Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
24th Aug 2013
หลังจากการที่ศาลตัดสินคดี Windsor ที่มีการอ้างว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีคู่รักเพศเดียวกันหลายคู่ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอพยพเข้าเมืองของสหรัฐ ทาง USCIS และกระทรวงมหาดไทยของสหรัฐฯ เคยตอบคำถามเรื่องนี้มามากแล้ว และผมเคยปรึกษาหารือเรื่องคำตอบเหล่านี้ ใน Blog นี้มาก่อน แต่กระผมได้สังเกตว่า USCIS ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องนี้ใน website ของ USCIS:
Q1: ข้าฯ เป็นพลเมืองของสหรัฐ หรือเป็นผู้อาศัย (Permanent Resident) และมีคู่สมรสของข้าฯ เป็นคนเพศเดียวกันและเป็นคนต่างชาติ ขาฯ สามารถรับรองการขอ VISA ย้ายถิ่นที่อยู่ให้กับคู่ของข้าฯ ได้หรือไม่ ? (ใหม่)
A1: ได้ ท่านสามารถยื่นแบบ Form I-130 (และเอกสารอื่น ๆ) สิทธิในการขอย้ายที่อยู่จะพิจารณาตัดสินตามกฎต่างๆ ของการเข้าเมือง และจะไม่ใช้ความเป็นคู่สมรสเพศเดียวกันมาเป็นตัวแปรในการตัดสิน
นอกจากนี้คนอเมริกันหรือ Permanent Resident สามารถยื่นคำขอ คือ IR 1 Visa, CR 1 Visa หรือตัวเสริมคือ K3 Visa เพื่อให้คู่สมรสเข้าเมือง นอกจากนี้ เมื่อยื่นขอ Visa ที่สถานฑูตหรือสถานกงศุลของสหรัฐฯ การพิจารณาการขอ Visa จะพิจารณาเช่นเดียวกับ การพิจารณาการขอ Visa ของคู่สมรสต่างเพศ
ประเด็นที่หลายคู่สงสัย คือ ข้อแตกต่างระหว่างรัฐที่อาศัยอยู่กับรัฐที่จดทะเบียยนสมรส เพราะมีไม่กี่รัฐที่อนุญาติให้คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรส ในขณะที่บางรัฐไม่ยอมรับการสมรสระหว่างเพศเดียวกัน และอาจะไม่อนุญาติให้จดทะเบียน USICS ได้อธิบายเพิ่มเติมในประเด็นนี้:
Q3: ข้าฯ และคู่สมรสได้จดทะเบียนในรัฐ ในสหรัฐฯ หรือในประเทศที่ยอมรับ การสมรสระหว่างคนเพศเดียวกัน แต่เราอาศัยในรัฐที่ไม่อนุญาติให้จดทะเบียนสมรส ข้าฯ สามารภยื่นขอให้คู่ครองย้ายเข้าเมืองได้หรือไม่
A3: ได้เพราะ สถานภาพการสมรส จะพิจารณาจากรัฐที่ได้ทำการจดทะเบียน หากกฎหมายของรัฐนั้นอนุญาตให้ คนเพศเดียวกันจดทะเบียนสมรสได้ ถือว่าเป็นการจดทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วใช้ในการประกอบการพิจารณา การขอย้ายเข้าเมืองได้
อาจมีบางกรณีที่จะมีผลทำให้ กฎหมายของที่อาศัยมีผลต่อบางประเด็น แต่โดยรวมแล้ว ทาง USCIS จะนำกฎหมายของรัฐที่คู่สมรสได้ดำเนินการจดทะเบียน มาใช้ในการพิจารณาการขอย้ายถิ่นที่อยู่
นอกจากนี้ ข้าฯ ก็ไม่เคยได้ยินว่า Section 2 ของ DOMA จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดูด้จากคำอธิบายต่อไปนี้:
Q5: Form I-130 หรือคำขออื่นๆได้ถูกปฎิเสธโดยอ้างกฎของ DOMA เพียงอย่างเดียว ข้าฯ ควรทำอย่างไรต่อ?
