Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
Posts Tagged ‘วีซ่าอเมริกัน’
26th August 2013
กระทรวงมหาดไทยของสหรับฯ ชี้แจงเรื่องการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน
Posted by : admin
จากการเขียน Blog ครั้งก่อนเรื่องข้อสงสัยเกี่ยวกับการขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพสเดียวกันนั้น ขาฯได้พบคำตอบเกี่ยวกับหัวข้อดังกล่าวจากกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ดังนี้:
Q: คำตัดสินของศาลสูงเรื่องคดี Windsor vs. United States มีผลกระทบต่อกฎหมายคนเข้าเมืองอย่างไร?
A: ศาลสูงตัดสินว่า Section 3 ของ DOMA นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ จากนี้ไป สถานเอกอัครราชฑูตและสถานกงศุลของสหรัฐฯ จะปฎิบัติต่อการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ในวิธีการเดียวกับคู่สมรสต่างเพศ นอกจากนี้ คู่สมรสเพศเดียวกันที่จะเดินทางเข้าสหรัฐเพื่อ – งาน การศึกษา หรืออื่นๆ – จะขอวีซ่าเหล่านั้นได้เช่นกัน รวมถึงลูกติดของคู่สมรสเพศเดียวกันด้วย
ตามที่เคยสนทนาใน Blog นี้ การที่ศาลลงความเห็นว่า Section 3 ของ DOMA นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้ผู้ที่เป็นคนถือสัญชาติอเมริกันสามารถยื่นขอผลประโยชน์ทางการเข้าเมืองให้คู่สมรส (หรือคู่หมั้น) เพศเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยของสหรัฐซึ่งรับผิดชอบเรื่องการออกวีซ่า ยังต้องทำการแจ้งข้อมูลเบื้องต้น ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐได้จัดระบบให้สอดคล้องกับการตัดสินของศาลสูงเรียบร้อยแล้ว
Q: ข้ฯต้องอาศัยอยู่ในรัฐที่ออกกฏหมายยอมรับคู่สมรสเพศเดียวกันหรือไม่เพื่อที่จะขอวีซ่าเข้าเมือง
A: ไม่จำเป็น หากท่านได้จดทะเบียนสมรสในรัฐหรือประเทศที่ยอมรักการจดทะเบียนสมรสของคู่สมรสเพศเดียวกัน ถือว่าทะเบียนสมรสนั้นถูกต้องสำหรับประกอบการยื่นขออนุญาตเข้าเมือง (โปรดอ่านข้อมูลเพิ่มเติมใน Website ของ USCIS – ในหัวข้อ – Citizenship and Immigration Services)
เนื่องจากเขตปกครองของสหรัฐที่ยอมรับการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้นมีไม่มาก และมีหลายรัฐที่ห้ามให้มีการสมรสระหว่างคนเพศเดียวกันนั้น จึงมีข้อสงสัยมากมายทั้งในวงของนักกฎหมายและของคู่สมรสเหล่านั้นด้วย ใน Blog ที่ข้าฯ ได้เขียนก่อนหน้านี้ ข้าฯได้ยืนยันแล้วว่าความถูกต้องขึ้นอยุ่กับ “รัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน” นั่นคือ USCIS จะรับรองการยื่นขอย้ายถิ่นที่อยู่ของคู่สมรสเพศเดียวกันก็ต่อเมื่อการจดทะเบียนได้จดในรัฐที่ยอมรับการจดทะเบียนประเภทนี้ นอกจากนี้ ดูเหมือนว่ากระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯก็มีนโยบายที่คล้ายกันคือ จะอนุมัติการขอวีซ่าของคู่สมรสเพศเดียวกัน ต่อเมื่อ USCIS ได้อนุมัติการเข้าเมืองของคู่ดังกล่าว แต่อาจมี่เขตปกครองบางเขต ที่อาจยอมรับการครองเรือนของคนเพศเดียวกัน แต่อาจไม่ถือเป็นการสมรส ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯกล่าวว่า:
Q: ข้าฯอยู่ร่วมกันกับคูคนเพศเดียวกัน เราจะได้รับสิทธิเหมือนคู่ที่ทำการสมรสหรือไม่
A: ณ. เวลานี้ การขอย้ายถิ่นที่อยู่ จะอนุมัติให้เฉพาะบุคคลที่จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ถึงแม้คำตอบจะดูชัดเจนแล้ว มีหลายคู่อาจมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคือ:
Q: ข้าฯถือสัญชาติอเมริกันและมี่คู่หมั้นต่างชาติที่เป็นคนเพสเดียวกันกับข้าฯ แต่ไม่สามารถทำการจดทะเบียนสมรสในประเทศของคู่หมั้น เรามีทางเลือกอย่างไรบ้าง? เราสามารถขอ K-Visa (วีซ่าคู่หมั้น) ได้หรือไม่?
