ยนสถานภาพเพื่อให้คงพักอาศัยในสหรับอเมริกาได้ วีซ่าชนิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้โอกาสคู่รักได้ดูว่าการแต่งงานจะไปรอดหรือไม่และหากว่าไปรอดก็ให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเสีย ดังนั้นวีซ่าตัวนี้จึงเป็นวีซ่าชั่วคราวเพราะว่ามันมีวันหมดอายุ แต่หากว่าผู้ถือวีซ่า K 1 ทำตามเงื่อนไขวีซ่าและตัดสินใจที่จะแต่งงานในสหรัฐอเมริกา เขาหรือเธอก็สามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อได้โดยมีความยุ่งยากทางกฎหมายเพียงน้อยนิด

โปรดจำไว้ว่าข้อความข้างต้นไม่ทำให้เกิดสิทธิความสัมพันธ์ระหว่างทนายและลูกความ และไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำทางกฎหมายส่วนตัวจากทนายความมีใบอนุญาติแต่อย่างใด

K1 วีซ่า & K1

more Comments: 04

21st May 2010

To see this information in English please see: US visa denial

อย่างที่ผู้เขียนได้เคยพูดไว้ในกระทู้ก่อนๆ เหตุผลหลักๆที่ทำให้วีซ่าอเมริกาถูกปฏิเสธขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ ในเคสนั้นๆ เหตุหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่กงสุลพบว่าผู้ขอวีซ่าทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม ( CIMT ) นั่นหมายความว่า บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยว่าความผิดที่ผู้ขอวีซ่ากระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมหรือไม่ คู่มือทางกิจการต่างประเทศกล่าวถึงลักษณะของความผิดที่เป็นความผิดเกี่ยวกับศีลธรรมเอาไว้ ด้านล่างคือข้อความบางส่วนที่ตัดตอนมา

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-1 ความผิดต่อทรัพย์สิน

( CT. VISA-1318;09-24-2009 )

เอ. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับศีลธรรมอันเป็นความผิดต่อทรัพย์สินได้แก่ ฉ้อโกง การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถือเป็นความผิดต่อศีลธรรมไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อบุคคลหรือความผิดต่อแผ่นดิน ความผิดฐานฉ้อโกง โดยทั่วไป

เกี่ยวกับ

(1) ทำให้บุคคลอื่นหลงเข้าใจผิด

(2) รู้ถึงข้อความที่หลอกลวงซึ่งทำขึ้นโดยตัวผู้ก่อการ

(3) เชื่อถือในสิ่งที่แสดงให้เข้าใจผิดโดยบุคคลที่ถูกหลอก

(4) เจตนาหลอกลวง และ

(5) การกระทำการฉ้อโกง

ความผิดต่อทรัพย์สินไม่เพียงเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องด้วยศีลธรรมชนิดเดียวแต่ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือเป็นความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับศีลธรรมด้วย

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-2 ความผิดต่อการเจ้าหน้าที่รัฐ

( CT: VISA-1318; 09-24-2009 )

เอ. ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ากับนิยามความผิดทางศีลธรรมได้แก่:

(1) การติดสินบน

(2) ปลอมเอกสาร

(3) ฉ้อโกงกรมสรรพากร หรือหน่วยงานราชการอื่น

(4) ฉ้อฉลทางเอกสาร

(5) ให้การเท็จ

(6) ให้ที่พักพิงแก่ผู้ร้ายหลบหนี ( โดยทราบความผิด ) และ

(7) เลี่ยงภาษี ( โดยมีเจตนา )

คู่มือทางกิจการต่างประเทศได้กล่าวถึงกิจกรรมอีกหลายๆลักษณะที่อาจไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาเรื่องในการตัดสินข้อเท็จจริงของคดีและตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องกับศีลธรรมหรือไม่ หากว่าได้กระทำความผิดจริง ก็จะต้องถูกปฏิเสธวีซ่า  ภายใต้ทฤษฎีอำนาจที่ห้ามตรวจสอบของกงสุล ( รู้จักกันในชื่อ อำนาจเด็ดขาดของกงสุล ) คำตัดสินนี้ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถแก้ไขปัญหาวีซ่าถูกปฏิเสธได้โดยยื่นขออภัยโทษแบบ I-601

เพื่อประโยชน์ของบางคน มีคำพิพากษาของ ศาลภาค กล่าวว่า

“คำสั่งส่งตัวออกนอกสหรัฐอเมริกาที่มีต่อ ผู้ร้อง อาร์มานโด อัลวาเรซ เรย์นากาเนื่องจากกระทำความผิดอาญาฐานรับยานพาหนะที่ขโมยมา มีความผิดตามมาตรา 496d(a) ตามประมวลกฎหมายอาญาแคลิฟอร์เนีย คำร้องของเขาขอให้พิจาณาใหม่ว่าความผิดทางอาชญากรรมที่กระทำลงนั้น เป็นความผิดตามศีลธรรมหรือไม่ เราสรุปได้ว่าเป็นความผิดฐานอาชญากรรมแต่ไม่ใช่อาชญากรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เราปฏิเสธคำร้องขอพิจารณาใหม่”

เมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป นิยามของความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมและกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของความผิดอาญาทางศีลธรรมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับวีซ่าอเมริกาจากประเทศไทย โปรดดู วีซ่าอเมริกาประเทศไทย

more Comments: 04

19th May 2010

To see this information in English please see: US Embassy Thailand.