A5: USCIS จะนำคำขอที่ถูกปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3 มาพิจารณาอีกรอบ ถ้าหากมีข้อมูลเรื่องธุรกรรมเหล่านี้ USCIS จะนำคำตัดสินมาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งจะปฎิบัติเช่นนี้กับทุกกรณีที่ได้รับการปฎิเสธ ใน Form I-130 (เช่น Form I-485 ที่นำยื่นในเวลาเดียวกัน)
- USCIS จะนำ Form I-130 ที่ได้รับการปฎิเสธเนื่องจาก DOMA Section 3 หลัง 23 กพ. 2011 มาพิจารณาอีกรอบ และ USCIS จะติดต่อไปยังผู้ยื่นคำขอโดยใช้ที่อยู่ในใบคำขอ เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
- หากคุณได้มีคำขอที่ได้รับการปฎิเสธ เนื่องด้วย กรณีดังกล่าวข้างต้น คุณสามารถส่ง email ส่วนตัว (ที่สามารถรับคำตอบได้) ไปยัง USCIS <[email protected]> เพื่อแจ้งการร้องเรียน ทาง USCIS จะตอบอีเมล์แล้วขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา
- ถ้าหากการปฎิเสธ คำขอ I-130 เกิดขึ้นก่อน 23 กพ. 2011 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2014 เพื่อให้ USCIS ดำเนินการเปิด I-130 ของคุณ กรุณาแจ้งจำนงไปยัง < [email protected] > โดยเขียนว่า ทางคุณมีข้อสงสัยว่า การยื่นคำขอของคุณได้รับการปฎิเสธเพราะ DOMA Section 3
พอทางการเริ่มพิจารณา I-130 ของท่าน จะเสมือนเป็นการพิจารณาใหม่โดยไม่คำนึงถึง DOMA Section 3 แล้วจะพิจารณาตามข้อมูลเก่า และข้อมูลเพิ่มเติม ในเวลาเดียวกัน USCIS จะนำคำขออื่นๆ มาพิจารณาตามความจำเป็น หากคำขอเหล่านั้น ถูกปฎิเสธ เนื่องจากการปฎิเสธ I-130 (เช่น Form I-485 เป็นต้น)
นอกจากนี้การขออนุญาติทำงานที่ถูกปฎิเสธเนื่องจากการปฎิเสธ Form I-48S ก็จะนำมาพิจารณาต่อ และจะออกใบอนุญาติทำงานหากอนุมัติ หากการตัดสินเกิดการล่าช้า USCIS จะ (1) ยื่นเรื่องใหม่ทันที หรือ (2) พิจารณาและอนุมัติคำขอที่เคยถูกปฎิเสธ
- หากมี form อื่นๆ (นอกจาก I-130) ที่ได้รับการปฎิเสธเรื่องจาก DOMA section 3 กรุณาแจ้ง USCIS ก่อน 31 มีค. 2013 โดยส่ง email ไปยัง <[email protected]>
จะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในการร้องขอให้ USCIS นำคำขอมาพิจารณาใหม่ แต่หากท่านต้องการยื่นคำขอใหม่ ท่านสามารถทำได้พร้อมจ่ายค่าธรรมเนียม ตามที่แจ้งได้
USCIS จะดำเนินธุรกรรมตามกฎและนโยบายของศาลสูง ซึ่งการนำใบสมัครของคู่สมรสที่มีเพศเดียวกันมาพิจารณาอีกรอบ ชี้ให้เห็นว่า ทางองค์กรมุ่งที่จะส่งเสริมความเท่าเทียมของครอบครัวทุกประเภท
หากท่านต้องการข้อมูลจาก Website หาได้ที่: วีซ่าคู่เพศเดียวกัน
Tags: CR-1 Visa, CR-1 วีซ่า, CR1 วีซ่า, Defense of Marriage Act, DOMA, DOMA Section 3, I-129f, I-130, IR-1 Visa, IR-1 วีซ่า, IR1 วีซ่า, K-1 วีซ่า, K-3 วีซ่า, K1 วีซ่า, K3 Visa, K3 วีซ่า, LGBT, LGBT วีซ่า, LGBTQ, กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง, การยื่นขอวีซ่า, การแต่งงานเพศเดียวกัน, คู่เพศเดียวกัน, วีซ่า, วีซ่าคู่หมั้น, วีซ่าคู่หมั้นของเลสเบี้ยน, วีซ่าคู่หมั้นเกย์, วีซ่าคู่เพศเดียวกัน, วีซ่าสหรัฐฯ, วีซ่าอเมริกัน
Leave a Reply
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.