
Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
Posts Tagged ‘วีซ่า K1’
13th December 2010
ชายที่สูญเสียสัญชาติอเมริกันและถูกพิพากษาว่าฉ้อโกงสถานภาพแต่งงาน
Posted by : admin
ประเด็นเรื่องการฉ้อโกงในการเข้าเมืองเป็นเรื่องที่ร้ายแรงเรื่องหนึ่ง เจ้าหน้าที่รัฐของสหรัฐอเมริกาในกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (USCIS) กระทรวงของรัฐ (DOS) หน่วยบริการคนเข้าเมืองและพลเมืองสหรัฐอเมริกา (USCBP) และหน่วยบังคับการคนเข้าเมืองและศุลกากร(USICE)ทั้งหมดนี้อยู่ในความรับผิดชอบที่จะต้องตรวจสอบและสอบสวนเกี่ยวกับการฉ้อฉลเรื่องวีซ่าและการเข้าเมือง ผู้เขียนคิดว่ามีความน่าสนใจในเรื่องการบริการคนเข้าเมืองและการพิธีการทางศุลกากร ได้มีการอ้างอย่างเป็นทางการในฐานะ ICEถึงการจับกุมชาวไนจีเรียที่มีส่วนพัวพันกับการปลอมแปลงวีซ่าสหรัฐอเมริกา อ้างโดยตรงจากเว็บไซต์ ICE.gov
ฮูสตั้น- เมื่อวันจันทร์มีการถอนสัญชาติอเมริกันของชายชาวไนจีเรียที่ถูกตัดสินว่า สมรู้ร่วมคิดในการฉ้อฉลการแต่งงาน ฉ้อฉลเรื่องแปลงสัญชาติ และปลอมแปลงข้อความต่างๆต่อตัวแทนของรัฐ คำตัดสินนี้ได้มมีการแถลงโดยทนายสหรัฐอเมริกาโจส์ แองเจิ้ล โมเรโน ทางใต้ของรัฐเท็กซัส การสอบสวนได้ดำเนินการโดยการบังคับการทางศุลกากรและคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา (ICE) สำนักงานการสอบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (HSI) อิบบราฮิม อดีนีน อายุ 33 ปีผู้ซึ่งมีถิ่นกำเนิดที่ไนจีเรียและได้รับการแปลงสัญชาติเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาถูกตัดสินโดยคณะลูกขุน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม เขาอยู่ในความควบคุมขอองส่วนกลางเป็นเวลา 6 เดือน ผู้พิพากษาเขตในสหรัฐอเมริกาเคนเนท ฮอทพิพากษาให้อดีนีนจำคุกในเรือนจำ ผู้พิพากษายังได้รับคำภร้องจากรัฐบาลให้ถอนสัญชาติสหรัฐอเมริกา อดีนีนยังถูกเนรเทศออกนอกประเทศด้วย
การทำให้ขาดสิทธิจากการเป็นพลเมืองเป็นกระบวนการที่บุคคลนั้นถูกถอนสัญชาติสหรัฐอเมริกาและกลับไปถือสัญชาติอื่น ในประเด็นของการปลอมแปลงการแต่งงานและกระบวนการเข้าเมมืองสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่า
การสอบสวน ICE HIS เริ่มต้นเมื่อปี 2008 อดีนีนนั้นเกี่ยวพันกับการเป็นนายหน้าระหว่างคนสัญชาติไนจีเรียและพลเมืองสหรัฐอเมริกาเพื่อที่ว่าคนสัญชาติไนจีเรียจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเข้าเมือง ทั้งหมดนี้เพื่อนำไปสู่การเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกา “คู่หมั้น”ชาวอเมริกันนั้นได้รับค่าตอบแทนในการหลอกลวงเป็นเงินสด
การร่วมมือกันฉ้อฉลเรื่องการแต่งงานในการที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากวีซ่าสหรัฐอเมริกานั้นเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงซึ่งเห็นได้จากรายงานที่กล่าวมาแล้วข้างบน ผู้ที่ประสงค์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเข้าเมืองอเมริกันนั้นพึงระลึกไว้เสมอว่า การที่จะหลอกเจ้าหน้าที่การเข้าเมืองหรือพยายามที่จะหลอกลวงรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือเจ้าหน้าที่ต่างๆนั้น ไม่ใช่วิธีที่ชาญฉลาด แม้ว่าจะกลายเป็นพลเมืองสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่การกระทำที่หลอกลวงในขั้นตอนการทำวีซ่านั้นอาจจะทำให้ถูกถอนสัญชาติและมีความผิดทางอาญา
เพื่อผลประโยชน์ทางวีซ่า ควรที่จะปรึกษาทนายอเมริกันที่มีใบอนุญาตเพื่อที่จะดำเนินการในเรื่องกระบวนการคนเข้าเมืองเพราะทนจายอเมริกันที่ได้รับอนุญาตและมีความเข้าใจอย่างถูกต้องอย่างน้อยในหนึ่งรัฐนั้นก็มีสิทธิที่จะให้คำแนะนำ คำปรึกษา หรือการดำเนินการแทน
To view this posting in English please see: Denaturalization.