ข้อความด้านล่างมาจากเว็บไซต์สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

ประกาศสำคัญ

แผนกกงสุล สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ ปิดทำการตั้งแต่วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553

เนื่องจากความจำเป็นด้านความปลอดภัย และการไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่ถนนวิทยุได้ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ มีเพียงพนักงานที่เข้ามาปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น และแผนกวีซ่าชั่วคราวจะปิดทำการตลอดทั้งสัปดาห์นี้ โดยตั้งแต่วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553 หากท่านมีนัดสัมภาษณ์วีซ่าชั่วคราวในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม 2553 ท่านจะได้รับการเลื่อนวันนัดสัมภาษณ์ใหม่เนื่องจากสถานการณ์ด้านความปลอดภัยภายในบริเวณใกล้สถานทูตฯ ยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ขณะนี้ เราจึงไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์วีซ่าสำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบได้ ทันทีที่สถานทูตฯ พิจารณาว่าสถานการณ์มีความปลอดภัยเพียงพอที่จะอนุญาตให้พนักงานกลับมาทำงาน ที่แผนกกงสุล และปลอดภัยสำหรับผู้สมัครวีซ่าในการเดินทางมาที่สถานทูตฯ ตามปกติ ผู้ที่มีวันนัดสัมภาษณ์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะได้รับแจ้งทางโทรศัพท์หรือ ทางอีเมล์เกี่ยวกับรายละเอียดวันนัดสัมภาษณ์ใหม่

เนื่องจากมีบุคคลจำนวนมากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ นี้ และวันเวลานัดสัมภาษณ์ได้ถูกจองไปแล้วในช่วงหลายสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เราจึงไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์แบบเร่งด่วนได้

คำถามที่พบ บ่อย

ฉันจะสามารถนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ได้อย่างไร

ขณะนี้ผู้สมัครวีซ่าที่มีนัดสัมภาษณ์ระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม จำเป็นต้องรอจนกว่าแผนกกงสุลจะพิจารณาว่าสถานการณ์มีความปลอดภัยเพียงพอที่ จะนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ได้ และท่านจะได้รับการแจ้งทางอีเมล์หรือทางโทรศัพท์ตามที่ท่านได้ให้ไว้เมื่อ ท่านทำการนัดสัมภาษณ์

ฉันมีวันนัดสัมภาษณ์ในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม และมีกำหนดการเดินทางด่วน ฉันจะทำอย่างไร

ขณะนี้เราไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์ได้ภายในสัปดาห์นี้ เนื่องจากแผนกกงสุลปิดทำการ เราไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์ใดๆ ให้ท่านใด้ภายในระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม และไม่สามารถนัดวันสัมภาษณ์แบบเร่งด่วนได้ เราขอแนะนำให้ท่านเปลี่ยนแปลงกำหนดการเดินทางของท่าน

ฉันมี นัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันสามารถนัดวันสัมภาษณ์ใหม่ ณ สถานทูตสหรัฐฯ ในประเทศเพื่อนบ้านได้หรือไม่

สถานทูตฯ แต่ละแห่งมีระบบการนัดสัมภาษณ์วีซ่าและข้อกำหนดสำหรับผู้สมัครที่แตกต่างกัน ค่าธรรมเนียมการสมัครวีซ่าที่ท่านชำระในประเทศไทย ไม่สามารถใช้ในต่างประเทศได้

ฉันมีนัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่าง วันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันจะสามารถนัดวันสัมภาษณ์วีซ่าใหม่ได้ที่สถานกงสุลสหรัฐฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้หรือไม่

สถานกงสุลสหรัฐฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่มีระบบการนัดสัมภาษณ์ที่แยกต่างหาก และท่านต้องอาศัยอยู่ในเขตรับผิดชอบของสถานกงสุลสหรัฐฯ จังหวัดเชียงใหม่ จึงจะสามารถนัดสัมภาษณ์วีซ่าในจังหวัดเชียงใหม่ได้ โดยท่านสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://chiangmai.usconsulate.gov/

ฉัน มีนัดสัมภาษณ์วีซ่าระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ฉันยื่นคำร้องขอเป็นกรณีพิเศษได้หรือไม่

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ปิดทำการระหว่างวันที่ 17 – 21 พฤษภาคม ดังนั้นคำขอของท่านที่ส่งมาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวจะไม่รับการอ่านหรือตอบ เนื่องจากแผนกกงสุลปิดทำการ

ฉันเป็นผู้สมัครวีซ่าถาวร – ฉันจะสามารถเดินทางมาสมัครวีซ่าตามวันสัมภาษณ์ที่ได้กำหนดไว้แล้ว หรือเดินทางมายื่นเอกสาร หรือเดินทางมารับวีซ่าได้หรือไม่