A: คุณสามารถยื่น Form I-129f และขอวีซ่าคู่หมั้น (K-1) หากคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของการขอเข้าเมือง การที่เป็นการหมั้นระหว่างคนเพสเดียวกัน อาจอนุมัติให้ใช้เพื่อเข้าไปจดทะเบียนสมรสในสหรัฐฯ หากต้องการขอข้อมูลเรื่องการปรับสถานะ อ่านได้ใน Website ของ USCIS:
ในเมื่อในเวลานี้ คู่สมรสต่างเพศสามารถยื่นขอ K1 วีซ่า ได้ จึงมีความน่าจะเป็นที่คู่หมั้นที่มีเพศเดียวกันน่าจะยื่นขอ US fiance visa ได้เช่นกัน หากมีความตั้งใจที่จะไปจดทะเบียนสมรสในเขตปกครองที่อนุญาตการจดทะเบียนสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน
อีกประเด็นที่อาจมีข้อสงสัยคือการออก Non-immigrant visa (NIV) วีซ่าประเภทนี้ไม่ได้ไม่ได้อนุญาตให้ผู้ถือเปลี่ยนสถานะเป็นผู้ย้ายเข้าเมือง ทางกระทรวงมหาดไทยได้ให้รายละเอียดดังนี้สำหรับการออก NIV ให้กับคู่สมรสเพศเดียวกันว่า:
Q: คู่ที่เป็นเพศเดียวกันสามารถขอวีซ่าประเภทเดียวกันหรือไม่?
A: ได้ ณ. เวลานี้ คู่สมรสเพศเดียวกันพร้อมลูกสามารถยื่นขอวีซา NIV ได้ คู่ครองเพศเดียวกันและลูก (ถือเป็นลูกเลี้ยงของผู้ยื่นหลัก หากจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์) ก็ สามารถรับสิทธิขอวีซ่า NIV ถ้ากฎหมายอนุมัติวีซ่าให้ แต่เอกสารเพิ่มเติมคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับการขอให้คู่สมรสเพศเดียวกัน [italics added]
Q: คู่สมรสต่างชาติของข้าพเจ้ามีบุตร ข้าพเจ้ายื่นคำขอพร้อมกับคู่สมรสได้หรือไม่?
A: ได้ บุตรของคู่สมรสต่างชาติจะถือเป็น”ลูกเลี้ยง” ของผู้ถือสัญชาติอเมริกันจึงสามารถรับสิทธิในกลุ่ม IR2 แต่ต้องจดทะเบยนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์
แน่นอน ทางกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ลูกเลี้ยงคนคนถือสัญชาติอเมริกันย้ายเข้าเมืองในกรณีที่ คู่สมรสเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสก่อนเด็กอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์ ดังนั้น น่าจะเป็นที่เข้าใจว่าเด็กที่กำลังจะเป็นลูกเลี้ยงของคนถือสัญชาติอเมริกันที่ขอวีซ่าประเภทคู่หมั้นคือ K-2 visa เพื่อทำการสมรสในสหรัฐฯ
หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน
24th August 2013