4th June 2010
จากปากของเด็กๆ : กฎหมายคนเข้าเมืองและผลกระทบต่อครอบครัวลูกผสม
Posted by : admin
To view this post in English please see: US Immigration.
กระทู้นี้จะพูดถึงปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองของสหรัฐ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนต้องยอมรับว่าไม่ได้พูดถึงแง่คิดด้านปุถุชนปกติเกี่ยวกับกระบวนการคนเข้าเมืองและวีซ่า ขณะที่กำลังเขียนอยู่นี้ก็มีความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างสุดโต่งของกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นผ่านกระบวนการปฏิรุปกฎหมายคนเข้าเมืองและสัญชาติ และกฎหมายอื่นๆให้ครอบคลุมเหตุผลในการปฏิรูปก็ต่างกันไปตามแต่ปัจเจกบุคคลหรือองค์การ นั่นหมายความว่า ข้อความที่ตัดทอนมาจากข่าวในเว็บไซต์ยะฮู ด้านล่างนี้ชี้ชัดในแง่มุมของปุถุชนเดกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิรุปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม
เดซี่ คูวาส์ อายุเจ็ดขวบตื่นเต้นเมื่อเห็นตัวเองอยู่บนจอทีวีกับสตรีหมายเลขหนึ่ง มิเชลล์ โอบามา โดยที่ไม่เข้าใจสถานการณ์ที่ยากลำบากที่เธอทำให้พ่อแม่ชาวเปรูที่อยู่โดยผิดกฎหมายต้องประสบ “เธอหัวเราะ กระโดดขึ้นลง เธอตื่นเต้น” หลังจากการพบกันโดยบังเอิญที่โรงเรียนประถมของเดซี่ที่วอชิงตันดีซี คุณตาของเด็กน้อย เจนาโร จุยกา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า การออกที่วีทำให้เด็กสาว ป 2 ตัวน้อยกลายเป็นกระบอกเสียงของผู้อพยพที่อยู่โดยผิดกฎหมายในสหรัฐอีกกว่าสิบสองล้านคน และเป็นหน้าเป็นตาให้แก่ประธานาธิปดีเปรูที่ได้มาเยือนวอชิงตันเมื่อวันอังคาร “แม่หนูบอกว่า บารัค โอบามา จะไล่ทุกคนที่ไม่มีเอกสารออกไปให้หมด” เดซี่บอกแก่สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ที่โรงเรียนประถมเคหะนิวแฮมเชียร์ ในซิลเวอร์สปริง แมรี่แลนด์ “อืม บางทีเราอาจจะต้องทำอะไรซักอย่าง เพื่อให้คนสามารถอยู่ที่นี่ได้โดยมีเอกสารที่ถูกต้องนะจ๊ะ” มิเชลล์ โอบามา ตอบ “แต่ว่าแม่หนูไม่มีเอกสาร” เดซี่ ผู้ซึ่งเป็นอเมริกันโดยกำเนิดตอบ แม่ของเธอหน้าถอดสีทันที เธอร้องไห้และวิ่งไปโทรหาพ่อแม่ในลิมา และก็รีบไปหลบเนื่องจากกลัวว่าจะถูกส่งตัวกลับ มีช่วงเวลาตึงเครียดสำหรับคนที่เป็นเหมือนแม่ของเดซี่ แม่บ้านที่มาสหรัฐกับสามีช่างไม้ของเธอตอนที่ท้องเดซี่ได้สองเดือน พ่อแม่ของเดซี่กลัวมาตรการคนเข้าเมืองของสหรัฐ ซึ่งสำหรับคนละตินอเมริกันมีให้เห็นเป็นเยี่ยงอย่างโดยกฎหมายอริโซนาที่มีผลบังคับใช้เมื่อกรกฎาคมที่ผ่านมา ให้สิทธิตำรวจในการเรียกขอดูเอกสารประจำตัวบุคคลต้องสงสัยว่าเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายได้ กระทรวงความมั่นคงของสหรัฐได้รับปากว่าจะไม่ไล่ล่าพ่อแม่ของเดซี่ การสืบสวนคนเข้าเมือง กล่าวไว้ว่า “เพื่อให้แน่ใจว่ากฎหมายได้รับการปฏิบัติตามไม่ใช่ตามการถามตอบในห้องเรียน” อย่างไรก็ตามแม่ของเดซีได้ขอร้องต่อผู้สื่อข่าวไม่ให้เปิดเผยชื่อเธอและสามีในเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคม
หลายๆคนหวังว่า “หนทางไปสู่การมีสัญชาติ” ของคนต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารในอเมริการ นั้นจะสามารถมีผลได้ผ่านการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองเท่านั้น มีอีกหลายๆคนที่รู้สึกว่าไม่นานมานี้ร่างกฎหมายปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุมที่เพิ่งเสนอไปนั้นยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขความไม่เท่าเทียมที่มีให้เห็นในกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน เสียงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปต่อไปนั่นสังเกตเห็นได้จากการเคลื่อนไหวด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของกลุ่มรักร่วมเพศ เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล และบุคคลแปลงเพศ
หวังว่าเราจะได้เห็นโฉมหน้าการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองเร็วๆนี้ แต่ในขณะเดียวกัยเราอาจจะเรียนรู้บางอย่างได้จากเหตุการณ์นี้เนื่องจากแสดงให้เห็นว่า แม้แต่เด็กก้อมองเห็น “ ช่องว่างของความเท่าเทียมกัน “ ซึ่งดูเหมือนว่าจะมีอยู่ในกฎหมายคนเข้าเมืองของอเมริกา
For related information in English please see: US Visa Thailand. For information in Thai please see: K1 วีซ่า.
31st May 2010
For the original posting in English please see: US Visa Thailand
สำหรับคนอ่านกระทู้ของผู้เขียนบ่อยๆ อาจจะเข้าใจหลักพื้นฐานของสิทธิทางด้านคนเข้าเมืองของบุคคลที่นิยมเพศเดียวกัน ( Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender ) กฎหมายคนเข้าเมืองของสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎเกณฑ์ปัจจุบัน รวมถึงพระราชบัญญัติปกป้องสิทธิทางการสมรส กำหนดว่าคู่สมรสเพศเดียวกันที่มีสองสัญชาติถูกห้ามไม่ให้รับสิทธิตามกฎหมายคนเข้าเมืองอิงถึงการสมรสเพศเดียวกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่รักตามกฎหมาย หรือ คู่สมรสโดยไม่จดทะเบียน นั่นหมายความว่า ในปีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเช่น เจอรี่ แนดเลอร์ ได้เสนอกฎหมายที่รู้จักกันในชื่อ พระราชบัญญัติการรวมครอบครัวอเมริกัน หรือ UAFA ซึ่งกำหนดวิธีการขอรับประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองสำหรับคู่รักถาวรที่มีเพศเดียวกัน ในกระทู้ก่อนๆ ผู้เขียนได้พูดเรื่องการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม และ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองของอเมริกา ที่อาจจะมีหรือไม่มี ในเรื่องที่อนุญาติให้คู่รักเพศเดียวกันที่มีสัญชาติต่างกัน ขอรับผลประโยชน์ตามกฎหมายคนเข้าเมืองตามหลักของครอบครัวได้ ในกระทู้ก่อนเราพูดถึงร่างกฎหมายปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองที่เสนอโดยสมาชิกสภารัฐอิลลินอยส์ ลูอิส กุทเทอเรส และ ร่างที่ว่าไม่ได้รวมถึงผลประโยชน์ด้านกฎหมายคนเข้าเมืองของบุคคลเพศเดียวกัน หมายเหตุ บทความข้างล่างตัดมาจาก WashingtonBlade.com:
สมาชิกสภาผู้ทรงอิทธิพลหัวก้าวหน้าด้านกฎหมายคนเข้าเมืองได้แนบรวมข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปกป้องคู่รักที่มีสัญชาติต่างกันประเภท เลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และบุคคลแปลงเพศ เป็นส่วนหนึ่งของร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม จากปฐากฐาเมื่อวันพฤหัส สมาชิกสภา ลูอิส กุทเทอเรส (รัฐอิลลินอยส์) ได้กล่าวสรุปได้ว่าร่างพรบ.ปฏิรูปนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอนุญาติให้คนอเมริกันสามารถสนับสนุนการมีถิ่นฐานในสหรัฐให้แก่คู่รักร่วมเพศของตนได้ “ความพยายามในการที่จะแก้ไขระบบกฎหมายคนเข้าเมืองที่แตกร้าวและปกป้องสิทธิพื้นฐานจะไม่เป็นการครอบคลุมกาดว่าเราไม่รวมเอาคู่รักเพศเดียวกันเข้าไปด้วย” เขากล่าวว่าการผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้จะทำให้คู่รักร่วมเพศราวๆ 36,000 คู่ได้อยู่ด้วยกันในสหรัฐอเมริกา หรือที่เรียกว่าร่างพระราชบัญญัติรวมครอบครัวอเมริกัน ผู้สนับสนุนร่างกฎหมายฉบับนี้ได้มองหาการรวมรวมพระราชบัญญัติเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองในสภาคองเกรส กุทเทอเรสมีนัดประกาศการสนับสนุนอย่างเป็นทางการของเขาในวันจันทร์ในงานแถลงข่าวที่ชิคาโก อิลลินอยส์ ร่วมกับสมาชิกฯ ไมค์ คลิกลีย์ และ สมาชิกสภาเกย์ จาเร็ด โปลิส ( โคโลราโด) ซึ่งสนับสนุนการรวบรวมคู่รักร่วมเพศเข้าไปในการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมือง ปลายปีที่แล้ว กุทเทอเรสเสนอร่างฉบับของเขาซึ่งเป็นทางเลืกของร่างพรบ.ที่กำลังปฏิบัติกันในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามแม้ว่ากุทเทอเรสจะเป็นผู้สนับสนุนร่วมในหการยกร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายก็ไม่ได้รวมเรื่องของคู่รักร่วมเพศไว้ดังที่กล่าว จากคำบอกเล่าของคนในสำนักงานของกุทเทอเรส กล่าวว่า การประกาศครั้งล่าสุดของนักนิติบัญญัติผู้นี้เป็นการยืนยันการรวมเอาสิทธิคู่รักร่วมเพศไว้ในการปฏิรูปที่ครอบคลุม
ในกระทู้ก่อนๆซึ่งพูดถึงการเสนอร่างปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองให้ครอบคลุม ผู้เขียนพบว่า โชคไม่ดีที่ประเด็นการเข้าเมืองของคู่รักร่วมเพศไม่ได้มีการพูดถึงในตัวร่าง นั่นหมายความว่าอย่างไรก็ดีผู้เขียนก็ยังดีในที่ประเด็นนี้ได้ถูกนำมาพูดถึงในเรื่องของการปฏิรูป และหากว่าประเด็นป่านก็จะเป็นการเปลี่ยนแปลงกฎหมายคนเข้าเมืองกลางครั้งใหญ่ในอย่างน้อยที่สุด 25 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้การที่มันถูกหยิบยกมาพูกถึงก็เหมือนเป็นสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้ว่ากฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกันจะมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สิทธิแก่คู่รักที่ในขณะเวลาที่กำลังเขียนไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ในสหรัฐอเมริกาเช่นคู่รักต่างเพศ