หากท่านมีวันสัมภาษณ์วีซ่าถาวรระหว่างวันที่ 14 – 21 พฤษภาคม ท่านจะได้รับแจ้งวันนัดสัมภาษณ์ใหม่ โดยท่านจะได้รับการแจ้งวันนัดใหม่เมื่อสถานทูตฯ เปิดทำการอีกครั้ง หากท่านได้รับการแจ้งไว้ก่อนแล้วให้นำเอกสารมายื่นในวันจันทร์หรือวันพุธ หรือได้รับการแจ้งให้มารับวีซ่า โปรดอย่าเดินทางมาที่สถานทูตฯ จนกว่าสถานทูตฯ จะเปิดทำการอีกครั้ง โดยโปรดอ่านประกาศที่หน้าเว็บไซต์ของสถานทูตฯ

ในขณะนี้ สถานการณ์ในกรุงเทพมหานครยังคงตึงเครียด ที่มาจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น

เมื่อวานนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างโอกาสสุดท้ายของการมีสันติและสถานการณ์ที่ยิ่งใหญ่กว่าสงครามประชาชนซึ่งได้มีขึ้นในหลายวันที่ผ่านมา เหตุการณ์ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการเจราหลังฉากที่มีขึ้นและขึ้นอยู่กับความไม่สามารถควบคุมผู้ชุมนุมที่โกรธแค้นจะมีมากไปกว่านี้หรือไม่ ยอดผู้บาดเจ็บมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างช้าในช่วงเวลากลางวัน แต่หลายๆฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเวลาพลบค่ำมาเยือนสถานการณ์อาจจะปะทุเลวร้ายมากกว่ารุ่งเช้าของเมื่อวานก็เป็นได้

บทสรุปของเหตุการณ์ต่อเนื่องร้ายแรงยังคงมีอยู่ ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเขียนอยู่นี้สถานการณ์ก็ยังไม่เป็นที่แน่นอน อย่างไรก็ตามเราก็ได้แต่หวังว่าความขัดแย้งจะสามารถยุติลงได้โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อไปมากกว่านี้

more Comments: 04

14th May 2010

ในกระทู้ก่อนๆที่ลงในเว็บไซต์ของสมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน ผู้เขียนเห็นบัญชีรายการวัคซีนที่เปลี่ยนไปสำหรับผู้ขอวีซ่าไปอเมริกา ด้านล่างคือข้อความที่คัดลอกมาจากบทความของสมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน

ภายใต้กฎหมายคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา บุคคลต่างด้าวซึ่งขอวีซ่าถาวรจากต่างประเทศ หรือผู้ที่ต้องการปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ถือกรีนการ์ดขณะที่อยู่ในสหรับอเมริกา จะต้องรับวัคซีนป้องกันโรคดังต่อไปนี้

โรคคางทูม

หัด

หัดเยอรมัน

โปลิโอ

คอตีบ และ บาดทะยัก

ไอกรน

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ บี

ไวรัสตับอักเสบบี

และวัคซีนใดๆตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคติดต่อ

ข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่กำลังหาลู่ทางอพยพ กฎเหณฑ์เกี่ยวกับวัคซีนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ ทั้งนี้สถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเทพมหานครได้มีรายการโรงพยาบาลที่ได้รับอนุญาติให้ตรวจสุขภาพเพื่อวัตถุประสงค์ในการเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกาได้ รายชื่อนี้เปลี่ยนได้ตลอดเวลาเพราะฉะนั้นโปรดติดต่อสถานทูตสหรัฐเพื่อขอข้อมูลที่อัพเดท

ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กระทรวงต่างประเทศสหรัฐและศูนย์ควบคุมโรคได้เปลี่ยนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับโรคติดต่อและการเข้าเมืองสหรัฐ โรค HIV ถูกคัดออกจากรายการโรคติดต่อที่ห้ามเข้าเมืองของสหรัฐ ดังนั้น คนที่ถูกห้ามไม่ให้เข้าประเทศโดยอาศัยเหตุที่มีเชื้อ HIV ไม่จำเป็นจ้องขออภัยโทษเพราะเหตุ HIV ( เรียกอีกชื่อคือ คำร้องขออภัยโทษ I-601 ) เพื่อให้เข้าสหรัฐได้ หากว่ามีคุณสมบัติอื่นตามที่ กระทรวงต่างประเทศ และ USCIS กำหนด

รัฐบาลสหรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อให้แน่ใจว่าคนที่เข้าประเทศสหรัฐไม่ได้นำโรคที่อาจเป็นภัยต่อประชาชนชาวอเมริกันเข้ามาด้วย สำหรับทางนี้ พนักงานสถานทูตและ แพทย์ในโรงพยาบาลต่างประเทศจะทำงานกันอย่างเข้มงวด ในประเทศไทย ปัญหาใหญ่ของผู้ขอวีซ่าบางคนคือ โรควัณโรค ในกรณีเช่นนี้ จะต้องให้แน่ใจว่าโรคได้รับการรักษาและไม่ได้อยู่ในระยะติดต่ออีกต่อไป สำหรับคนที่เคยเป็น วัณโรคมาก่อน จะต้องมีการตรวจสอบประวัติการรักษาของผู้ป่วยเสียก่อนในการที่แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยยังมีโอกาสเป็นพาหะแก่บุคคลอื่นหรือไม่ แม้ว่าในบางครั้งจะน่ารำคาญ การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นในการพิจารณาเคสของสถานทูตสหรัฐและกงสุลสหรัฐในต่างประเทศ

more Comments: 04

11th May 2010

ในเคสที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ก็อาจจะหาทางแก้โดยการยื่นขออภัยโทษได้หากว่าการปฏิเสธเกิดจากการมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ การขออภัยโทษแบบนี้ เราเรียกว่า I-601 ครั้งหนึ่งหากว่าผู้ขอวีซ่ามีเชื้อ HIV ก็จะถูกปฏิเสธวีซ่าด้วยเหตุนี้เหตุเดียวหากว่าไม่มีเหตุอื่นที่พบอีก อย่างไรก็ตามเร็มๆนี้หน่วยงานคนเข้าเมืองสหรัฐได้เปลี่ยนกฏใหม่ ตามประกาศของ สมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน (AILA) :

“ การติดเชื้อ HIV ไม่ใช่เหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้อีกต่อไป หากคุณติดเชื้อ HIV ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออภัยโทษ I-601 เพราะเหตุที่คุณป่วยด้วยเชื้อ HIV อีกต่อไป จากข้อสังเกตุ ในแบบ I-601 มีการลบวิธีการดำเนินการและข้อความใดๆเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ออกไปแล้ว”

นี่ไม่ใช้กฎข้อเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิธีการยื่นขออภัยโทษเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้มีความแม่นยำในเรื่องของภูมิลำเนาที่ยื่นเช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์อื่นๆ

“นอกจากนี้ USCIS ได้ประกาศว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการยื่น และที่อยู่ที่จะต้องยื่นแบบ I-601 การเปลี่ยนสถานที่ยื่นแบบเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้เกิดประโยชน์ของสำนักงาน USCIS ท้องถิ่นและ หน่วยรับเรื่องของ USCIS โดยรวมที่ยื่นแบบและจ่ายค่าธรรมเนียมให้อยู่ที่ หน่วยรับเรื่องหน่วยเดียวเพื่อให้ USCIS สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของแบบคำร้องและค่าธรรมเนียม ”

วิธีการใช้ศูนย์รับเรื่องนี้ใช้กับกรณียื่นวีซ่าถาวร เช่น IR1 และ CR1 ซึ่งเปิดโอกาศให้ USCIS เตรียมระบบการจัดการกับคำขอวีซ่าได้เนื่องจากมันถูกส่งไปที่สถานที่ๆเดียว อย่างไรก็ดี วีซ่า K1 และ K3 จะต้องยื่นแก่ ศูนย์ USCIS ที่มีเขตอำนาจเท่านั้น

ในกรณีที่ แบบ I-601 นั้นยื่นในต่างประเทศ คำร้องมักถูกยื่นผ่าน สถานทูตหรือกงสุลสหรัฐอเมริกาที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ซึ่งนี่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กงสุลทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องได้ ผู้ที่สนใจจะยื่นคำร้องขออภัยโทษโปรดจำไว้ว่าทนายความสหรัฐอเมริกาที่มีใบอนุญาติ หรือตัวแทนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นที่สถานทูตสหรัฐและ USCIS ยอมให้เป็นตัวแทนของเจ้าของเรื่องในการติดต่อได้ นั่นหมายความว่า จะต้องเป็นทนายเท่านั้นจึงจะสามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อการยื่นคำร้องนี้ได้ และหน่วยงานที่เป็นตัวแทนที่ได้รับอนุญาติส่วนใหญ่ที่กระทำการแทนได้ก็มักเป็นหน่วยงานไม่หวังผลประโยชน์ที่เพียงเก็บค่าการเป็นตัวแทน ( ถ้าหากว่าจะมีการเรียกเก็บ ) เมื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาติให้เป็นตัวแทนลูกความในกระบวนการคนเข้าเมืองไม่สามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นตัวแทนได้ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

more Comments: 04

7th May 2010

ในเคสที่มีการพิจารณาและไต่สวนเมื่อไม่นานมานี้โดยศาลสูงสหรัฐ ปัญหาเรื่องสิทธิผู้อพยพในการได้รับคำปรึกษาทางกฎหมายได้ถูกหยิบยกขึ้นมาและผลของคดีทำให้เกิดความเห็นและเป็นจุดเปลี่ยนของสิทธิของผู้อพยพในสหรัฐอเมริกา คดีที่ว่าคือ คดี Padilla v. Kentucky ข้อความข้างล่างคัดมาจากอีเมลของ สำนักกฎหมาย Alice M. Yardum-Hunter