หลังจากการที่ศาลตัดสินคดี Windsor ที่มีการอ้างว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอพยพเข้าเมืองของสหรัฐ ทาง USCIS และกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ เคยตอบคำถามเรื่องนี้มามากแล้ว และผมเคยปรึกษาหารือเรื่องคำตอบเหล่านี้ ใน Blog นี้มาก่อน แต่กระผมได้สังเกตว่า USCIS ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ใน website ของ USCIS:
Q1: ข้าฯ เป็นพลเมืองของสหรัฐ หรือเป็นผู้อาศัย (Permanent Resident) และมีคู่สมรสของข้าฯ เป็นคนเพศเดียวกันและเป็นคนต่างชาติ ขาฯ สามารถรับรองการขอ VISA ย้ายถิ่นที่อยู่ให้กับคู่ของข้าฯ ได้หรือไม่ ? (ใหม่)
A1: ได้ ท่านสามารถยื่นแบบ Form I-130 (และเอกสารอื่น ๆ) สิทธิในการขอย้ายที่อยู่จะพิจารณาตัดสินตามกฎต่างๆ ของการเข้าเมือง และจะไม่ใช้ความเป็นคู่สมรสเพศเดียวกันมาเป็นตัวแปรในการตัดสิน
นอกจากนี้คนอเมริกันหรือ Permanent Resident สามารถยื่นคำขอ คือ IR 1 Visa, CR 1 Visa หรือตัวเสริมคือ K3 Visa เพื่อให้คู่สมรสเข้าเมือง นอกจากนี้ เมื่อยื่นขอ Visa ที่สถานฑูตหรือสถานกงศุลของสหรัฐฯ การพิจารณาการขอ Visa จะพิจารณาเช่นเดียวกับ การพิจารณาการขอ Visa ของคู่สมรสต่างเพศ
ประเด็นที่หลายคู่สงสัย คือ ข้อแตกต่างระหว่างรัฐที่อาศัยอยู่กับรัฐที่จดทะเบียยนสมรส เพราะมีไม่กี่รัฐที่อนุญาติให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ในขณะที่บางรัฐไม่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และอาจะไม่อนุญาติให้จดทะเบียน USICS ได้อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้:
Q3: ข้าฯ และคู่สมรสได้จดทะเบียนในรัฐ ในสหรัฐฯ หรือในประเทศที่ยอมรับ การสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน แต่เราอาศัยในรัฐที่ไม่อนุญาติให้จดทะเบียนสมรส ข้าฯ สามารภยื่นขอให้คู่ครองย้ายเข้าเมืองได้หรือไม่
A3: ได้เพราะ สถานภาพการสมรส จะพิจารณาจากรัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน หากกฎหมายของรัฐนั้นอนุญาตให้ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วใช้ในการประกอบการพิจารณา การขอย้ายเข้าเมืองได้
อาจมีบางกรณีที่จะมีผลทำให้ กฎหมายของที่อาศัยมีผลต่อบางประเด็น แต่โดยรวมแล้ว ทาง USCIS จะนำกฎหมายของรัฐที่คู่สมรสได้ดำเนินการจดทะเบียน มาใช้ในการพิจารณาการขอย้ายถิ่นที่อยู่
นอกจากนี้ ข้าฯ ก็ไม่เคยได้ยินว่า Section 2 ของ DOMA จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดูด้จากคำอธิบายต่อไปนี้:
Q5: Form I-130 หรือคำขออื่นๆได้ถูกปฎิเสธโดยอ้างกฎของ DOMA เพียงอย่างเดียว ข้าฯ ควรทำอย่างไรต่อ?