28th May 2010
วีซ่าคู่หมั้น K 1 และวีซ่าท่องเที่ยว : สำคัญก็ที่เจตนา
Posted by : admin
คำถามที่ถามกันมากสำหรับคนที่ตั้งใจว่าจะพาคนรักจากประเทศไทยไปอเมริกาก็มักจะเกี่ยวกับว่า เป็นไปได้ไหมที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวจากสถานทูตสหรัฐอเมริกาที่กรุงเทพฯ แก่นของปัญหาการขอวีซ่าท่องเที่ยวก็คือการที่ผู้ขอไม่สามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพของเจ้าหน้าที่กงสุลได้
วีซ่าท่องเที่ยวกับเจตนาอพยพ
ภายใต้มาตรา 214 (b) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลประจำสถานทูตจำต้องสันนิษบานไว้ก่อนว่าผู้ขอวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดมีเจตนาอพยพ ในอันที่ผู้ขอวีซ่าจะเอาชนะข้อสัณนิษฐานดังกล่าว เขาจะต้องแสดงหลักฐานว่าเหตุผลมีน้ำหนักพอที่จะกลับมายังประเทศไทยหลังจากไปสหรัฐอเมริกาแล้ว หลังฐานเหล่านั้นก็ได้แก่ สัญญาจ้างงานในประเทศไทยด้วยเงินเดือนสูงๆ ( เงินเดือนในตัวของมันเองนั้นไม่ได้กระตุ้นความสนใจของเจ้าหน้าที่กงสุลซักเท่าไร แต่มันเนื่องมาจากเหตุที่ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ทิ้งงานเงินเดือนสูงๆไปเป็นแน่ต่างหาก ) ความสัมพันธ์ทางครอบครัวที่เหนียวแน่นในประเทศไทย และ การลงทุนในประเทศไทยที่ยากจะละทิ้งไป ( อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจขนาดย่อม ฯลฯ ) นี่ไม่ใช่ทั้งหมดแต่เพียงให้คุณเห็นภาพว่าเจ้าหน้าที่กงสุลอยากจะเห็นอะไรตอนที่ต้องพิจารณาว่าผู้ขอวีซ่าสามารถเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพได้หรือไม่
แฟนหรือสามีชาวอเมริกัน เป็นเหมือน “ยาพิษ” สำหรับการขอวีซ่าท่องเที่ยวหรือปล่าว?
บางคนเชื่อว่าการมีคู่ครองเป็นชาวอเมริกันนั้นถือเป็นการปฏิเสธวีซ่าท่องเที่ยวโดยอัตโนมัติ ซึ่งผู้เขียนไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น ในทางกลับกัน ถ้าผุ้ขอวีซ่าชาวไทยมีคนรักชาวอเมริกัน ผู้ขอวีซ่าก็ยังต้องเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพอยู่ดีนั่นเอง ความต่างของการมีแฟนชาวอเมริกันหรือไม่มันขึ้นอยู่กับว่าคู่รักนั้นๆตั้งใจจะใช้วีซ่าท่องเที่ยวเป็นทางสะดวกในการอพยพไปสหรัฐอเมริกาโดยวิธีการขอวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไปเปลี่ยนสถานภาพเป็นกรีนการ์ดหรือไม่ เรียกง่ายๆก็คือคู่รักจะต้องแสดงให้เห็นว่าใช้วีซ่าท่องเที่ยวเพื่อเหตุผลที่แท้จริงของมัน ซึ่งก็คือ เพื่อการท่องเที่ยวนั่นเอง
ถ้าวีซ่า K 1 เป็นวีซ่าชั่วคราว แล้วทำไมคู่หมั้นชาวไทยยังอยู่ในอเมริกาได้ล่ะ?
