blog-hdr.gif

Integrity Legal

Posts Tagged ‘วีซ่าถาวรอเมริกา’

3rd May 2010

For information in English please see: K3 Visa.

วีซ่าเค ทรี ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นทางเลือกด่วนของวีซ่าคู่สมรสถาวร เช่นวีซ่า IR1 และ CR1 สมัยก่อนการขอวีซ่าคู่สมรสถาวรต้องใช้เวลาถึง 3 ปีซึ่งเป็นเหตุผลที่สภาคองเกรสได้ให้มีวีซ่า เค ทรี อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความจำเป็นที่จะต้องมีวีซ่าเค ทรี ได้มีน้อยลงเมื่อเทียบกับเวลาดำเนินการที่ใช้ในอดีต วีซ่าคู่สมรสถาวรใช้เวลาประมาณ 11-12 เดือน เมื่อเทียบระยะเวลานี้กับระยะเวลาขอวีซ่าเค ทรี ก็จะเห็นได้ว่าวีซ่าเค ทรีนั้นมีความจำเป็นน้อยลงทุกที

และเพราะเหตุนั้น NVC สังกัดกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับวีซ่า เค ทรี ข้อความต่อไปนี้ ตัดมาจากบทความตีพิมพ์ของกระทรวงต่างประเทศเผยแพร่ สมาคมทนายความคนเข้าเมือง (AILA)

ประกาศสำคัญ : มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เมื่อคำขอ I-129F สำหรับวีซ่าเค ไม่ถาวี และ คำขอ I-130 สำหรับวีซ่า IR1 หรือ CR1 สำหรับคู่สมรสของบุคคลสัญชาติสหรัฐได้รับการอนุมัติจาก USCIS และถูกส่งมาที่ NVC การมีอยู่และความจำเป็นที่จะต้องออกวีซ่าไม่ถาวร เค ทรี ถือว่าสิ้นสุดลง หากว่า NVC ได้รับคำร้องทั้งสองประเภท:

วีซ่าเคไม่ถาวรจะถูกปิดเรื่อง ขั้นตอนการยื่นขอวีซ่าที่อธิบายไว้ด้านล่างไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกต่อไป

NVC จะติดต่อผู้ยื่นขอและตัวคุณพร้อมทั้งขั้นตอนในการดำเนินการวีซ่าถาวร IR1 (หรือ CR1 ) สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการขอวีซ่า โปรดดูหน้าเว็บไซต์วีซ่าถาวรสำหรับคู่สมรส หากว่า NVC ไม่ได้รับคำขอ I-130 และ I 129F ในเวลาเดียวกันจะเดินเรื่องคำขอ I 129F (K1) ของคุณ และจะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลในประเทศที่การสมรสเกิดขึ้น หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา NVC จะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลประเทศที่คุณมีสัญชาติ หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศที่ไม่มีสถานทูตอเมริกัน หรือ เป็นสถานทูตที่ไม่สามารถออกวีซ่าให้ได้ NVC จะส่งคำขอไปยังสถานทูตหรือกงสุลที่ดำเนินการด้านวีซ่าให้แก่คนสัญชาตินั้นๆ ตัวอย่างเช่น หากว่าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศอิหร่านซึ่งสหรัฐอเมริกาไม่มีสถานทูตอยู่ คำขอวีซ่าจะถูกส่งไปยังประเทศตุรกี” NVC

มีบางคนชอบถามตัวเองว่า ทั้งหมดนี้หมายความว่าอย่างไร USCIS พิจารณาคำขอวีซ่าทั้งหมดและเมื่ออนุมัติ จะส่งต่อไปยัง NVC ซึ่ง NVC จะจัดการกับคำขอวีซ่า เค ทรี ก่อนที่จะส่งไปยังกงสุลหรือสถานทูตในต่างประเทศ (สำหรับคำขอที่จะต้องดำเนินการในประเทศไทย NVC จะจัดการคำขอก่อนที่สถานทูตสหรัฐประจำกรุงเทพมหานครจะได้รับเรื่อง )

ประเด็นสำคัญคือ NVC จะไม่ดำเนินการวีซ่าเค ทรี หากว่าคำขอวีซ่าถาวรนั้นมาถึง NVC ก่อนหรือพร้อมกับคำขอวีซ่า เค ทรี ในทางปฏิบัติคำขอวีซ่าเค ทรี ทั้งหมดมีคู่ฉบับวีซ่าถาวร เชื่อได้ว่า โดยส่วนมาก  NVC รับคำขอพวกนี้ในเวลาไล่เลี่ยกัน หรือเกือบจะพร้อมๆกัน อาจจะมีบางกรณีที่คำขอเค ทรีไปถึง NVC ก่อนคำขอวีซ่าถาวร แต่โดยส่วนใหญ่นี่ไม่ใช่ประเด็น จากการสังเกตพบว่าอาจจะไม่มีวีซ่าเค ทรีสำหรับผู้ที่ต้องการขอวีซ่าคู่สมรสเนื่องจากคำขอวีซ่าถาวรจะถึง NVC ก่อน หรือพร้อมๆกับคำขอวีซ่า เค ทรี นั่นเอง