A5: USCIS จะนำคำขอที่ถูกปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3 มาพิจารณาอีกรอบ ถ้าหากมีข้อมูลเรื่องธุรกรรมเหล่านี้ USCIS จะนำคำตัดสินมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งจะปฎิบัติเช่นนี้กับทุกกรณีที่ได้รับการปฎิเสธ ใน Form I-130 (เช่น Form I-485 ที่นำยื่นในเวลาเดียวกัน)
- USCIS จะนำ Form I-130 ที่ได้รับการปฎิเสธเนื่องจาก DOMA Section 3 หลัง 23 กพ. 2011 มาพิจารณาอีกรอบ และ USCIS จะติดต่อไปยังผู้ยื่นคำขอโดยใช้ที่อยู่ในใบคำขอ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- หากคุณได้มีคำขอที่ได้รับการปฎิเสธ เนื่องด้วย กรณีดังกล่าวข้างต้น คุณสามารถส่ง email ส่วนตัว (ที่สามารถรับคำตอบได้) ไปยัง USCIS <[email protected]> เพื่อแจ้งการร้องเรียน ทาง USCIS จะตอบอีเมล์แล้วขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- ถ้าหากการปฎิเสธ คำขอ I-130 เกิดขึ้นก่อน 23 กพ. 2011 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2014 เพื่อให้ USCIS ดำเนินการเปิด I-130 ของคุณ กรุณาแจ้งจำนงไปยัง < [email protected] > โดยเขียนว่า ทางคุณมีข้อสงสัยว่า การยื่นคำขอของคุณได้รับการปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3
พอทางการเริ่มพิจารณา I-130 ของท่าน จะเสมือนเป็นการพิจารณาใหม่โดยไม่คำนึงถึง DOMA Section 3 แล้วจะพิจารณาตามข้อมูลเก่า และข้อมูลเพิ่มเติม ในเวลาเดียวกัน USCIS จะนำคำขออื่นๆ มาพิจารณาตามความจำเป็น หากคำขอเหล่านั้น ถูกปฎิเสธ เนื่องจากการปฎิเสธ I-130 (เช่น Form I-485 เป็นต้น)
นอกจากนี้การขออนุญาติทำงานที่ถูกปฎิเสธเนื่องจากการปฎิเสธ Form I-48S ก็จะนำมาพิจารณาต่อ และจะออกใบอนุญาติทำงานหากอนุมัติ หากการตัดสินเกิดการล่าช้า USCIS จะ (1) ยื่นเรื่องใหม่ทันที หรือ (2) พิจารณาและอนุมัติคำขอที่เคยถูกปฎิเสธ
- หากมี form อื่นๆ (นอกจาก I-130) ที่ได้รับการปฎิเสธเรื่องจาก DOMA section 3 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2013 โดยส่ง email ไปยัง <[email protected]>
จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการร้องขอให้ USCIS นำคำขอมาพิจารณาใหม่ แต่หากท่านต้องการยื่นคำขอใหม่ ท่านสามารถทำได้พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม ตามที่แจ้งได้
USCIS จะดำเนินธุรกรรมตามกฎและนโยบายของศาลสูง ซึ่งการนำใบสมัครของคู่สมรสที่มีเพศเดียวกันมาพิจารณาอีกรอบ ชี้ให้เห็นว่า ทางองค์กรมุ่งที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมของครอบครัวทุกประเภท
หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน
1st June 2011
เมื่อเร็วๆนี้มีสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจคือ ตำแหน่งรีพลับลิกันที่เกี่ยวกับการแต่งงานเพศเดียวกันในเมืองโคลัมเบีย (วอชิงตัน ดี.ซี.) เป็นที่น่าจับตามองของทั้งสื่อและผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง อ้างโดยตรงจากบทความที่เขียนโดยเบน เพิร์ซชิ่งและเขียนในเว็บไซต์ของวอชิงตันโพสต์ ในวอชิงตัน ดอทคอม
ความพยายามที่ผ่านมา รีพลับลิกันอาจไม่ได้รับข้อแก้ตัวในปีนี้ในกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันของรัฐ ไม่มีพระราชบัญญัติที่ถูกยก และผู้ร่างกฎหมายที่ได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงานสำหรับมาตรการบางอย่าง
สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา พึงระลึกถึงข้อเท็จจริงว่า สภาคองเกรสสหรัฐอเมริกานั้นรับผิดชอบในการบริหารเมืองหลักของสหรัฐอเมริกา ขอบเขตของอำนาจนั้นขยายไปในบริบทของรัฐเอกราชที่จะมีมุมมองในประเด็นระหว่างรัฐ แต่อย่างไรก็ตามรัฐของโคลัมเบียนั้นโดยลักษณะธรรมชาติแล้วแตกต่างจากรัฐเอกราชที่มีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายและการวิเคราะห์ที่นำมาใช้ระหว่างรัฐที่แตกต่างกันอาจจะใช้กับรัฐที่แตกต่างกัน อ้างเพิ่มเติมจากบทความที่กล่าวถึง
ประธานการปฏิรูปรัฐบาลและสภา แดร์แรล อิสซา (อาร์-แคลิฟ) กล่าวว่า เขารู้ว่าไม่มีการรณรงค์การยกเลิกกฎหมาย “กรรมการไม่มีความตั้งใจในการที่จะพลิกการแต่งงานของคู่เกย์” อิสซ่ากล่าวในเดือนนี้ แม้ว่าต่อมาเขาจะชี้แจงเพื่อตัวเองและไม่ได้เพื่อผู้ร่างกฎหมายแต่ละคน ผู้แทน เทรย์ โกว์ดี้ (อาร์-เอส.ซี.) ขณะนี้ดำรงตำแหน่งประธานของคณะกรรมการย่อย ตอบคล้ายๆกันเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เขากล่าวในการสนับสนุนพระราชบัญญัติที่จะกลับกฎหมายการแต่งงานของเพศเดียวกันถ้ามีการเสนอกฎหมาย แต่ไม่มีผลประโยชน์ใดๆกับความพยายามดังกล่าว “ข้าพเจ้าไม่ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการรัฐดี.ซี. และไม่ได้ปรารถนาที่จะเป็น” กาวด์ดี้กล่าว ซึ่งสะท้อนเสียงวิจารณ์ในประเด็นท้องถิ่น ข้อเท็จจริงที่ว่า ไม่มมีรีพลับบลิกันที่จะนำเสนอพระราชบัญญัติในปีนี้ที่จะส่งสัญญาณว่าใช้แผนที่จะใช้เทคนิคที่แตกต่าง
ผู้เขียนบล็อกแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านควรคลิกไปยังลิงค์ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะดูบทความทั้งหมด
ผู้สังเกตการณ์กล่าวข้างต้นว่า หลักสำคัญของการวิเคราะห์ใดๆในประเด็นที่โจมตีกลุ่มเพศที่สามด้วยความหวังที่จะผ่านร่างกฎหมาย เช่นพระราชบัญญัติการรวมครอบครัวอเมริกัน (UAFA) พระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิการแต่งงาน หรือพระราชบัญญัติการรวมตัวกันใหม่ของครอบครัว จากการสนับสนุนของสองฝ่ายนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ อ้างต่อว่า สิ่งที่ปรากฏว่า ยังคงมีนโยบายที่คงอยู่และสอดคล้องต่อกลุ่มของเพศที่สาม ปัจจุบันนี้มีสัญญาณที่บอกว่า “เป็นมิตร” กับสิทธิโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของรัฐที่จะยกการประเด็นตามรัฐธรรมนูญในการยื่นพระราชบัญญัติคุ้มครองการแต่งงาน (DOMA)
ในปัจจุบันนี้ รัฐอิสระในสหรัฐอเมริกา เช่น คอมมอนเวลท์ของแมสซาชูเสสมีการเรียกร้องของประชาชนให้มีการวางมาตรการให้เป็นไปตามกฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมายและ หรือ รับรองการแต่งงานหรือสถานะของเพศเดียวกัน ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริง รัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้ให้สิทธิส่วนกลาง (เช่น สิทธิประโยชน์การเข้าเมือง) แม้ว่ผู้ที่แต่งงานในเขตรัฐอิสระในสหรัฐอเมริกา
