
Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
Posts Tagged ‘K3’
13th April 2010
การแต่งงานในประเทศไทยได้รับการยอมรับในสหรัฐอเมริกาหรือไม่?
Posted by : admin
For information in English please see: marriage registration.
มีคนหลายคนแต่งงานในประเทศไทยในแต่ละปี เราได้รับคำถามเกี่ยวกับการยอมรับการสมรสในประเทศไทยจากลูกค้าชาวต่างชาติมากมาย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศในระบอบคอมมอนลอว์ และเพราะเหตุนั้นการสมรสตามกฎหมายคอมมอนลอว์ไม่สามารถใช้ยันในศาลไทยได้ นั่นหมายความว่าแม้ประเทศไทยจะเป็นระบบกฎหมายซีวิลลอว์ การแต่งงานตามประเภณีหรือตามศาสนายังคงเป็นเรื่องที่ปกติ นี่อาจจะมีสาเหตุมาจากการจดทะเบียนสมรสเป็นไปค่อนข้างยาก โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับระบบกฎหมายไทยและหน่วยงานราชการของไทย
ในประเทศไทย การสมรสคือการจดทะเบียนที่สำนักงานอำเภอ สำนักงานนี้เป็นหน่วยงานที่รับข้อมูลด้านสำมะโนประชากร และในระบบอเมริกันเราเรียกว่า Court Clerk อำเภอจะเก็บข้อมูลของบุคคลที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตนั้นๆ ดังนั้นอำเภอจะเก็บข้อมูลการเปลี่ยนชื่อ การสมรส การเกิด และการตายในประเทศไทย เป็นไปได้ที่บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยสองคนจะสมรสกันในประเทศไทย อนึ่ง สำนักงานแต่ละแห่งจะมีระเบียบภายในของตนเอง ดังนั้นคุณควรปรึกษาทนายเพื่อช่วยเหลือในการจดทะเบียนสมรส
เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยแล้ว คำถามคือ สหรัฐอเมริกายอมรับการสมรสนั้นหรือไปไม่ พูดง่ายๆก็คือ ยอมรับ ตามเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทยนั้น ในกรณีที่การสมรสได้ทำขึ้นตามกฎหมายในราชอาณาจักร “ประเทศสหรัฐอเมริกายอมรับความสมบูรณ์ของการสมรสนั้น” นี่เป็นคำถามสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเกี่ยวกับวีซ่าสหรัฐอเมริกา หากว่าการสมรสของคู่สมรสนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากสหรัฐอเมริกา คำขอวีซ่า CR1 หรือ K3 สำหรับคู่สมรสก็จะถูกปฏิเสธ เนื่องจากคู่สมรสไม่มีคุณสมบัติที่จะออกวีซ่าให้ อีกทั้งสำหรับคู่รักที่ต้องการขอวีซ่า K1 สำหรับคู่หมั้น ก็อาจจะเกิดมาจากการที่ทั้งคู่ได้สมรสกันในประเทศไทยโดยคิดว่าสหรัฐอเมริกาไม่ยอมรับการสมรสนั้น ในกรณีนั้น USCIS จะถูกบังคับให้ต้องปฏิเสธคำขอเนื่องจากคำขอขาดคุณสมบัติ “เจตนาที่จะสมรส” ไม่ใช่จากการสมรสนั้น
มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของไทยที่ต้องเกี่ยวกับการทำสัญญาก่อนสมรส ในประเทศไทย สัญญาก่อนสมรสจะถูกบันทึกไว้พร้อมกับการจดทะเบียนสมรสที่อำเภอใน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูเรื่อง สัญญาก่อนสมรสของไทย
เพื่อเป็นการสรุป การสมรสที่ทำขึ้นอย่างถูกต้องในประเทศไทยถือว่าสมบูรณ์ในประเทศสหรัฐอเมริกา และเพื่อวัตถุประสงค์ในการขอวีซ่าอเมริกา หรือเพื่อผลประโยชน์ทางกฎหมายคนเข้าเมืองอื่นๆ ดังนั้นการสมรสในประเทศไทยไม่ใช่สิ่งที่ควรให้ความสำคัญเพียงเล็กน้อย เมื่อคิดจะทำการสมรสในประเทศไทย โปรดจำไว้ว่าการสมรสนั้นจะถูกปฏิบัติเหมือนการสมรสที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
12th April 2010
For information in English please see: US Visa Thailand.