คดีเกี่ยวกับ ผู้ถือกรีนการ์ดอายุ 40 ปี โจเซ่ พาดิลลา ซึ่งทนายความคดีอาญาของเขาแนะนำให้เขาไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลทางกฎหมายคนเข้าเมืองเมื่อจะสารภาพว่าทำความผิดทางอาญา คำแนะนำนั้นไม่เพียงแต่ผิดแต่คำสารภาพนั้นส่งผลให้คุณพาดิลลาโดนส่งตัวออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลสูงเคนตักกีกล่าวว่าคุณพาดิลลาไม่มีสิทธิถอนคำรับสารภาพนั้นเมื่อเขาทราบถึงการที่จะต้องถูกส่งตัวออกนอกสหรัฐอเมริกา ศาลสูงกลับคำพิพากษานั้นและปฏิเสธสถานภาพของรัฐบาลกลาง และหลักนี้ก็ถูกหลายๆศาลนำมาใช้ในเวลาต่อมา หลักที่ว่าคือ บุคคลที่ไม่มีสัญชาติอเมริกัน จะถูกปกป้องจาก คำแนะนำโดยมิชอบ เท่านั้น ไม่ใช่จากความล้มเหลวในการที่ทนายความไม่สามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของคำรับสารภาพ ศาลชี้ว่าที่ปรึกษาของคุณพาดิลลาไม่มีความสามารถพอและคำพูดผู้อพยพไม่ควรได้รับความเชื่อถือเมื่อเขาได้เชื่อในคำแนะนำที่ผิดๆจากทนายความของตนหรือเมื่อที่ปรึกษาไม่สามารถให้คำแนะนำทางด้านกฎหมายคนเข้าเมืองได้เลย

เรื่องราวของคดีนี้ชี้ให้เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ทนายความที่ว่าความอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลทางกฎหมายสำหรับความผิดบางฐานในมุมมองของกฎหมายคนเข้าเมืองด้วย

เรื่องนี้ยังคงสำคัญต่อทนายความคนเข้าเมืองอเมริกันที่ทำงานอยู่นอกสหรัฐอเมริกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากว่าผู้อยู่ในสหรัฐอเมริกาอย่างถาวรถูกกฎหมายอยู่ต่างประเทศและได้รับหมายเรียกในคดีอาญา หรือ หมายเรียกผู้ร้ายหลบหนี บุคคลนั้นควรจะขอคำปรึกษาจากทนายความอเมริกันที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา ในกรณีเช่นว่านี้ ทนายความผู้นั้น อ้างถึงหลักในคดีที่เพิ่งมีคำพิพากษาที่กล่าวไว้ข้างต้น จะต้องให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลทางกฎหมายคนเข้าเมืองเมื่อผู้นั้นสารภาพว่าได้กระทำความผิดทางอาญาจริง

ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ว่าทำไมการขอคำแนะนำจากทนายที่สามารถว่าความในสหรัฐอเมริกาได้จึงมีความสำคัญยิ่งนัก เรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอย่างประเทศไทยที่มี บริษัทรับทำวีซ่า เอเจนซี่ทำวีซ่า และทนายความและนักกฎหมายที่ไม่มีใบอนุญาติ และ ไม่มีคุณสมบัติมากมาย หลายๆคนไม่คำนึงถึงคำสารภาพสำหรับความผิดทางอาญาในมุมมองของกฎหมายคนเข้าเมือง และความไม่รู้นี่เองที่สามารถนำไปสู่ความลำบากแก่ผู้อพยพที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกา

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาจากประเทศไทย โปรดดู วีซ่าเค วัน จากประเทศไทย

To learn more information in English please see: US Visa Thailand.

more Comments: 04

6th May 2010

ในกระทู้ก่อนๆ เราได้อธิบายถึงขั้นตอนการขอวีซ่า เค ทรี การยื่นขอวีซ่าเค ทรี ในปัจจุบันกระบวนการขอวีซ่าเค ทรี กลายเป็นเรื่องที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ เนื่องจาก NVC จะไม่เดินเรื่อง I129F สำหรับวีซ่า เค ทรี หากว่าคำขอ I 130 นั้นมาถึง NVC ก่อน หรือ พร้อมๆกับคำขอ I 129 F ต้องให้เครดิตกับ USCIS ที่ดำเนินการคำขอ I 129F และ I 130 รวดเร็วพอๆกัน อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ต้องการวีซ่าคู่สมรสแบบด่วน การพยายามของคุณอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้น


NVC ได้เคยบอกไว้ว่าจะหยุดดำเนินการคำขอ I 129F ในกรณีที่กล่าวไว้ด้านบน ซึ่งกรณีเช่นว่านี้ทำให้บุคคลที่แต่งงานกันภายใต้เขตอำนาจรัฐใดๆเพื่อขอวีซ่าคู่สมรสในเขตอำนาจสถานทูตในรัฐนั้นๆเป็นไปได้ยากขึ้น ภายใต้กฎเกณฑ์ที่ทำให้เกิดวีซ่า เค ทรี จะต้องดำเนินการขอวีซ่าในสถานทูตในเขตที่ที่คู่สมรสนั้นได้สมรสกัน ซึ่งเรื่องนี้ทำให้คู่สมรสหลายๆคู่สามารถ เลือกเขตอำนาจว่าจะขอวีซ่าผ่านทางประเทศใด ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สมรสอยากจะขอวีซ่าผ่านสถานทูตในอิตาลี ก็สามารถทำการสมรสในอิตาลีเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรื่องจะถูกดำเนินการที่อิตาลีแน่นอน