ในความเห็นของผู้เขียน ประเด็นเรื่องการแต่งงานของเพศเดียวกันในสหรัฐอเมริกาอาจจะได้รับการคลี่คลายโดยศาลสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นคดีที่ตัดสินโดยศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา บทความนี้ให้ข้อคิดเห็นหลังจากประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อถือและความสุจริต และหลักพื้นฐานความเชื่อถือและความสุจริตของรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา สิ่งที่พึงระลึกถึงคือ ผู้อ่านพึงเข้าใจว่า ประเด็นเหล่านี้ได้รับผลลัพธ์เต็มรูปแบบแล้ว
ในขณะเดียวกันเป็นสิ่งที่ปรากฏว่า นักเคลื่อนไหวในกลุ่มของเพศที่สามนานาชาติได้ดำเนินการที่จะให้สิทธิที่เท่าเทียมกันในส่วนอื่นๆของโลกในฐานะของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นที่ตีพิมพ์ในประเทศไทยรายงานว่า นักเคลื่อนไหวเพศที่สาม กำลังหาเสียงสนับสนุนทางการเมืองในประเด็นที่เกี่ยวกับการแต่งงานของเพศเดียวกันในการจัดการเลือกตั้งในประเทศไทย อ้างโดยตรงจากเว็บไซต์ที่เป็นทางการของเนชั่น เนชั่นมัลติมีเดีย ดอทคอม:
นักเคลื่อนไหวที่เรียกว่า “เพศที่สาม” เช่น เกย์ เลสเบี้ยน และการแปลงเพศ ได้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อที่จะผ่านกฎหมายการแต่งงานเพศเดียวกัน นที ธีระโรจนพงศ์ ประธานของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มการเมืองเกย์ของประเทศไทย และนักร้องที่แปลงเพศแล้วที่เป็นที่รู้จักคือ จิม ซาร่าห์ (สุจินรัตน์ ประชาไทย)กล่าวเมื่อวานนี้ว่า เขาไปยังพรรคประชาธิปัตย์และเพื่อไทยวันนี้เพื่อที่จะถามถึงงสิทธิของเพศที่สามหากพรรคจะเป็นผู้นำในรัฐบาลต่อไป กลุ่มของพวกเขากำลังหาพันธะสัญญาจากหลายๆฝ่ายและเขาควรจะได้รับการสัญญาตามที่เขาสนับสนุนหลายๆฝ่าย
ผู้เขียนเว็บบล็อกนี้ขอแนะนำให้ผู้อ่านคลิกในลิงค์ข้างบนเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากมุมมองและบความที่กล่าวถึงข้างต้น
ผู้อ่านควรตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการกล่าวถึงประเด็นเรื่องกลุ่มเพศที่สาม (LGBT) วัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยวและการพักผ่อน ประเทศไทยเป็นจุดหมายของนักเดินทางที่ทั้งกลุ่มเพศที่สามและคู่ของพวกเขา ตามที่อ้างถึง ภายใต้กฎหมายไทยยังไม่มีกการรอรับการแต่งงานของคู่เพศเดียวกัน ดังนั้นเป็นไปไม่ได้ที่คู่เพศเดียวกันจะจดทะเบียนสมรสที่อำเภอ (สำนักงานเขต)ในแบบเดียวกับที่คู่ต่างเพศมีสิทธิ ตามที่กล่าวมาแล้ว สส.ของประเทศไทยอาจจะนำเอาประเด็นนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าว ประเด็นนี้จะมีการนำไปเสนอในการเลือกตั้งอย่างไร เป็นสิ่งที่แสดงถึงความน่าสนใจของมัน
ในการวิเคราะห์ประเด็นการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาในบริบทของไทยพึงระลึกถึงว่า ถ้าประเทศไทยเริ่มที่จะอนุญาตให้มีการจดทะเบียนสมรสของคู่เพศเดียวกันและสหรัฐอเมริกาผ่านการร่างกฎหมายตามที่กล่าวมาข้างต้น UAFA ซึ่งในอนาคตข้างหน้า คู่เพศเดียวกันท่เป็นชาวไทย อเมริกันสามารถที่จะจดทะเบียนสมรสในประเทศไทยและใช้สิทธิประโยชน์ในเรื่องการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกาเช่น วีซ่า เค-3, วีซ่าซีอาร์-1, หรือวีซ่าไออาร์1 ตามที่กล่าวมาแล้วนั้นต้องงอาศัยกระบวนการตามกฎหมายและนโยบายในปัจจุบัน
To view this post in English please see: legal.
