
Integrity Legal
- Legal Blog
- Integrity Legal Home
- Thai Visa
- Company in Thailand
- Real Estate Thailand
- US Visa
- Contact Us
11th May 2010
แบบคำขออภัยโทษ I-601 และการปฏิเสธวีซ่า : พัฒนาการใหม่ปี 2010
Posted by : admin
ในเคสที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ก็อาจจะหาทางแก้โดยการยื่นขออภัยโทษได้หากว่าการปฏิเสธเกิดจากการมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้ การขออภัยโทษแบบนี้ เราเรียกว่า I-601 ครั้งหนึ่งหากว่าผู้ขอวีซ่ามีเชื้อ HIV ก็จะถูกปฏิเสธวีซ่าด้วยเหตุนี้เหตุเดียวหากว่าไม่มีเหตุอื่นที่พบอีก อย่างไรก็ตามเร็มๆนี้หน่วยงานคนเข้าเมืองสหรัฐได้เปลี่ยนกฏใหม่ ตามประกาศของ สมาคมนักกฎหมายคนเข้าเมืองอเมริกัน (AILA) :
“ การติดเชื้อ HIV ไม่ใช่เหตุที่ทำให้ไม่สามารถเข้าเมืองได้อีกต่อไป หากคุณติดเชื้อ HIV ก็ไม่จำเป็นต้องยื่นขออภัยโทษ I-601 เพราะเหตุที่คุณป่วยด้วยเชื้อ HIV อีกต่อไป จากข้อสังเกตุ ในแบบ I-601 มีการลบวิธีการดำเนินการและข้อความใดๆเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ออกไปแล้ว”
นี่ไม่ใช้กฎข้อเดียวที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิธีการยื่นขออภัยโทษเองก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อให้มีความแม่นยำในเรื่องของภูมิลำเนาที่ยื่นเช่นเดียวกับการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์อื่นๆ
“นอกจากนี้ USCIS ได้ประกาศว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการยื่น และที่อยู่ที่จะต้องยื่นแบบ I-601 การเปลี่ยนสถานที่ยื่นแบบเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำให้เกิดประโยชน์ของสำนักงาน USCIS ท้องถิ่นและ หน่วยรับเรื่องของ USCIS โดยรวมที่ยื่นแบบและจ่ายค่าธรรมเนียมให้อยู่ที่ หน่วยรับเรื่องหน่วยเดียวเพื่อให้ USCIS สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของแบบคำร้องและค่าธรรมเนียม ”
วิธีการใช้ศูนย์รับเรื่องนี้ใช้กับกรณียื่นวีซ่าถาวร เช่น IR1 และ CR1 ซึ่งเปิดโอกาศให้ USCIS เตรียมระบบการจัดการกับคำขอวีซ่าได้เนื่องจากมันถูกส่งไปที่สถานที่ๆเดียว อย่างไรก็ดี วีซ่า K1 และ K3 จะต้องยื่นแก่ ศูนย์ USCIS ที่มีเขตอำนาจเท่านั้น
ในกรณีที่ แบบ I-601 นั้นยื่นในต่างประเทศ คำร้องมักถูกยื่นผ่าน สถานทูตหรือกงสุลสหรัฐอเมริกาที่วีซ่าถูกปฏิเสธ ซึ่งนี่เปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่กงสุลทำความเห็นเกี่ยวกับคำร้องได้ ผู้ที่สนใจจะยื่นคำร้องขออภัยโทษโปรดจำไว้ว่าทนายความสหรัฐอเมริกาที่มีใบอนุญาติ หรือตัวแทนที่มีใบอนุญาติเท่านั้นที่สถานทูตสหรัฐและ USCIS ยอมให้เป็นตัวแทนของเจ้าของเรื่องในการติดต่อได้ นั่นหมายความว่า จะต้องเป็นทนายเท่านั้นจึงจะสามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อการยื่นคำร้องนี้ได้ และหน่วยงานที่เป็นตัวแทนที่ได้รับอนุญาติส่วนใหญ่ที่กระทำการแทนได้ก็มักเป็นหน่วยงานไม่หวังผลประโยชน์ที่เพียงเก็บค่าการเป็นตัวแทน ( ถ้าหากว่าจะมีการเรียกเก็บ ) เมื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาติให้เป็นตัวแทนลูกความในกระบวนการคนเข้าเมืองไม่สามารถเรียกค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นตัวแทนได้ตามกฎหมายสหรัฐอเมริกา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Tags: CR1, Fiance Visa Thailand, K1, K3, USCIS, วีซ่า CR1, วีซ่า IR1, วีซ่า K-1, วีซ่า K-3, วีซ่า K1, วีซ่า K3, สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, สถานทูตอเมริกา
Leave a Reply
The hiring of a lawyer is an important decision that should not be based solely on advertisement. Before you decide, ask us to send you free written information about our qualifications and experience. The information presented on this site should not be construed to be formal legal advice nor the formation of a lawyer/client relationship.