ในขณะนี้เป็นเพราะว่าอนาคตของวีซ่าเค ทรี ยังไม่แน่นอน ก็มีความเป็นไปได้ว่าการเลือกเขตอำนาจสถานทูตจะเป็นอดีตไป หมายความว่า วีซ่าถาวรเช่น CR1 และ IR1 อาจจะถูกส่งไปที่สถานทูตที่คู่สมรสต่างด้าวมีสัญชาติและสถานทูตและกงสุลมักจะดำเนินการคำขอของผู้มีสัญชาติที่ไม่ใช่ของประเทศตนโดยมารยาท และหากว่าไม่สะดวกก็จะส่งเรื่องไปยังสถานทูตที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการ

หวังว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะไม่เป็นปัญหาใดๆ นั่นหมายความว่า ตราบใดที่ USCIS ยังเดินเรื่อง I-130 ได้เร็ว ก็ดูเหมือนว่า NVC จะปิดเรื่อง เค ทรี และทำให้เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกเขตอำนาจสถานทูต สำหรับคู่หมั้นต่างด้าวในประเทศ เช่น พม่า กัมพูชา การเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้เกิดความยากลำบากเนื่องจากประเทศทั้งสองมีระบบราชการที่ทำให้เกิดความยุ่งยากมากๆกับสตรีสัญชาติของตนที่แต่งงานกับชายอเมริกัน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมว่านโยบายของ NVC จะส่งผลต่อการขอวีซ่าคู่หมั้นอย่างไร โปรดดู K1 visa

more Comments: 04

4th May 2010

ในกระทู้ก่อนๆ เราได้พูดกันถึงเรื่องกฎภายในของ NVC ที่เปลี่ยนไป NVC ประกาศว่าให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 NVC จะไม่ดำเนินการเกี่ยวกับคำขอ I 129F ที่เกี่ยวกับวีซ่าคู่สมรสอีกต่อไปหากว่า คำขอ I-130 มาถึง NVC ก่อนหรือพร้อมกับคำขอ I 129F มีคนที่สงสัยว่าจะมีผลต่อผู้ขอวีซ่าอย่างไร สำหรับคนที่จะขอวีซ่า เค ทรี ผลของประกาศนี้สำคัญมากเพราะในหลายๆเคส NVC จะเรียกให้ผู้ที่ต้องการขอวีซ่าคู่สมรสถาวรขอวีซ่าคู่สมรสเช่น IR1 หรือ CR1 แทนที่จะเป็นวีซ่าทางด่วนแบบ เค ทรี  อย่างไรก็ตามมีบางคนข้องใจว่าเรื่องนี้จะมีผลต่อวีซ่าคู่หมั้นอย่างไร

เพื่อขอวีซ่าคู่หมั้น บุคคลสัญชาติอเมริกันต้องยื่นคำขอ I-129F สำหรับวีซ่าเค วัน เมื่อคำขอได้รับการอนุมัติแล้ว จะถูกส่งต่อไปยัง NVC เพื่อตรวจสอบทางความมั่นคง หลังจากที่ตรวจสอบเสร็จเรียบร้อย จะถูกส่งต่อไปยังสถานทูตสหรัฐหรือกงสุลสหรัฐที่มีเขตอำนาจ ซึ่งก็อาจจะมีความสับสนเกิดขึ้นเนื่องจากบางคนอาจจะเข้าใจว่าคำขอ I 129F นั้นถูกยกเลิกสำหรับกรณีวีซ่าคู่หมั้นด้วย ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นความจริงเนื่องจากการยกเลิกคำขอ I 129F นั้นเกิดขึ้นเฉพาะกับกรณีวีซ่า เค ทรี ไม่ใช่ วีซ่าเค วัน การเปลี่ยนแปลงที่ว่าไม่มีผลกับการขอวีซ่าเควันแต่อย่างใดเพราะกฎนี้มีขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงการขอวีซ่าเค ทรี โดยเฉพาะ

ข้อดีของการพัฒนาในครั้งนี้ก็คือ NVC สามารถนำทรัพยากรบุคคลที่ดูแลเรื่องคำขอ I 129F สำหรับวีซ่าเค ทรี มาใช้ดูแลวีซ่าถาวรหรือวีซ่าคู่หมั้นก็เป็นได้ นั้นหมายความว่า ในความคิดเห็นของผู้เขียนนั้น ขั้นตอนการดำเนินการของวีซ่า เค วันนั้นค่อนข้างมีประสิทธิภาพยู่แล้ว และ NVC มักใช้เวลาไม่นานในการดำเนินการวีซ่าเค วัน ในเคสส่วนใหญ่ที่ดำเนินการโดยสถานทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย จะมีระยะเวลาการรอประมาณ 2 สัปดาห์ระหว่างที่ คำขอ I 129F ได้รับอนุมัติแล้วโดย USCIS และถูกส่งต่อจาก NVC มายังสถานทูต สำหรับคนทั่วๆไปก็เป็นระยะเวลาที่รอได้ และในกรณีวีซ่าถาวร ขั้นตอน NVC อาจจะนานขึ้นนิดหน่อยเนื่องจาก NVC ต้องการเอกสารมากขึ้นสำหรับวีซ่าถาวร เมื่อเทียบกับวีซ่าไม่อพยพ

For more information in English please see K1 visa or Fiance Visa Thailand.

more Comments: 04

3rd May 2010

For information in English please see: K3 Visa.