4th January 2011
สถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเทพฯ ประเทศไทย: ตารางวันหยุดทำการประจำปี 2554
Posted by : admin
สำหรับผู้ที่อ่านบล็อกอยู่เป็นประจำคงไม่มีข้อสงสัยว่า ทำไมผู้เขียนจึงพยายามที่จะแจ้งตารางวันหยุดของสถานทูตสหรัฐอเมริกาและภารกิจนอกสหรัฐอเมริกาเพื่อความสะดวกแก่ผู้เดินทางที่ต้องการใช้บริการในต่างประเทศ ข้างล่างนี้เป็นวันหยุดของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยตามที่อ้างในเว็บไซต์ทางการของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
เดือน |
วันที่ |
วัน |
วันหยุด |
มกราคม |
17 |
จันทร์ |
วันพระราชสมภพกษัตริย์มาร์ติน ลูเธอร์ |
กุมภาพันธ์ |
21 |
จันทร์ |
|
เมษายน |
6 |
พุธ |
วันจักรี |
เมษายน |
13 |
พุธ |
วันสงกรานต์ |
เมษายน |
14 |
พฤหัสบดี |
วันสงกรานต์ |
เมษายน |
15 |
ศุกร์ |
วันสงกรานต์ |
พฤษภาคม |
5 |
พฤหัสบดี |
วันฉัตรมงคล |
พฤษภาคม |
17 |
อังคาร |
วันวิสาขบูชา |
พฤษภาคม |
30 |
จันทร์ |
|
กรกฎาคม |
4 |
จันทร์ |
วันนประกาศอิสรภาพ |
สิงหาคม |
12 |
ศุกร์ |
วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ |
กันยายน |
5 |
จันทร์ |
วันแรงงาน |
ตุลาม |
10 |
จันทร์ |
|
ตุลาคม |
24 |
จันทร์ |
วันหยุดชดเชยวันปิยมหาราช |
พฤศจิกายน |
11 |
ศุกร์ |
|
พฤศจิกายน |
24 |
พฤหัสบดี |
|
ธันวาคม |
5 |
จันทร์ |
วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช |
ธันวาคม |
12 |
จันทร์ |
วันหยุดชดเชยวันรัฐธรรมนูญ |
ธันวาคม |
26 |
จันทร์ |
วันหยุดชดเชยวันคริสต์มาส |
ผู้ที่ประสงค์จะรับบริการของกงสุลเช่นบริการรับรองลายมือชื่อ และหรือการออกหนังสือรายงานการเกิดในต่าง
ประเทศ การทำวีซ่าอเมริกาหรือบริการอื่นๆเกี่ยวกับวีซ่าที่ต้องติดต่อกับส่วนบริการพลเมืองสัญชาติอเมริกันในท้องที่ที่ตั้งอยู่
ในแต่ละปี มีคู่ไทย-อเมริกันเลือกที่จะรับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับคนเข้าเมืองในลักษณะของวีซ่าประเภท K1 หรือ วีซ่าประเภท CR1 ในขณะเดียวกันบริษัทข้ามชาติหลายๆบริษัทหรือนักลงทุนที่ไม่ใช่ผู้มีถิ่นฐานถาวรที่กำลังมองหาแหล่งลงทุนและธุรรกิจโดยอาศัยวีซ่าประเภทL-1สำหรับการรับโอนบริษัทภายใน วีซ่าประเภทE-2สำหรับนักลงทุนที่เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา หรือวีซ่าประเภท EB-5สำหรับผู้ที่ลงทุนในสหรัฐอเมริกาอย่างน้อย 500,000 ดอลลาห์สหรัฐในธุรกิจในสหรัฐอเมริกา ในหลายๆกรณีผู้สมัครชาวไทยที่ยื่นขอวีซ่าดังกล่าวต้องดำเนินการตามขั้นตอนของการขอวีซ่ากับหน่วยวีซ่าหรือหน่วยการเดินทางธุรกิจของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
ผู้ที่ถือสัญชาติไทยที่กำลังมองหาวีซ่าผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานถาวรเช่น วีซ่าประเภท J-1(วีซ่าประเภทแลกเปลี่ยนผู้เยี่ยมเยียน) วีซ่าประเภท F-1 (วีซ่านักเรียน) วีซ่าประเภท B-2(วีซ่าท่องเที่ยว) ต้องดำเนินการยื่นคำขอผ่านทางหน่วยบริการวีซ่าประเภทผู้ที่ไม่มีถิ่นฐานถาวรในกรุงเทพฯถ้าผู้สมัครชาวไทยอาศัยอยู่ในเขตอำนาจของกงสุลของสถานทูตอเมริกาในกรุงเทพฯซึ่งตรงข้ามกับเขตอำนาจของกงสุลที่เชียงใหม่ ประเทศไทย
To view this information in English please see: US Embassy.
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.