ในมุมหนึ่งวีซ่า K 1 เป็นส่วนผสมของวีซ่าชั่วคราวและวีซ่าถาวร วีซ่าตัวนี้อนุญาตให้คู่หมั้นชาวไทยเข้าอเมริกาได้ 90 วันเพื่อวัตถุประสงค์เดียวคือการแต่งงานกับบุคคลสัญชาติอเมริกันและปรับเปลี่ยนสถานภาพเพื่อให้คงพักอาศัยในสหรับอเมริกาได้ วีซ่าชนิดนี้สร้างขึ้นมาเพื่อให้โอกาสคู่รักได้ดูว่าการแต่งงานจะไปรอดหรือไม่และหากว่าไปรอดก็ให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเสีย ดังนั้นวีซ่าตัวนี้จึงเป็นวีซ่าชั่วคราวเพราะว่ามันมีวันหมดอายุ แต่หากว่าผู้ถือวีซ่า K 1 ทำตามเงื่อนไขวีซ่าและตัดสินใจที่จะแต่งงานในสหรัฐอเมริกา เขาหรือเธอก็สามารถอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อได้โดยมีความยุ่งยากทางกฎหมายเพียงน้อยนิด
โปรดจำไว้ว่าข้อความข้างต้นไม่ทำให้เกิดสิทธิความสัมพันธ์ระหว่างทนายและลูกความ และไม่ควรนำมาเป็นคำแนะนำทางกฎหมายส่วนตัวจากทนายความมีใบอนุญาติแต่อย่างใด
11th May 2010
แบบคำขออภัยโทษ I-601 และการปฏิเสธวีซ่า : พัฒนาการใหม่ปี 2010
Posted by : admin
ในเคสที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ก็อาจจะหาทางแก้โดยการยื่นขออภัยโทษได้หากว่าการปฏิเสธเกิดจากการมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ การขออภัยโทษแบบนี้ เราเรียกว่า I-601 ครั้งหนึ่งหากว่าผู้ขอวีซ่ามีเชื้อ HIV ก็จะถูกปฏิเสธวีซ่าด้วยเหตุนี้เหตุเดียวหากว่าไม่มีเหตุอื่นที่พบอีก อย่างไรก็ตามเร็มๆนี้หน่วยงานคนเข้าเมืองสหรัฐได้เปลี่ยนกฏใหม่ ตามประกาศของ สมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน (AILA) :
“ การติดเชื้อ HIV ไม่ใช่เหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้อีกต่อไป หากคุณติดเชื้อ HIV ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออภัยโทษ I-601 เพราะเหตุที่คุณป่วยด้วยเชื้อ HIV อีกต่อไป จากข้อสังเกตุ ในแบบ I-601 มีการลบวิธีการดำเนินการและข้อความใดๆเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ออกไปแล้ว”
นี่ไม่ใช้กฎข้อเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิธีการยื่นขออภัยโทษเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้มีความแม่นยำในเรื่องของภูมิลำเนาที่ยื่นเช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์อื่นๆ
“นอกจากนี้ USCIS ได้ประกาศว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการยื่น และที่อยู่ที่จะต้องยื่นแบบ I-601 การเปลี่ยนสถานที่ยื่นแบบเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้เกิดประโยชน์ของสำนักงาน USCIS ท้องถิ่นและ หน่วยรับเรื่องของ USCIS โดยรวมที่ยื่นแบบและจ่ายค่าธรรมเนียมให้อยู่ที่ หน่วยรับเรื่องหน่วยเดียวเพื่อให้ USCIS สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของแบบคำร้องและค่าธรรมเนียม ”
วิธีการใช้ศูนย์รับเรื่องนี้ใช้กับกรณียื่นวีซ่าถาวร เช่น IR1 และ CR1 ซึ่งเปิดโอกาศให้ USCIS เตรียมระบบการจัดการกับคำขอวีซ่าได้เนื่องจากมันถูกส่งไปที่สถานที่ๆเดียว อย่างไรก็ดี วีซ่า K1 และ K3 จะต้องยื่นแก่ ศูนย์ USCIS ที่มีเขตอำนาจเท่านั้น
ในกรณีที่ แบบ I-601 นั้นยื่นในต่างประเทศ คำร้องมักถูกยื่นผ่าน สถานทูตหรือกงสุลสหรัฐอเมริกาที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ซึ่งนี่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กงสุลทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องได้ ผู้ที่สนใจจะยื่นคำร้องขออภัยโทษโปรดจำไว้ว่าทนายความสหรัฐอเมริกาที่มีใบอนุญาติ หรือตัวแทนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นที่สถานทูตสหรัฐและ USCIS ยอมให้เป็นตัวแทนของเจ้าของเรื่องในการติดต่อได้ นั่นหมายความว่า จะต้องเป็นทนายเท่านั้นจึงจะสามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อการยื่นคำร้องนี้ได้ และหน่วยงานที่เป็นตัวแทนที่ได้รับอนุญาติส่วนใหญ่ที่กระทำการแทนได้ก็มักเป็นหน่วยงานไม่หวังผลประโยชน์ที่เพียงเก็บค่าการเป็นตัวแทน ( ถ้าหากว่าจะมีการเรียกเก็บ ) เมื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาติให้เป็นตัวแทนลูกความในกระบวนการคนเข้าเมืองไม่สามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นตัวแทนได้ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.