วีซ่าเค ทรี ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทางเลือกด่วนของวีซ่าคู่สมรสถาวร เช่นวีซ่า IR1 และ CR1 สมัยก่อนการขอวีซ่าคู่สมรสถาวรต้องใช้เวลาถึง 3 ปีซึ่งเป็นเหตุผลที่สภาคองเกรสได้ให้มีวีซ่า เค ทรี อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความจำเป็นที่จะต้องมีวีซ่าเค ทรี ได้มีน้อยลงเมื่อเทียบกับเวลาดำเนินการที่ใช้ในอดีต วีซ่าคู่สมรสถาวรใช้เวลาประมาณ 11-12 เดือน เมื่อเทียบระยะเวลานี้กับระยะเวลาขอวีซ่าเค ทรี ก็จะเห็นได้ว่าวีซ่าเค ทรีนั้นมีความจำเป็นน้อยลงทุกที

และเพราะเหตุนั้น NVC สังกัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับวีซ่า เค ทรี ข้อความต่อไปนี้ ตัดมาจากบทความตีพิมพ์ของกระทรวงต่างประเทศเผยแพร่ สมาคมทนายความคนเข้าเมือง (AILA)

ประกาศสำคัญ : มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อคำขอ I-129F สำหรับวีซ่าเค ไม่ถาวี และ คำขอ I-130 สำหรับวีซ่า IR1 หรือ CR1 สำหรับคู่สมรสของบุคคลสัญชาติสหรัฐได้รับการอนุมัติจาก USCIS และถูกส่งมาที่ NVC การมีอยู่และความจำเป็นที่จะต้องออกวีซ่าไม่ถาวร เค ทรี ถือว่าสิ้นสุดลง หากว่า NVC ได้รับคำร้องทั้งสองประเภท:

วีซ่าเคไม่ถาวรจะถูกปิดเรื่อง ขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าที่อธิบายไว้ด้านล่างไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป

NVC จะติดต่อผู้ยื่นขอและตัวคุณพร้อมทั้งขั้นตอนในการดำเนินการวีซ่าถาวร IR1 (หรือ CR1 ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขอวีซ่า โปรดดูหน้าเว็บไซต์วีซ่าถาวรสำหรับคู่สมรส หากว่า NVC ไม่ได้รับคำขอ I-130 และ I 129F ในเวลาเดียวกันจะเดินเรื่องคำขอ I 129F (K1) ของคุณ และจะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลในประเทศที่การสมรสเกิดขึ้น หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา NVC จะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลประเทศที่คุณมีสัญชาติ หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีสถานทูตอเมริกัน หรือ เป็นสถานทูตที่ไม่สามารถออกวีซ่าให้ได้ NVC จะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลที่ดำเนินการด้านวีซ่าให้แก่คนสัญชาตินั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศอิหร่านซึ่งสหรัฐอเมริกาไม่มีสถานทูตอยู่ คำขอวีซ่าจะถูกส่งไปยังประเทศตุรกี” NVC

มีบางคนชอบถามตัวเองว่า ทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร USCIS พิจารณาคำขอวีซ่าทั้งหมดและเมื่ออนุมัติ จะส่งต่อไปยัง NVC ซึ่ง NVC จะจัดการกับคำขอวีซ่า เค ทรี ก่อนที่จะส่งไปยังกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ (สำหรับคำขอที่จะต้องดำเนินการในประเทศไทย NVC จะจัดการคำขอก่อนที่สถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพมหานครจะได้รับเรื่อง )

ประเด็นสำคัญคือ NVC จะไม่ดำเนินการวีซ่าเค ทรี หากว่าคำขอวีซ่าถาวรนั้นมาถึง NVC ก่อนหรือพร้อมกับคำขอวีซ่า เค ทรี ในทางปฏิบัติคำขอวีซ่าเค ทรี ทั้งหมดมีคู่ฉบับวีซ่าถาวร เชื่อได้ว่า โดยส่วนมาก  NVC รับคำขอพวกนี้ในเวลาไล่เลี่ยกัน หรือเกือบจะพร้อมๆกัน อาจจะมีบางกรณีที่คำขอเค ทรีไปถึง NVC ก่อนคำขอวีซ่าถาวร แต่โดยส่วนใหญ่นี่ไม่ใช่ประเด็น จากการสังเกตพบว่าอาจจะไม่มีวีซ่าเค ทรีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าคู่สมรสเนื่องจากคำขอวีซ่าถาวรจะถึง NVC ก่อน หรือพร้อมๆกับคำขอวีซ่า เค ทรี นั่นเอง

more Comments: 04

27th April 2010

ภายใต้มาตรา 214b แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลสามารถปฏิเสธวีซ่าชั่วคราว ( เจ วัน , เอฟ วัน, บี วัน และ บี ทู ) หากเชื่อว่าคนต่างด้าวผู้ยื่นขวีซ่าไม่สามารถโต้แย้งข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพเข้าเมืองได้ ในบางกรณี กงสุลาจจะออกวีซ่าท่องเที่ยวให้ แต่คนต่างด้าวก็อาจถูกปฏิเสธขณะจะเข้าประเทศได้เช่นกัน

