blog-hdr.gif

Integrity Legal

21st May 2010

To see this information in English please see: US visa denial

อย่างที่ผู้เขียนได้เคยพูดไว้ในกระทู้ก่อนๆ เหตุผลหลักๆที่ทำให้วีซ่าอเมริกาถูกปฏิเสธขึ้นอยู่กับเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ ในเคสนั้นๆ เหตุหนึ่งก็คือ เจ้าหน้าที่กงสุลพบว่าผู้ขอวีซ่าทำความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม ( CIMT ) นั่นหมายความว่า บางครั้งก็เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยว่าความผิดที่ผู้ขอวีซ่ากระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมหรือไม่ คู่มือทางกิจการต่างประเทศกล่าวถึงลักษณะของความผิดที่เป็นความผิดเกี่ยวกับศีลธรรมเอาไว้ ด้านล่างคือข้อความบางส่วนที่ตัดตอนมา

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-1 ความผิดต่อทรัพย์สิน

( CT. VISA-1318;09-24-2009 )

เอ. ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ที่ถือว่าเกี่ยวข้องกับศีลธรรมอันเป็นความผิดต่อทรัพย์สินได้แก่ ฉ้อโกง การกระทำความผิดฐานฉ้อโกงถือเป็นความผิดต่อศีลธรรมไม่ว่าจะเป็นการกระทำต่อบุคคลหรือความผิดต่อแผ่นดิน ความผิดฐานฉ้อโกง โดยทั่วไป

เกี่ยวกับ

(1) ทำให้บุคคลอื่นหลงเข้าใจผิด

(2) รู้ถึงข้อความที่หลอกลวงซึ่งทำขึ้นโดยตัวผู้ก่อการ

(3) เชื่อถือในสิ่งที่แสดงให้เข้าใจผิดโดยบุคคลที่ถูกหลอก

(4) เจตนาหลอกลวง และ

(5) การกระทำการฉ้อโกง

ความผิดต่อทรัพย์สินไม่เพียงเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องด้วยศีลธรรมชนิดเดียวแต่ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐก็ถือเป็นความผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับศีลธรรมด้วย

ข้อ9 คู่มือทางกิจการต่างประเทศ 40.21(a) N 2.3-2 ความผิดต่อการเจ้าหน้าที่รัฐ

( CT: VISA-1318; 09-24-2009 )

เอ. ความผิดต่อเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้ากับนิยามความผิดทางศีลธรรมได้แก่:

(1) การติดสินบน

(2) ปลอมเอกสาร

(3) ฉ้อโกงกรมสรรพากร หรือหน่วยงานราชการอื่น

(4) ฉ้อฉลทางเอกสาร

(5) ให้การเท็จ

(6) ให้ที่พักพิงแก่ผู้ร้ายหลบหนี ( โดยทราบความผิด ) และ

(7) เลี่ยงภาษี ( โดยมีเจตนา )

คู่มือทางกิจการต่างประเทศได้กล่าวถึงกิจกรรมอีกหลายๆลักษณะที่อาจไม่ถือเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรม เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่พิจารณาเรื่องในการตัดสินข้อเท็จจริงของคดีและตัดสินว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวเนื่องกับศีลธรรมหรือไม่ หากว่าได้กระทำความผิดจริง ก็จะต้องถูกปฏิเสธวีซ่า  ภายใต้ทฤษฎีอำนาจที่ห้ามตรวจสอบของกงสุล ( รู้จักกันในชื่อ อำนาจเด็ดขาดของกงสุล ) คำตัดสินนี้ไม่สามารถอุทธรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ยื่นขอวีซ่าสามารถแก้ไขปัญหาวีซ่าถูกปฏิเสธได้โดยยื่นขออภัยโทษแบบ I-601

เพื่อประโยชน์ของบางคน มีคำพิพากษาของ ศาลภาค กล่าวว่า

“คำสั่งส่งตัวออกนอกสหรัฐอเมริกาที่มีต่อ ผู้ร้อง อาร์มานโด อัลวาเรซ เรย์นากาเนื่องจากกระทำความผิดอาญาฐานรับยานพาหนะที่ขโมยมา มีความผิดตามมาตรา 496d(a) ตามประมวลกฎหมายอาญาแคลิฟอร์เนีย คำร้องของเขาขอให้พิจาณาใหม่ว่าความผิดทางอาชญากรรมที่กระทำลงนั้น เป็นความผิดตามศีลธรรมหรือไม่ เราสรุปได้ว่าเป็นความผิดฐานอาชญากรรมแต่ไม่ใช่อาชญากรรมเกี่ยวกับศีลธรรม เราปฏิเสธคำร้องขอพิจารณาใหม่”

เมื่อกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป นิยามของความผิดทางอาญาเกี่ยวกับศีลธรรมและกิจกรรมที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของความผิดอาญาทางศีลธรรมตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับวีซ่าอเมริกาจากประเทศไทย โปรดดู วีซ่าอเมริกาประเทศไทย


Tags: , , , , , , , , , , , , ,

Leave a Reply

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.