การถูกปฏิเสธวีซ่าไม่ใช่สิ่งที่คนที่กำลังศึกษาข้อมูลเพื่อขอวีซ่าอยากจะนึกถึง อย่างไรก็ตามการที่วีซ่าถูกปฏิเสธเกิดขึ้นและหากเราทำความเข้าใจเหตุผลของการถูกปฏิเสธ ก็อาจจะทำให้ผู้ที่คิดจะอพยพเข้าเมืองทำการตัดสินใจโดยอ้างอิงข้อมูลว่าจะต้องมีวิธีการในการเข้าเมืองอย่างไร
เมื่อพูดถึงการเข้าเมืองโดยเหตุผลทางครอบครัว การประเมินที่ผิดพลาดก็มักจะเกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น หากว่าบุคคลสัญชาติอเมริกันมีคู่หมั้นชาวไทยและเขาต้องการช่วยขอวีซ่าท่องเที่ยวให้กับเธอ วีซ่าก็มักจะถูกปฏิเสธ เรื่องที่ไม่ได้เกิดจากอคติใดๆของเจ้าหน้าที่กงสุลอเมริกัน แต่ว่ามันมีเหตุมาจากกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน
น่าจะดีที่สุดหากจะยกเอาประโยคพื้นๆจากเว็บไซติกระทรวงต่างประเทศสหรัฐมาให้อ่านกัน
“มาตรา 214(b) เป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ” กล่าวว่า
“บุคคลต่างด้าวทุกคนให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจะเป็นผู้อพยพ จนกว่าผู้นั้นสามารถแสดงให้พอใจแก่เจ้าหน้าที่กงสุล ในเวลาที่ยื่นคำขอเข้าเมือง ว่าบุคคลผู้นั้นสามารถได้รับสถานภาพผู้เข้าเมืองไม่อพยพ”
ในอันที่จะมีคุณสมบัติในการออกวีซ่าท่องเที่ยวหรือวีซ่านักเรียนให้ ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรา 101(a)(15)(B) หรือ (F)แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ การไม่สามารถแสดงคุณสมบัติดังกล่าวได้จะทำให้มีเหตุในการปฏิเสธวีซ่าตามมาตรา 214(b) เหตุผลพื้นฐานของการปฏิเสธตามมาตรานี้เกี่ยวกับคุณสมบัติที่ว่านักท่องเที่ยวหรือนักเรียนนักศึกษาผู้นั้นต้องมีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งไม่มีเจตนาละทิ้ง ผู้ขอวีซ่าสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของถิ่นที่อยู่นั้นโดยการแสดงความเชื่อมโยงที่บีบบังคับให้ต้องออกจากประเทศสหรัฐเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา กฎหมายกำหนดให้เป็นภาระการพิสูจน์ของผู้ยื่นขอวีซ่า”
การเอาชนะข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพมักจะเป็นอุปสรรคขนาดใหญ่แต่การปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรานี้เพิ่งจะแพร่หลายหลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยายน มีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหลายๆอย่างในการขอวีซ่าไม่อพยพ การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือผู้ขอวีซ่าท่องเที่ยวจะต้องถูกสัมภาษณ์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ การเปลี่ยนแปลงข้อนี้ รวมถึงมาตรการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นทำให้วีซ่าท่องเที่ยวถูกปฏิเสธมากขึ้น ในหลายๆกรณีการปฏิเสธตามมาตรา 214b เกิดจากการที่ผู้ขอวีซ่าไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าจะกลับมายังประเทศแม่ได้ หรืออย่างน้อยที่สุดจะออกจากสหรัฐอเมริกา
เมื่อผู้ขอวีซ่าเป็นคนรักของบุคคลสัญชาติอเมริกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลสัญชาติอเมริกันนั้นพำนักอยู่ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นไปได้อยากที่จะมีการอนุมัติวีซ่าท่องเที่ยวให้นอกจากว่าผู้ขอจะสามารถแสดง ความเกี่ยวโยงที่แข็งแรง ต่อประเทศแม่ให้ประจักษ์ อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เสียเวลาและทรัพยากร น่าจะเป็นการดีกว่าที่คู่รักจะขอวีซ่า K1 หรือ K3 วีซ่า K1 เป็นวีซ่าชั่วคราวที่ให้คุณอยู่ในสหรัฐอเมริกาได้เป็นการชั่วคราว แต่เปิดช่องว่างภายใต้ทฤษฎีเจตนามากกว่าหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ถือกรีนการ์ดอเมริกา
9th April 2010
To see related information in English please see: 221g.
ยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการที่วีซ่าถูกปฏิเสธภายใต้มาตรา 221 (G ) สำหรับคำร้องขอวีซ่าจากประเทศไทย การปฏิเสธวีซ่าตามมาตรา 221 (G ) ก็คือการปฏิเสธเพื่อขอหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อเจ้าหน้าที่กงสุลตัดสินใจว่าจะออกวีซ่าสหรัฐอเมริกาให้หรือไม่ ( ในการนี้ให้ดูเรื่อง วีซ่าคู่หมั้น K1, K3 หรือ วีซ่าคู่สมรส CR1 ) เจ้าหน้าที่จะทำการสืบเสาะข้อเท็จจริงเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขอวีซ่าเป็นบุคคลตามที่กล่าวอ้างจริง และจะเดินทางไปสหรัฐอเมริกาด้วยเหตุผลที่มีมูล ( ในกรณีเช่นนี้หมายความว่าต้องเป็นการเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์ความสัมพันธ์ทางครอบครัวกับผู้ร้องสัณชาติอเมริกัน )
คู่รักบางคู่มีความกังวลใจเมื่อได้รับ แบบ 221 (G) และก็อาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ขอวีซ่ามาจากต่างจังหวัด ซึ่งก็เป็นปัญหาได้ หากว่าผู้ขอวีซ่ามีสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน ) อยู่ต่างจังหวัดและเป็นการยากต่อการเดินทางกลับไป บ่อยครั้งที่เอกสารที่ถูกเรียกจะต้องออกโดยอำเภอที่ผู้ขอวีซ่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แม้ว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับสถานทูตที่จะออก คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมในลักษณะนี้ แต่ก็สามารถเป็นเรื่องลำบากสำหรับผู้ขอวีซ่าชาวไทยที่จะไปนำเอกสารที่จำเป็นนั้นมาให้ได้
การปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 (g) นี้โดยทั่วไปแล้วจะให้เวลาผู้ขอวีซ่า 1 ปีในการหาเอกสารที่ได้รับการร้องขอก่อนที่สถานทูตจะทำการทำลายไฟล์ของคุณ หากไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอนี้ ก็อาจจะทำให้คำร้องขอวีซ่าของคุณถูกยกเลิกและต้องเริ่มกระบวนการใหม่อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) อาจจะเป็นการดีที่จะขอความช่วยเหลือจากทนายความด้านกฎหมายคนเข้าเมือง เพื่อป้องกันการปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะได้มีการจ้างทนายความแล้ว คุณก็ยังคงสามารถถูกปฏิเสธวีซ่าภายใต้มาตรา 221 ( G) ได้ หากว่ามีเอกสารอื่นที่จำเป็นต้องแสดง เจ้าหน้าที่กงสุลมีอำนาจดุลพินิจอย่างกว้างขวางตามอำนาจเด็ดขาดของกงสุล ดังนั้น คำร้องขอเอกสารเพิ่มเติมโดยเจ้าหน้ากงสุลเป็นเรื่องที่คุณต้องให้การตอบรับคำร้องขอนั้นภายในเวลาที่กำหนดให้
15th May 2009
Visas for Americans Married to Foreign Nationals
Posted by : admin
US Visas for Immediate Relatives related by Marriage
For those who wish to bring their family to the United States there are options under United States Immigration Law that allow immediate relatives of American Citizens entry into the United States as well as the possibility of permanent residence. At one time, the most common method of bringing a loved one to the United States was by marriage and petitioning for an immediate relative visa to the USA. The application for an Immediate Relative Visa was the I-130.
Congress then passed legislation creating two visa categories, where before there had been only one, for relatives related by marriage. Currently, there is what is known as a CR-1 visa which stands for Conditional Resident Visa. The conditionality of this visa means that the visa is conditioned upon the marriage lasting for two years. The other type of marriage visa is the IR-1 Visa. This visa is a Immediate Relative visa and there are no conditions implied with this visa.
As the legal situation evolved and the backlog of Immigration petitions increased, it became necessary to provide a more expedited visa for spouses of American Citizens. For this reason, legislation creating the K3 visa was enacted.
As recently as 2 months ago, this author advised clients that the K3 was an efficient and expeditious method of bringing a spouse to the USA in comparison to the CR-1 or IR-1 Visas. However, the United States Citizenship and Immigration Service (USCIS) has recently cleared a great deal of its backlog of cases and as a result the processing times for the I-129f petition (the Supplemental petition filed in order to obtain a K3 visa, those seeking a K1 visa will recognize this as the application form for that visa category) are nearly the same as the I-130 petition.
A K3 visa has many advantages and tactical uses, but the speed advantage of the K3 visa has recently been diminished by the faster processing time of the I-130 petitions. The I-130 is currently processing quickly, but the backlog could increase again later, although it does not seem likely. At its inception the K3 visa was being issued as a multiple entry non-immigrant visa with a validity of ten years. However, at the time of this writing, the K3 visa is being issued with a validity of two years. CR-1 Visas conditional period lasts for two years while IR-1 Visas, as mentioned previously, are unconditional
Deciding which category of US marriage visa to use is a decision that should be made after thoughtful study and consultation with the loved one who will be immigrating as well as an attorney should a couple find it necessary to retain one.
(Note: The information contained herein is meant for general use only and is not meant as a commentary on specific situations. This writing should not be used as an alternative for personalized legal advice from a competent attorney. No Lawyer-Client relationship is created between the reader and writer of this piece.)
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.