more Comments: 04

27th April 2010

ภายใต้มาตรา 214b แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ เจ้าหน้าที่กงสุลสามารถปฏิเสธวีซ่าชั่วคราว ( เจ วัน , เอฟ วัน, บี วัน และ บี ทู ) หากเชื่อว่าคนต่างด้าวผู้ยื่นขวีซ่าไม่สามารถโต้แย้งข้อสันนิษฐานว่าจะอพยพเข้าเมืองได้ ในบางกรณี กงสุลาจจะออกวีซ่าท่องเที่ยวให้ แต่คนต่างด้าวก็อาจถูกปฏิเสธขณะจะเข้าประเทศได้เช่นกัน

คนต่างด้าวได้รับวีซ่าแล้วแต่ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศได้อย่างไร ? มีความเข้าใจผิดๆที่ว่า ถ้าได้วีซ่าแล้วก็เท่ากับว่า มีสิทธิเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ อันที่จริง เจ้าหน้าที่ศุลกากรและ ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองมีดุลยพินิจที่จะปฏิเสธคนต่างด้าวไม่ให้เข้าเมืองได้ ถ้าเชื่อว่ามีเหตุให้ปฏิเสธ หากว่าเจ้าหน้ามีมีเหตุให้เชื่อว่าคนต่างด้าวมีวัตถุประสงค์อพยพ ก็มีสิทธิปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองและยังมีอำนาจดุลพินิจในการเร่งส่งตัวกลับเพื่อจัดการให้คนต่างด้าวออกนอกประเทศได้อีกด้วย

ความในพระราชบัญญัติสัญชาติกล่าวว่า

ตามมาตรา 212 (a)(7)(A)(i) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ ผู้อพยพคนใด ในขณะที่ยื่นคำขอเข้าเมือง :

ไม่ได้ถือวีซ่าถาวรที่ยังไม่หมดอายุ คำขอกลับเข้ามาใหม่ หรือหนังสือสำคัญประจำตัวในการผ่านด่าน หรือหนังสือสำคัญอื่นๆที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองและสัญชาติ และหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ หรือ เอกสารเดินทางอื่นๆที่ใช้ได้ในลักษณะเดียวกันภายใต้กฎเกณฑ์คนเข้าเมือง หรือวีซ่าที่ไม่ได้ออกให้โดยสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสัณชาติและคนเข้าเมืองสามารถถูกกันไม่ให้เข้าเมืองได้ (จากสหรัฐอเมริกา )

การขอละเว้นโทษมีอยู่ภายใต้มาตรา 212(k) ซึ่งสำนักอัยการสูงสุดพอใจว่าการกันไม่ให้เข้าเมืองนั้นไม่สามารถทราบได้ และไม่สามารถทราบได้แน่นอนโดยดุลวินิฉัยของคนต่างด้าวนั้นก่อนที่ยานพาหนะจะออกเดินทางมาจากจุดหมายนอกประเทศสหรัฐอเมริกา และนอกดินแดนรัฐอารักขา หรือในกรณีที่คนต่างด้าวนั้นมาจากรัฐอารักขา ให้ใช้เวลาก่อนที่คนต่างด้าวจะยื่นขอให้รับเข้าเมือง

อำนาจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นแสดงให้เห็นเหตุผลในการที่ต้องขอวีซ่าให้ถูกประเภทแทนที่จะพยายามลอดช่องโหว่ของกฎหมายคนเข้าเมือง ตัวอย่างเช่น มีคนอเมริกันบางคนที่มีคนรักเป็นบุคคลสัณชาติไทยและหวังที่จะนำเขาหรือเธอเหล่านั้นไปอเมริกาโดยมีจุดประสงค์ที่จะสมรสหรือเพื่อปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้พำนักอาศัยถาวร หรือผุ้ถือกรีนการ์ด โดยทั่วไปแล้ว วีซ่าเค วัน ( รู้จักกันในชื่อวีซ่าคู่หมั้น ) เป็นวีซ่าที่เหมาะกับวัตถุประสงค์นี้ที่สุด อย่างไรก็ดีบางคนเลือกที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวอเมริกาเนื่องจากวีซ่าคู่หมั้นใช้เวลานานประมาณ 6-7 เดือน ในขณะที่วีซ่าท่องเที่ยวใช้เวลาสองถึงสาม สัปดาห์เท่านั้น การถูกปฏิเสธที่ด่านคนเข้าเมืองขณะจะเข้าเมืองทำให้เสี่ยงต่อการถูกส่งตัวกลับและยังต้องเสียเงินไปกับการขอวีซ่าและค่าเดินทางแต่กลับเข้าประเทศไม่ได้ การถูกกันตัวออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาอาจส่งผลให้ถูกแบนไม่ให้เข้าเมืองในคราวต่อไปได้ ได้หากว่าเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองเห็นว่าการเข้าประเทศเป็นไปโดยจงใจให้เจตนาเท็จแก่เจ้าหน้าที่ ในกรณีเช่นว่านี้จะต้องขอละเว้นโทษเท่านั้น ซึ่งเรียกว่า I601 waiver

การถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าเมืองไม่ทำให้ถุกส่งตัวกลับทันที เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองมีอำนาจดุลพินิจที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวถอนคำขอเข้าประเทศได้และออกจากประเทศโดยเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง แต่การใช้วีซ่าชั่วคราวโดยไม่ถูกต้องทำให้เกิดความเสี่ยงในกาลต่อมาที่จะถูกส่งตัวออกนอกประเทศและคนที่กำลังหาลู่ทางไปสหรัฐอเมริกาสก็ควรจะจำเรื่องนี้ใส่ใจไว้เมื่อศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายคนเข้าเมืองสหรัฐ

more Comments: 04

23rd April 2010

For information in English please see: I-212.

สำหรับผู้ที่เข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวีซ่าชั่วคราว มักจะต้องมีเจตนาไม่ต้องการอพยพเป็นหลัก หมายความว่า ผู้ที่เข้าประเทศจะต้องตั้งใจว่าจะอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราว และไม่มีเจตนาจะลงหลักปักฐานในสหรัฐอเมริกาเป็นการถาวร สหรัฐอเมริกากำหนดให้ต้องมีเจตนาไม่อพยพทั้งกับวีซ่าท่องเที่ยว วีซ่านักเรียน และวีซ่าแลกเปลี่ยน สำหรับแต่ละประเภท ผู้ที่จะเข้าประเทศอาจโดนปฏิเสธวีซ่าตั้งแต่ที่สถานทูต หรือที่ด่านคนเข้าเมืองที่สหรัฐอเมริกาก็ได้ และเนื่องจากความเสี่ยงที่จะโดนปฏิเสธ จึงแนะนำให้ยื่นขอวีซ่าให้ตรงกับเจตนาในการเข้าเมืองของคุณ

ในทางกลับกัน คงจะไม่ดีหากจะขอวีซ่าถาวรหากว่าคู่สมรสมีไม่มีเจตนาที่จะย้ายถิ่นฐานไปสหรัฐอเมริกา ในกรณีเช่นนี้ เจตนาอาจจะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่ก็ยังแนะนำให้มีเจตนาที่แท้จริงในการที่จะพำนักอาศัยอยู่ที่สหรัฐเมริกาจะดีกว่า

แต่แม้จะมีปัญหาสองอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังคงมีทางสายกลาง ให้คุณเลือก ทางสายกลางที่ว่าก็คือทฤษฎีสองเจตนา ทฤษฎีนี้มาจากความคิดที่ว่ามีหลายๆกรณีที่วีซ่าสหรัฐอนุญาติให้คนต่างด้าวอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นการชั่วคราวในขณะที่มีเจตนาอพยพ ทฤษฎีนี้มาจากความจำเป็นที่เกิดจากกรณีคนต่างด้าวเข้ามาอยู่อาศัยและทำงานในสหรัฐอเมริกาด้วยวีซ่าชั่วคราวและอยากได้กรีนการ์ด หน่วยงานคนเข้าเมืองของสหรํฐเข้าในดีว่ากรณีเช่นนี้ในบางกรณีสมควรได้รับการยอมรับและส่งเสริม

ตัวอย่างของการมองหาประเภทวีซ่าที่เหมาะกับตนเองอีกอย่างหนึ่งคือ กรณีวีซ่า เค วัน วีซ่าคู่หมั้น ซึ่งเป็นวีซ่าไม่ถาวร แต่คนต่างด้าวเข้าสหรัฐอเมริกาเพื่อไปอยู่กับคู่หมั้น เพื่อแต่งงาน และปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นผู้ถือกรีนการ์ดตามลำดับ ดังนั้น วีซ่าเค วัน จึงเป็นวีซ่าที่มีสองเจตนา ซึ่งอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวได้ 90 วัน แต่ให้โอกาสในการขอกรีนการ์ด

นอกจากนี้ วีซ่า เค ทรี เป็นวีซ่าที่มีสองเจตนาเช่นกัน เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วเป็นวีซ่าไม่ถาวร แต่เมื่อเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ผู้ถือวีซ่าจะต้องปรับเปลี่ยนสถานภาพ เนื่องจากวีซ่าเค ทรี ไม่ใช่กรีนการ์ด การใช้วีซ่าเค ทรี เข้าออกสหรัฐได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจาก ระยะเวลาขอวีซ่าถาวรลดลง ในขณะที่ระยะเวล่าขอวีซ่า เค ทรี เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

วีซ่า แอล วัน และ เอช วัน บี สำหรับผู้ทำงาน เป็นอีกตัวอย่างของวีซ่าชั่วคราวที่ให้มีสองเจตนาได้ แม้ว่าวีซ่าประเภทเหล่านี้เป็นไปโดยพื้นฐานการจ้างงาน

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดู  วีซ่าอเมริกา

more Comments: 04

The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.