คนต่างด้าวได้รับวีซ่าแล้วแต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศได้อย่างไร ? มีความเข้าใจผิดๆที่ว่า ถ้าได้วีซ่าแล้วก็เท่ากับว่า มีสิทธิเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อันที่จริง เจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีดุลยพินิจที่จะปฏิเสธคนต่างด้าวไม่ให้เข้าเมืองได้ ถ้าเชื่อว่ามีเหตุให้ปฏิเสธ หากว่าเจ้าหน้ามีมีเหตุให้เชื่อว่าคนต่างด้าวมีวัตถุประสงค์อพยพ ก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองและยังมีอำนาจดุลพินิจในการเร่งส่งตัวกลับเพื่อจัดการให้คนต่างด้าวออกนอกประเทศได้อีกด้วย

ความในพระราชบัญญัติสัญชาติกล่าวว่า

ตามมาตรา 212 (a)(7)(A)(i) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ ผู้อพยพคนใด ในขณะที่ยื่นคำขอเข้าเมือง :

ไม่ได้ถือวีซ่าถาวรที่ยังไม่หมดอายุ คำขอกลับเข้ามาใหม่ หรือหนังสือสำคัญประจำตัวในการผ่านด่าน หรือหนังสือสำคัญอื่นๆที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ และหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ หรือ เอกสารเดินทางอื่นๆที่ใช้ได้ในลักษณะเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์คนเข้าเมือง หรือวีซ่าที่ไม่ได้ออกให้โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสัณชาติและคนเข้าเมืองสามารถถูกกันไม่ให้เข้าเมืองได้ (จากสหรัฐอเมริกา )

การขอละเว้นโทษมีอยู่ภายใต้มาตรา 212(k) ซึ่งสำนักอัยการสูงสุดพอใจว่าการกันไม่ให้เข้าเมืองนั้นไม่สามารถทราบได้ และไม่สามารถทราบได้แน่นอนโดยดุลวินิฉัยของคนต่างด้าวนั้นก่อนที่ยานพาหนะจะออกเดินทางมาจากจุดหมายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกดินแดนรัฐอารักขา หรือในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นมาจากรัฐอารักขา ให้ใช้เวลาก่อนที่คนต่างด้าวจะยื่นขอให้รับเข้าเมือง

อำนาจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นเหตุผลในการที่ต้องขอวีซ่าให้ถูกประเภทแทนที่จะพยายามลอดช่องโหว่ของกฎหมายคนเข้าเมือง ตัวอย่างเช่น มีคนอเมริกันบางคนที่มีคนรักเป็นบุคคลสัณชาติไทยและหวังที่จะนำเขาหรือเธอเหล่านั้นไปอเมริกาโดยมีจุดประสงค์ที่จะสมรสหรือเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้พำนักอาศัยถาวร หรือผุ้ถือกรีนการ์ด โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าเค วัน ( รู้จักกันในชื่อวีซ่าคู่หมั้น ) เป็นวีซ่าที่เหมาะกับวัตถุประสงค์นี้ที่สุด อย่างไรก็ดีบางคนเลือกที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกาเนื่องจากวีซ่าคู่หมั้นใช้เวลานานประมาณ 6-7 เดือน ในขณะที่วีซ่าท่องเที่ยวใช้เวลาสองถึงสาม สัปดาห์เท่านั้น การถูกปฏิเสธที่ด่านคนเข้าเมืองขณะจะเข้าเมืองทำให้เสี่ยงต่อการถูกส่งตัวกลับและยังต้องเสียเงินไปกับการขอวีซ่าและค่าเดินทางแต่กลับเข้าประเทศไม่ได้ การถูกกันตัวออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้ถูกแบนไม่ให้เข้าเมืองในคราวต่อไปได้ ได้หากว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าการเข้าประเทศเป็นไปโดยจงใจให้เจตนาเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นว่านี้จะต้องขอละเว้นโทษเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า I601 waiver

การถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองไม่ทำให้ถุกส่งตัวกลับทันที เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจดุลพินิจที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวถอนคำขอเข้าประเทศได้และออกจากประเทศโดยเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง แต่การใช้วีซ่าชั่วคราวโดยไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสี่ยงในกาลต่อมาที่จะถูกส่งตัวออกนอกประเทศและคนที่กำลังหาลู่ทางไปสหรัฐอเมริกาสก็ควรจะจำเรื่องนี้ใส่ใจไว้เมื่อศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองสหรัฐ

more Comments: 04

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.